ภาษาไทยในรามาธิบดี (5): ดิจิทัล


 

ยังไม่จบครับกับคำในแวดวงไอที
คำคำนี้ ในรามาธิบดีก็ใช้ผิดกันไม่น้อยครับ แม้กระทั่งผู้บริหารของพวกเรา คือ คำว่า digital
Digital ไม่ได้สะกดเป็นภาษาไทยว่า ดิจิตอล หรือ ดิจิตัล อย่างที่หลายคนเข้าใจนะครับ นั่นเป็นเพราะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ ไม่ได้อ่านว่า ดิ-จิ-ต้อล หรือ ดิ-จิ-ตั้ล แต่อ่านออกเป็นเสียง ท ทหาร

ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติว่าคำนี้ สะกดว่า ดิจิทัล เท่านั้นครับ ดังนั้น ใครที่สะกดเป็นอื่น โปรดรับทราบและแก้ไขด้วยครับ ถ้าเจอที่ใดใช้ผิดอีก จะขอเข้าไปสอนเป็นรายบุคคลครับ เพราะคำนี้อยู่ในวงการของผม จึงเป็นหน้าที่ของผมที่จะต้องกำกับให้ใช้ให้

ถูกครับ

 

(โพสต์ครั้งแรกในกระดานข่าวภายในของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2553 เนื้อหาบางส่วนอาจอ้างอิงถึงการสนทนาในกระดานข่าวดังกล่าว)

ยังไม่จบครับกับคำในแวดวงไอที คำคำนี้ ในรามาธิบดีก็ใช้ผิดกันไม่น้อยครับ แม้กระทั่งผู้บริหารของพวกเรา คือ คำว่า digital

 

Digital ไม่ได้สะกดเป็นภาษาไทยว่า ดิจิตอล หรือ ดิจิตัล อย่างที่หลายคนเข้าใจนะครับ นั่นเป็นเพราะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ ไม่ได้อ่านว่า ดิ-จิ-ต้อล หรือ ดิ-จิ-ตั้ล แต่อ่านออกเป็นเสียง ท ทหาร


ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติว่าคำนี้ สะกดว่า ดิจิทัล เท่านั้นครับ ดังนั้น ใครที่สะกดเป็นอื่น โปรดรับทราบและแก้ไขด้วยครับ ถ้าเจอที่ใดใช้ผิดอีก จะขอเข้าไปสอนเป็นรายบุคคลครับ เพราะคำนี้อยู่ในวงการของผม จึงเป็นหน้าที่ของผมที่จะต้องกำกับให้ใช้ให้ถูกครับ

หมายเลขบันทึก: 404779เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2010 06:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ปกติชอบสะกดผิดครับ เป็นโครงการ digital KM คุณหมอสบายดีนะครับ

คำว่า google ที่นำมาใช้เป็น คำกริยา

ควรหรือมีบัญญัติเป็นคำไทยแล้วหรือยังคะ อาจารย์

ต้องออกตัวก่อนว่าผมไม่ใช่นักภาษาศาสตร์ครับ ความเห็นของผมในเรื่องนี้จึงเป็นเพียงความเห็นส่วนตัว ไม่ใช่ความเห็นทางวิชาการ และไม่ใช่ความเห็นในฐานะนักวิชาการด้านภาษาครับ

โดยปกติแล้ว ผมเข้าใจว่า การบัญญัติคำขึ้นใหม่ น่าจะต้องมีการใช้คำคำนั้นอย่างแพร่หลายเป็นระยะเวลานานมากพอสมควรแล้ว และน่าจะต้องมีความชัดเจนว่าคำที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ดีเท่าคำที่ประสงค์จะบัญญัติใหม่ ซึ่งอาจเป็นเพราะคำที่มีอยู่ มีความหมายไม่ตรงกับคำใหม่เท่าใดนัก หรือคำที่มีอยู่ได้รับความนิยมลดน้อยลง ในขณะที่คำใหม่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจนและมีแนวโน้มที่จะมีการใช้กันอย่างแพร่หลายต่อไปอีกนานครับ

สำหรับคำว่า Google (ควรใช้ G ใหญ่ เพราะเป็นศัพท์เฉพาะ ไม่ว่าจะใช้เป็น noun หรือ verb ครับ) จริงๆ แล้วก็มีการใช้กันในวงกว้างพอสมควรครับ แต่ผมยังไม่เห็นว่าอยู่ในระดับที่มากพอที่จะบัญญัติเป็นศัพท์บัญญัตินัก ทั้งยังสามารถใช้คำที่มีอยู่ (เช่น คำว่า ค้นหา) ควบคู่กับวิสามานยนาม (ชื่อบริษัท Google) แทนได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลงครับ ถ้าถามว่าการบัญญัติศัพท์นี้ขึ้นจะได้ประโยชน์ในทางภาษาศาสตร์หรือไม่ สำหรับภาษาไทยผมคิดว่ายังครับ แต่ถ้าเวลาผ่านไป Google ยังอยู่ยงคงกระพัน และไม่มี search engine อื่นมาแซงหน้า ก็เป็นไปได้ที่คำนี้จะมีความเหมาะสมมากขึ้นที่จะได้รับการบัญญัติไว้ครับ

ความเห็นส่วนตัวครับ ไม่รับรองว่าถูกต้องหรือเหมาะสมในทางวิชาการ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท