สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขรัฐเปรัค ประชุมหารือ แนวทางการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขระหว่างประเทศ (กรณีชายแดนไทย มาเลเซีย)


เวทีแลกเปลี่ยนวิชาการ ด้านการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข



นำโดย

นายแพทย์สวัสดิ์ อภิวัจนีวงศ์ (ภาพขวา)
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา

Dato' Dr. Hj Ahmad Razin bin Ahmad Mahir (ภาพซ้าย)
Pengarah Kesihatan Negeri Perak

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด(รัฐ)เปรัค

วันที่ 21 - 22 ตุลาคม 2553
ห้องประชุมโรงพยาบาลเบตง

ประเด็นหลักในการประชุมแลกเปลี่ยน
        ว่าด้วยอนามัยแม่และเด็ก ส่งเสริมให้มีการใช้สมุดสีชมพู ระหว่าง ประเทศ ในกลุ่มสตรีที่ไปทำงานในประเทศมาเลเซีย เพื่อส่งเสริมให้หญิงที่ตั้งครรภ์เข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขให้มากที่สุด "ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย"
        ประเด็นการแก้ไขรักษา โรควัณโรค     การควบคุมอาหารเป็นพิษ จากการแลกเปลี่ยนพบว่าที่ประเทศมาเลเซีย จะพบปัญหา อาหารเป็นพิษในกลุ่มนักเรียน เป็นส่วนใหญ่ 
        ประเด็นการใช้ยา การซื้อยากินเอง ยาต้านปฏิชีวนะ การควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง โรคชิกคุนกุนย่า (ไข้ปวดข้อยุงลาย) นั้น ระบาดที่มาเลเซีย เมื่อปี  2008 , 2009 ก็แพร่ระบาดเข้าสู่ประเทศไทย (ผู้เขียน) ทั้งนี้พาหะน่าจะมากับกลุ่มนักศึกษาจากอัฟริกาที่เข้ามาศึกษาในประเทศมาเลเซีย
        ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง นั้นก็ คือ การแก้ไขปัญหา โรคเอดส์
       

           ผมคุยกับคุณ Azlan ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอกือริค(Gerik) ท่านเล่าว่า การแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ บางกิจกรรมก็ ถูกต่อต้านจากกลุ่มอุลามอ์ (ผู้รู้ทางศาสนา) เช่นการแจก ถุงยางอยนามัย ถูกต่อต้าน หาว่า เป็นการส่งเสริมการทำซินา (การผิดประเวณี) ซึ่งกรณี เช่นนี้ เป็นการมองคนละมุม ในด้านการจัดการกับปัญหา ซึ่งต้องมีเวทีการอภิปราย ขึ้นมาด้วยรึเปล่า ไม่แนใจ (หากท่านผู้รู้ได้อ่านบทความนี้ ท่านสามารถชี้แนะได้- จักขอบคุณเป็นการล่วงหน้านะคับ)
ตบท้าย ก็พาแขกบ้านแขกเมือง ไปทัศนศึกษา

ไปชม อุโมงค์คอมมิวนิสจีน

ไกด์ เล่าว่า มีประตูเข้าออก ประมาณ 6-7 ตู
ความยาวประมาณ  1 กิโลเมตร
ความลึก 60 เมตร อายุ มากกว่า 35 ปี
ทหารที่ช่วยสร้างประมาณ 200 คนผลัดกันทำงาน
ใช้เวลาสร้างประมาณ 2 เดือนเสร็จ
ภายใน มีห้อง เก็บอาวุธ ห้องฟังวิทยุ
ห้องเก็บอาหาร ห้องนอนพักผ่อน
 

            ผมเคยเข้าไปเมื่อ 15 ปี ที่แล้ว สมัยนั้น ภายในเป็นดินที่ขุดเจาะล้วนๆ ไม่มีการโบกปูน ปัจจุบันจะพบได้บางส่วนในอุโมงค์ และที่สำคัญเมื่อ 15 ปี ที่แล้วต้องใช้แสนเทียน นำทาง บางคน ก็เตรียม ไฟฉาย จากบ้าน เพราะด้านในจะมืด แต่ปัจจุบัน มีไฟฟ้า ให้แสงสว่าง เดินได้สบาย

            อุโมงค์นี้อยู่ห่างจากประเทศมาเลเซีย 5 วันเดินเท้า
มีค่ายโดยรอบ ใกล้เคียง ประมาณ 5 ค่าย

           เวทีแลกเปลี่ยนวิชการ และร่วมหารือ แนวทางการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข เพื่อผลประโยชน์ด้านสุขภาพของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ บริเวณชายแดน เช่น ปัญหาเอกสารที่เป็นภาษาไทย ทางมาเลเซียไม่สามารถ มาใช้ในการให้บริการได้ บัดนี้ ประชาชนที่อยู่ในประเทศไทย บริเวณ จังหวัดชายแดนที่ติดกับประเทศมาเลเซีย สามารถใช้สมุด สีชมพู สอง ภาษา ไปใช้บริการที่ประเทศมาเลเซีย ในระหว่างที่ทำงาน ที่มาเลเซียได้เมื่อมีความจำเป็นต้องการรับบริการ ด้านสาธารณสุข

          เป็นหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ ใน รพ.สต. เมื่อมีหญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาใช้บริการ ลองถามสักนิด นะครับว่า ไปทำงาน มาเลเซียด้วยรึเปล่า  หากไป  ท่านก็เตรียม สมุดสีชมพูสองภาษา ให้หญิงตั้งครรภ์ ด้วยนะครับ

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 404758เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2010 23:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 08:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท