เผยแพร่ผลงาน เอกสารประกอบการเรียน


เอกสารประกอบการเรียน

คำนำ 

 

 

ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พ.ศ.2544 เพื่อปฏิรูปการศึกษาของชาติและดำเนินการปฏิรูปการเรียนรู้  ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและเอื้อประโยชน์ต่อนักเรียนและท้องถิ่นนั้น   โรงเรียนนครสวรรค์  ได้มอบหมายให้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม  เปิดสอนรายวิชา ส30201 ท้องถิ่นของเรา  ให้นักเรียนได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับจังหวัดของตนเอง ในด้านต่างๆ  เช่น  ภูมิศาสตร์  ประวัติศาสตร์  การปกครอง  สภาพเศรษฐกิจ  สังคม และทรัพยากรธรรมชาติของจังหวัดนครสวรรค์  เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจังหวัดนครสวรรค์  เกิดความรัก ความภาคภูมิใจและหวงแหน ในท้องถิ่นของตนเอง  ผู้สอนได้สืบค้นและรวบรวมองค์ความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ   จัดทำเป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอนขึ้น  เพื่ออำนวยประโยชน์ให้นักเรียนได้มีเอกสารประกอบในการศึกษาค้นคว้า

                  ผู้จัดทำหวังว่า  เอกสารประกอบการเรียนการสอนรายวิชา ส 30201 ท้องถิ่นของเรานี้  จะเกิดประโยชน์แก่นักเรียนเป็นอย่างดี  และขอขอบพระคุณเว็บไซด์ที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในจังหวัดนครสวรรค์  ผู้อำนวยการโรงเรียนนครสวรรค์ ครู อาจารย์และเพื่อนร่วมงาน  ที่กรุณาให้การสนับสนุนข้อมูลและคำชี้แนะ ที่เกิดประโยชน์ทางการศึกษาเป็นอย่างยิ่งไว้  ณ  โอกาสนี้

 

 

 

                                                                        นายธนิต     ภู่มณี

                                                       ตำแหน่งครู ชำนาญการ  โรงเรียนนครสวรรค์

                                                            อำเภอเมืองฯ   จังหวัดนครสวรรค์

                                                                       

 

 

 

 

 

สารบัญ 

 

คำนำ                                                                                                                ก

สารบัญเรื่อง                                                                                                       ข

สารบัญรูป                                                                                                         ฉ

คำแนะนำสำหรับครูในการใช้เอกสารประกอบการเรียน                                             1

คำแนะนำสำหรับนักเรียนในการใช้เอกสารประกอบการเรียน                          2

ข้อทดสอบก่อนเรียน บทที่ 1                                                                                 3        

เฉลยข้อทดสอบก่อนเรียน บทที่ 1                                                                          7        

บทที่  1       ท้องถิ่นของเรา                                                                                  8

-          ความหมายของท้องถิ่น                                                                9

-     ลักษณะของสังคมในท้องถิ่น                                                         9

-     ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบท                           10

-     ท้องถิ่นนครสวรรค์                                                                      10

-     ประวัติโรงเรียนนครสวรรค์                                                            16

-     กิจกรรมท้ายบทที่ 1                                                                     19

-     เฉลยกิจกรรมท้ายบทที่ 1                                                             21

ข้อทดสอบหลังเรียน บทที่1                                                                                  22

เฉลยข้อทดสอบหลังเรียน บทที่ 1                                                                          26

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำแนะนำสำหรับครู

ในการใช้เอกสารประกอบการเรียน 

            1. ครูต้องศึกษาผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและจุดประสงค์การเรียนรู้รายวิชา ส 30201 ท้องถิ่นของเรา

            2. ครูต้องศึกษาหรือมีความรู้ในเนื้อหาของเอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ส 30201ท้องถิ่นของเรา เป็นอย่างดี มีแผนการสอน

            3. ครูต้องชี้แจงให้นักเรียน รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา

ส 30201ท้องถิ่นของเรา  เพื่อให้นักเรียนรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง

            4. ครูควรเน้นย้ำ ในเรื่องคุณธรรม ความซื่อสัตย์ ความอดทน  ความตั้งใจ

            5. ครูต้องให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เสร็จก่อนจึงเริ่มเรียนได้ เพื่อสำรวจความรู้พื้นฐานในเรื่องที่จะเรียน

            6. ครูควรเอาใจใส่ ในการปฏิบัติกิจกรรม และสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนขณะเรียน

            7. ครูต้องให้คำปรึกษาและแนะนำหากนักเรียนมีปัญหาในการใช้เอกสารประกอบการเรียน

            8. ครูควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเรียนการสอน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน

            9. การสรุปบทเรียนควรเป็นกิจกรรมปฏิบัติร่วมกันของนักเรียน

          10. หลังเรียนรู้จากเอกสารประกอบการเรียนเรียบร้อยแล้ว ครูต้องให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำแนะนำสำหรับนักเรียน 

ในการใช้เอกสารประกอบการเรียน 

 

            เอกสารประกอบการเรียนเล่มนี้ สร้างขึ้นเพื่อให้นักเรียน ได้ศึกษาด้วยตนเองและใช้ประกอบการเรียนรายวิชา ส30201 ท้องถิ่นของเรา   โดยนักเรียนจะได้ประโยชน์จากเอกสารประกอบการเรียนตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

            1. นักเรียนอ่านผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและจุดประสงค์การเรียนรู้รายวิชา ส30201ท้องถิ่นของเรา  ก่อนลงมือศึกษาเอกสารประกอบการเรียน

            2. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ของแต่ละบทเรียนแล้วตรวจคำตอบจากเฉลย เสร็จแล้วจึงศึกษาบทเรียนต่อไป

            3 เอกสารประกอบการเรียนนี้ นำเสนอเนื้อหาเป็นบทเรียน แต่ละบทเรียนจะมีกิจกรรมท้ายบทให้นักเรียนได้ปฏิบัติ

            4. นักเรียนต้องปฏิบัติตามคำสั่งในกิจกรรมท้ายบทเรียนอย่างเคร่งครัด

            5. นักเรียนต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่เปิดดูเฉลยก่อนที่จะใช้ความสามารถตอบคำถามด้วยตนเอง เพราะการกระทำเช่นนั้นจะไม่ช่วยให้นักเรียนมีความรู้ขึ้นมาได้เลย

            6. เมื่อศึกษาจบในแต่ละบทเรียนแล้ว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน แล้วจึงตรวจคำตอบจากเฉลยเพื่อทราบความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียน

            7. หากมีข้อสงสัยหรือไม่เข้าใจในเนื้อหา ให้ทบทวนบทเรียนใหม่ ถ้ายังไม่เข้าใจให้สอบถามจากครูผู้สอน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อทดสอบก่อนเรียน

เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ส30201 ท้องถิ่นของเรา 

บทที่ 1 เรื่องท้องถิ่นของเรา 

จำนวน 20 ข้อ เวลา 10 นาที 

...........................................................................

คำสั่ง ให้นักเรียนเลือกคำตอบ ข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว แล้วทำเครื่องหมาย X ลงในกระดาษคำตอบ

  1. ข้อใดบอกความหมายของคำว่าท้องถิ่นได้ถูกต้องที่สุด

ก.      ท้องที่ในเขตเทศบาล หรืออำเภอ เท่านั้น

ข.      ท้องที่ในบริเวณที่เป็นเขตชนบท

ค.      ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งโดยเฉพาะ เน้นลักษณะทางภูมิศาสตร์

ง.       ท้องที่ตามลักษณะวัฒนธรรมประเพณี

  1. ท้องถิ่นของเรา ในความหมายของวิชาท้องถิ่นของเรา  หมายถึงข้อใด

ก.      ท้องที่ในเขตวัฒนธรรมของนครสวรรค์

ข.      ท้องที่ในเขตการปกครองของจังหวัดนครสวรรค์

ค.      ท้องที่ในบริเวณที่มีคนนครสวรรค์อาศัยอยู่

ง.       ท้องที่บริเวณเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์

  1. ลักษณะของครอบครัวในสังคมชนบท มีลักษณะสำคัญอย่างไร

ก.      เป็นครอบครัวขนาดเล็ก มีความใกล้ชิดสนิทสนมกัน

ข.      เป็นครอบครัวขนาดใหญ่ ต่างคนต่างอยู่

ค.      เป็นครอบครัวขนาดเล็ก ต่างคนต่างอยู่

ง.       เป็นครอบครัวขนาดใหญ่ ใกล้ชิดสนิทสนมกัน

  1. ประชากรในชนบทส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านใด

ก.      รับจ้างและบริการ

ข.      เกษตรกรรม

ค.      ค้าขาย

ง.       รับราชการ

 

 

  1. สังคมเมือง มีลักษณะการปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมประเพณีอย่างไร

ก.      ยึดตามธรรมเนียมอย่างเคร่งครัด

ข.      ปฏิบัติสืบทอดมาอย่างดีงาม

ค.      เปลี่ยนแปลงไปตามกระแส

ง.       เลือกปฏิบัติเฉพาะวัฒนธรรมไทย

  1. สังคมเมืองกับชนบทมีความสัมพันธ์กันในลักษณะใด

ก.      สังคมชนบทพึ่งพาสังคมเมืองเป็นส่วนใหญ่

ข.      สังคมเมืองพึ่งพาสังคมชนบทเป็นส่วนใหญ่

ค.      พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

ง.       ต่างฝ่ายต่างอยู่ไม่เกี่ยวข้องกัน

  1. ลักษณะของสังคมใด ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองมากที่สุด

ก.      สังคมชนบท

ข.      สังคมเมือง

ค.      ทั้งสังคมเมืองและชนบท

ง.       สังคมนักวิชาการ

  1. ตราประจำจังหวัดนครสวรรค์ เป็นรูปใด

ก.      มังกรทอง

ข.      วิมาน

ค.      สิงโต

ง.       เขากบ

  1. ดอกไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์ คือดอกอะไร

ก.      ดอกเฟื่องฟ้า

ข.      ดอกเสลา

ค.      ดอกตะแบก

ง.       ดอกอินทนิล

10.  คำว่า “เสลา” มีความหมายว่าอย่างไร

ก.      มั่นคง เที่ยงตรง

ข.      สวยงามโปร่งใส

ค.      สูงโปร่ง เกลี้ยงเกลา

ง.       สวยงามได้สัดส่วน

11.  ดอกเสลา  มีดอกเป็นสีใด

ก.      สีแดงสด

ข.      สีม่วง

ค.      สีฟ้าสด

ง.       สีเหลือง

12.  แม่น้ำวังไหลรวมกับแม่น้ำปิง ที่จังหวัดใด

ก.      จังหวัดพิษณุโลก

ข.      จังหวัดตาก

ค.      จังหวัดกำแพงเพชร

ง.       จังหวัดพิจิตร

13.  แม่น้ำเจ้าพระยา เกิดจากแม่น้ำสายใดไหลมารวมกัน

ก.      ปิงกับวัง

ข.      ยมกับน่าน

ค.      วังกับยม

ง.       ปิงกับน่าน

14.  ประเพณีแห่เจ้าพ่อ- เจ้าแม่ ของจังหวัดนครสวรรค์ จัดขึ้นในช่วงเทศกาลใด

ก.      สารทจีน

ข.      ตรุษจีน

ค.      ไหว้พระจันทร์

ง.       เชงเม้ง

15.  นกหายากที่พบในบึงบอระเพ็ด เพียงแห่งเดียว คือนกชนิดใด

ก.      นกอีแจว

ข.      นกเจ้าฟ้าสิรินธร

ค.      นกแต้วแร้วท้องดำ

ง.       นกกระเรียน

16.  ปลาน้ำจืดที่ได้ชื่อว่ามีรสชาติอร่อย และหายากที่พบในบึงบอระเพ็ด คือปลาชนิดใด

ก.      ปลากราย

ข.      ปลาเสือตอ

ค.      ปลาชะโด

ง.       ปลาสลิด

17.  โรงเรียนนครสวรรค์ ก่อตั้งขึ้นในปีใด

ก.      พ.ศ. 2445

ข.      พ.ศ. 2448

ค.      พ.ศ. 2450

ง.       พ.ศ. 2456

18.  โรงเรียนนครสวรรค์ ก่อตั้งครั้งแรกใช้ชื่อว่าอย่างไร

ก.      โรงเรียนธรรมฐิติวงศ์วิทยา

ข.      โรงเรียนฐิติวงศ์ธรรมวิทยา

ค.      โรงเรียนประจำจังหวัดนครสวรรค์

ง.       โรงเรียนเมืองนครสวรรค์

19.  โรงเรียนนครสวรรค์ ตั้งขึ้นครั้งแรกที่บริเวณใด

ก.      วัดโพธาราม

ข.      วัดนครสวรรค์

ค.      วัดกบ

ง.       ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

20.  วันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนนครสวรรค์ ตรงกับวันใด

ก.      16 พฤษภาคม

ข.      14 มิถุนายน

ค.      25 สิงหาคม

ง.       21 กันยายน

 

............................................................................................................................

 

 

 

 

 

 

 

 

เฉลยข้อทดสอบก่อนเรียน

เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ส30201 ท้องถิ่นของเรา

 

 

 

บทที่ 1

1. ค   2. ข   3. ง   4. ข   5. ค   6. ค   7. ข   8. ข   9. ข   10. ข

11. ข 12. ข 13. ง 14. ข 15. ข 16. ข 17. ข 18. ก 19. ก 20. ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 1

ท้องถิ่นของเรา

 

สาระสำคัญ

 

              จังหวัดนครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจและเป็น   ชุมทางของเส้นทางคมนาคมที่สำคัญระหว่างภาคเหนือกับภาคกลาง  เป็นประตูสู่ภาคเหนือ  สภาพสังคมส่วนใหญ่เป็นสังคมชนบท ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มีตราประจำจังหวัดและต้นไม้ประจำจังหวัดเป็นสัญลักษณ์  และมีคำขวัญที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์ คือ “เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ”  ในด้านการศึกษา มีโรงเรียนนครสวรรค์เป็นสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่สำคัญของจังหวัดนครสวรรค์

 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

 

                  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของท้องถิ่น  ตรา  คำขวัญ   ดอกไม้   ต้นไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์ และประวัติโรงเรียนนครสวรรค์

 

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. บอกความหมายของท้องถิ่นและจำแนกประเภทของท้องถิ่นได้
  2. บอกความหมายและที่มา สัญลักษณ์ต่างๆของจังหวัดนครสวรรค์ได้
  3. บอกประวัติความเป็นมาของโรงเรียนนครสวรรค์ได้
  4. เห็นคุณค่าของท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์
  5. เขียนเรียงความเกี่ยวกับจังหวัดนครสวรรค์ได้

 

 

 

 

 

 

 

  1. 1.      ความหมายของท้องถิ่น

 

                  คำว่า " ท้องถิ่น " ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (2546:511)  ให้ความหมายไว้ว่า ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งเน้นถึงลักษณะทางสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และทางธรรมชาติ ที่มีความเป็นขอบเขตเฉพาะพื้นที่นั้นๆเป็นสำคัญและยังมีความหมายที่กำหนดขอบเขตของพื้นที่ระดับย่อยตามเขตการปกครอง หรือเป็นหน่วยงานระดับรองไปจากหน่วยงานใหญ่ ได้แก่ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอจังหวัด เป็นต้น คำว่า ท้องถิ่น จึงขึ้นอยู่กับการจำกัดขอบเขตทางพื้นที่ดังกล่าวแล้ว และเมื่อนำไปใช้ประกอบกับคำใด จะให้ความหมายเฉพาะเจาะจงในเรื่องนั้น เช่น ประเพณีท้องถิ่น พืชประจำท้องถิ่น เป็นต้น

                  ดังนั้น ท้องถิ่นของเรา ในที่นี้จึงหมายถึง ลักษณะสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์      และทางธรรมชาติในเขตพื้นที่การปกครองของจังหวัดนครสวรรค์ ตามลักษณะการปกครอง      ส่วนภูมิภาค   กระทรวงมหาดไทย

 

  1. 2.      ลักษณะของสังคมในท้องถิ่น

 

                  ในแต่ละท้องถิ่นเกิดขึ้นจากการรวมตัวของคนจำนวนหนึ่ง ประกอบด้วยครอบครัวหลายๆ ครอบครัวมากน้อยแตกต่างกันไป มีลักษณะการดำเนินชีวิต และขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ และวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ดังนั้นลักษณะสังคมในแต่ละท้องถิ่น ย่อมแตกต่างกันไป ซึ่งเราอาจจะแบ่งออกได้เป็น  2  ลักษณะ ดังนี้

                  2.1 สังคมชนบท

                  2.2  สังคมเมือง

 

2.1 สังคมชนบท[1] ได้แก่ ชุมชนที่มีคนอาศัยอยู่น้อยหรือเบาบาง มีลักษณะรวมกันอยู่เป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หรือจังหวัด กระจัดกระจายไปทั่วประเทศ

โครงสร้างของสังคมชนบท มีลักษณะดังต่อไปนี้

2.1.1  มีลักษณะการตั้งถิ่นฐาน อยู่อย่างกระจัดกระจาย มีอัตราความหนาแน่นของครอบครัวส่วนมากเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดสนิทสนม

2.1.2  การศึกษา ประชากรในชนบทโดยทั่วไปมีการศึกษาค่อนข้างต่ำ ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาภาคบังคับ

2.1.3  เศรษฐกิจ สังคมชนบทส่วนใหญ่เป็นสังคมเกษตรกรรม มีอาชีพการทำนา ทำสวน ทำไร่ ประมงและการหาของป่า มีลักษณะพึ่งตนเองได้

2.1.4  การเมืองการปกครอง ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองน้อย เพราะมีความรู้สึกว่าเรื่องราวทางการเมืองไม่มีความเกี่ยวข้องกับตนเอง

2.1.5  วัฒนธรรมประเพณี และศาสนา ไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก มีความศรัทธาในศาสนาสูง เคร่งครัดในระเบียบประเพณี

 

2.2  สังคมเมือง[2] ได้แก่ ชุมชนที่มีผู้อาศัยอยู่มาก หรือหนาแน่น

โครงสร้างของสังคมเมือง มีลักษณะดังต่อไปนี้

2.2.1  มีลักษณะการตั้งถิ่นฐาน อยู่อย่างหนาแน่น มีอัตราความหนาแน่นสูง ลักษณะครอบครัวเป็นแบบครอบครัวเดี่ยว เป็นครอบครัวขนาดเล็ก

2.2.2  การศึกษา สังคมเมืองเป็นศูนย์กลางทางการศึกษา มีสถานศึกษาในทุกระดับชั้นทั้งของรัฐและเอกชน ทำให้ประชากรในเขตเมืองมีระดับการศึกษาสูง

2.2.3  เศรษฐกิจ ชาวเมืองส่วนใหญ่มีรายได้และรายจ่ายสูง มีอาชีพหลากหลาย ส่วนใหญ่เป็นการค้า อุตสาหกรรมและบริการต่างๆ

2.2.4  การเมืองการปกครอง สังคมเมืองเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองของประเทศ ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองมาก

2.2.5  วัฒนธรรมประเพณี และศาสนา มีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม ตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ความศรัทธาในศาสนาและความเคร่งครัดในระเบียบประเพณีไม่สูงนัก เพราะสังคมเมืองมีความเจริญทางด้านวัตถุและวิชาการตามหลักความมีเหตุผลและวิทยาศาสตร์สมัยใหม่มาก

 

 

 

  1. 3.      ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบท

 

                  ไม่ว่าประชากรจะอยู่ในสังคมเมืองหรือสังคมชนบทก็ตาม สังคมทั้งสองก็ย่อมที่จะต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น สังคมเมืองย่อมได้รับผลิตผลทางด้านเกษตรกรรมจากสังคมชนบท เพื่อการบริโภคและใช้เป็นวัตถุดิบให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมและได้แรงงานหรือทรัพยากรธรรมชาติ จากสังคมชนบท  ส่วนสังคมชนบทก็ต้องพึ่งพาสังคมเมือง ในด้านการตลาดเพื่อขายสินค้าและพืชผลทางการเกษตร ได้รับความรู้และวิทยาการสมัยใหม่จากสังคมเมือง ได้รับเครื่องอุปโภคบริโภค สินค้าอุตสาหกรรมเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น พัดลม ตู้เย็น เครื่องทุ่นแรงต่างๆ ตลอดจนยวดยานพาหนะ

 

  1. 4.      ท้องถิ่นนครสวรรค์

 

                  จังหวัดนครสวรรค์   เป็นเมืองที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ยาวนาน  พบร่องรอยหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์ มาตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ พบเมืองโบราณและชุมชนโบราณหลายแห่ง  มีพัฒนาการสืบเนื่องเกี่ยวพันถึงปัจจุบัน  ในอดีตเมืองนครสวรรค์ มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปตามยุคตามสมัย อาทิเช่น  เมืองพระบาง  นครพังคา  เมืองชอนตะวัน และนครสวรรค์    ปัจจุบันจังหวัดนครสวรรค์เป็นเมืองประตูสู่ภาคเหนือ  เป็นชุมทางการคมนาคมและการค้าที่สำคัญ มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ ถือได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีความเจริญในหลายๆ ด้านควรค่าแก่การศึกษาอย่างยิ่ง

 

 

 

รูปที่ 1.1  เมืองนครสวรรค์  พ.ศ.2483  ที่มา มานพ   สุวรรณศรี

4.1  ตราประจำจังหวัดนครสวรรค์

ตราประจำจังหวัดนครสวรรค์  เป็นรูปวิมาน หมายถึง สถานที่ อันเป็นที่อยู่ของเหล่าเทพ เทวดา และนางฟ้าทั้งหลาย  สอดคล้องกับชื่อจังหวัดนครสวรรค์ ที่แปลว่าเมืองของ     ชาวสวรรค์   จึงใช้รูปวิมานเป็นตราประจำจังหวัดนครสวรรค์

 

              

รูปที่ 1.2 ตราประจำจังหวัดนครสวรรค์  ที่มา http://th.wikipedia.org/

 

4.2  ดอกไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์

ดอกเสลา ลักษณะดอกเป็นช่อตามกิ่ง มี 6 – 8 กลีบ โคนคอดเป็นก้านสั้น มีหลายสี เช่น ขาว ม่วง ม่วงอมแดง กลีบดอกบางยับย่น ออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลกลมรี เปลือกแข็ง เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 5 – 6 พู เมล็ดจำนวนมาก มีปีก

 

 รูปที่ 1.3  ดอกเสลา  ที่มา  http://qwer.dek-d.com/board/view.php?id=1021920

 

 

4.3  ต้นไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์

ต้นเสลา เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์ พบขึ้นอยู่ในป่าเบญจพรรณโดยทั่วไปในท้องที่จังหวัดนครสวรรค์  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่  ดอกเป็นสีม่วง ขาว ม่วงอมแดง  คำว่า เสลา มีความหมายว่า  “สวยงามโปร่งใส”  ถือว่าเป็นมงคลและเหมาะสมกับชื่อจังหวัดนครสวรรค์  และด้วยความเห็นชอบของที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด       เลือกต้นเสลาเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์   และเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2537      สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงโปรดพระราชทานกล้าไม้เสลา ซึ่งเป็นต้นไม้มงคล ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์นำไปปลูกเป็นสิริมงคล ในวันเริ่มโครงการรณรงค์  โครงการ    ปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาส ทรงครองราชย์        ปีที่ 50  ณ  ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  

 

 

 

รูปที่ 1.4  ต้นเสลา  ที่มา  http://arunsawat.com.

 

 

 

4.4  คำขวัญประจำจังหวัดนครสวรรค์

 

“เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ”

 

-  เมืองสี่แคว หมายถึง เป็นที่รวมของแม่น้ำสี่สาย คือ  แม่น้ำปิง  แม่น้ำวัง  แม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน  แม่น้ำวังไหลรวมกับแม่น้ำปิงที่จังหวัดตาก   แม่น้ำยมไหลรวมกับแม่น้ำน่าน ที่    ตำบลเกยไชย  อำเภอชุมแสง  จังหวัดนครสวรรค์  และแม่น้ำปิงไหลรวมกับแม่น้ำน่าน เป็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลปากน้ำโพ   อำเภอเมืองฯ  จังหวัดนครสวรรค์

 

 

รูปที่ 1.5 ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา  ที่มา  http://www.camptour.net/

 

-  แห่มังกร หมายถึง ประเพณีการแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ของชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์  ที่มีขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปี  ในขบวนแห่ ประกอบด้วยขบวนต่างๆ มากมาย แต่ขบวนที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของ จังหวัดนครสวรรค์ คือขบวนแห่มังกรทอง อันสวยงาม

 

 

รูปที่ 1.6 ขบวนแห่มังกรทอง  ที่มา  www.geocities.com/nakhonsawanweb/dragon.htm

-  พักผ่อนบึงบอระเพ็ด หมายถึง บึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ภายในบึงมีทัศนียภาพที่สวยงาม  มีอาคารแสดงพันธุ์ปลา  พันธุ์ไม้น้ำ  บ่อจระเข้     นกชนิดต่างๆ โดยเฉพาะนกเจ้าฟ้าสิรินธร  เป็นนกที่พบในบึงบอระเพ็ดเพียงแห่งเดียว เหมาะแก่การท่องเที่ยวและผักผ่อนหย่อนใจ

 

 

 

รูปที่1.7 บึงบอระเพ็ด  ที่มา  www.thairssfeed.com/

 

-  ปลารสเด็ดปากน้ำโพ หมายถึง เป็นจังหวัดที่มีปลาน้ำจืดมากมาย เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์ปลา โดยเฉพาะปลาเสือตอ เป็นปลาที่มีรสชาติดี และมีผลิตภัณฑ์จากปลาที่มีชื่อเสียง เช่น ลูกชิ้นปลากราย  ปลาเกลือหรือปลาเค็ม อีกด้วย

 

 

 

รูปที่ 1.8 ปลาเสือตอ ที่มา  www.2snake2fish.com/

 

 

5        ประวัติโรงเรียนนครสวรรค์

 

โรงเรียนนครสวรรค์ เดิม ชื่อ “โรงเรียนธรรมฐิติวงศ์วิทยา” ก่อตั้งโดยพระครูธรรมฐิติวงศ์  เจ้าอาวาสวัดโพธาราม  เมื่อปี พ.ศ.2448  แรกเปิดยังไม่มีอาคารเรียน ต้องใช้ศาลาการเปรียญ วัดโพธาราม เป็นสถานที่เรียน มีนักเรียน 23 คน   ต่อมาในปี พ.ศ.2456  ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนใหม่  จึงแยกออกมาเป็นโรงเรียนโดยเอกเทศ  เปิดทำการสอนได้เพียง 9 เดือน ก็เกิดเพลิงไหม้ อาคารเรียนเสียหาย  กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น) จึงได้อนุมัติเงินจำนวน 3,000 บาท เพื่อสร้างอาคารเรียนใหม่และได้ย้ายมาสร้างโรงเรียนในบริเวณ     วัดหัวเมือง (วัดนครสวรรค์ในปัจจุบัน)  ตั้งชื่อโรงเรียนใหม่ว่า “โรงเรียนประจำมณฑลนครสวรรค์” ตามชื่อการปกครองแบบมณฑล  เมื่อมณฑลนครสวรรค์ถูกยุบ  เป็นจังหวัดนครสวรรค์   จึงเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ "   ในปี พ.ศ.2501 กระทรวงศึกษา

คำสำคัญ (Tags): #jeab4287
หมายเลขบันทึก: 404444เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2010 08:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท