ผลงานวิจัยปี 2549 เรื่อง "การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพต่อเนื่อง"


ระบบการดูแลสุขภาพต่อเนื่อง

ในปี 2549 เปาหมูแดงได้ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำที่ตนเองรับผิดชอบอยู่ และตั้งใจที่จะพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเรื่อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสกลนครร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยร่วมกัน ลองอ่านบทคัดย่อดูก่อนนะค่ะ ถ้าสนใจร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะนำรายละเอียดที่สนใจมาเสนอในโอกาสต่อไป

 การพัฒนาระบบดูแลสุขภาพต่อเนื่อง โรงพยาบาลสกลนคร

(The development of continuing health care systems at Sakon Nakhon hospital)

บทนำ

กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสกลนคร ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการให้บริการที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงพยาบาลสกลนคร จึงได้พัฒนาระบบการดูแล สุขภาพต่อเนื่องโดยเน้นการดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและสร้างเสริมความรู้ให้ผู้ป่วยและครอบครัวให้มีศักยภาพในการดูแลตนเองขณะและหลังการเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย เพื่อลดปัญหาการแออัดของผู้ป่วยโรคเฉียบพลันและเรื้อรังในหอผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถเผชิญปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ดูแลตนเองที่บ้านได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

วัตถุประสงค์ : เพื่อให้เกิดการดูแลอย่างต่อเนื่องระหว่างศูนย์ดูแลสุขภาพต่อเนื่อง หอผู้ป่วย สถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ และชุมชน โดยความร่วมมือของทีมสหสาขาวิชาชีพ

วิธีการศึกษา :

ศึกษาและพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพต่อเนื่องโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมประเมินความต้องการของผู้รับบริการและหน่วยงาน, พัฒนาบุคลากร,วางแผนจัดการระบบโดยร่วมวางแนวทางเริ่มจากหอผู้ป่วยเป็นผู้วางแผนจำหน่ายร่วมกับผู้ป่วยและญาติในการพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองเมื่อกลับบ้าน และร่วมประเมินผลการดำเนินงาน

 ผลการศึกษา :

1. การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพต่อเนื่อง โรงพยาบาลสกลนคร โดย 1) พัฒนาแบบบันทึกการเตรียมจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่องเพื่อให้บุคลากรมีแนวทางการวางแผนจำหน่ายได้ง่ายขึ้น 2) พัฒนาใบส่งต่อเพื่อการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยใน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากสถานบริการใกล้บ้าน 3) เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยสามารถโทรศัพท์สอบถามปัญหากับพยาบาลประจำศูนย์สั่งการได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่หมายเลข 042- 715392 และ 042-715346

2. ผู้รับบริการใน 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 มีจำนวน 60 ราย ผลการดูแลพบว่า ทุกรายได้รับการดูแลจากสถานบริการใกล้บ้าน ระดับความพึงพอใจส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มาตรวจตามนัดทุกราย ไม่พบภาวะแทรกซ้อนภายหลังจำหน่าย ไม่มีการกลับมารักษาซ้ำ ภายใน 28 วันหลังจำหน่าย และ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเสียชีวิตที่บ้านจำนวน 3 ราย

วิจารณ์และสรุป :การดูแลสุขภาพต่อเนื่องที่มีประสิทธิภาพทำให้ผู้ป่วยมีความรู้ ทักษะ และความมั่นใจ ในการดูแลสุขภาพ สามารถจำหน่ายผู้ป่วยได้เร็วโดยการดำเนินการที่มีกระบวนการครอบคลุมตั้งแต่แรกรับจนถึงจำหน่ายกลับบ้าน โดยทีมสหสาขาวิชาชีพทั้งในและนอกโรงพยาบาล ทั้งนี้ศูนย์ดูแลสุขภาพต่อเนื่องต้องทำการเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดการประสานงานที่ต่อเนื่อง

หมายเลขบันทึก: 40430เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2006 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นแนวทางที่เยี่ยมมากเลยค่ะ แต่ยังมองไม่เห็นวิธีการที่ได้มาซึ่งการมีส่วนร่วม

มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังอยู่ในความดูแลประมาณ 2000กว่าคน

ถ้า...ยินดีจะเผยแพร่..ขอเนื้อหาเพิ่มเติมนะคะ....จะได้ขยายผลมากขึ้น

ขอบคุณค่ะ

น้องTukTik

ส.ร.ป.ส.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท