“กระเป๋ามหัศจรรย์”


สภาพปัจจุบันหรือหลักการเหตุผล
          ผู้ป่วยหลังผ่าตัดมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด เช่น  เกิดภาวะช็อก ศูนย์หายใจถูกกด
ท้องอืด  เกิดพังผืด ดังนั้นทางเจ้าหน้าที่ได้ตระหนักถึงความสำคัญ จึงได้มีการแนะนำการปฏิบัติตัวก่อนหลังผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
           จากการปฏิบัติงานของหอผู้ป่วยพิเศษเฉลิมฯ 2 ให้การดูแลผู้ป่วยสูติ – นรีเวชกรรม ซึ่งเป็นผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอด และผู้ป่วยผ่าตัดทางนรีเวช ผู้ป่วยเหล่านี้จะต้องมีการเคลื่อนไหวหลังผ่าตัดโดยเร็ว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยยังมีอุปกรณ์ติดตัว เช่น คาสายสวนปัสสาวะ  NG tube Radivac drain ทำให้ผู้ป่วยไม่สะดวกในการเคลื่อนไหว และอาจจะทำให้สายต่าง ๆ เลื่อนหลุดได้ ดังนั้นทางเจ้าหน้าที่พิเศษเฉลิมฯ 2 จึงได้คิดจัดทำนวัตกรรมเรื่อง “กระเป๋ามหัศจรรย์” เพื่อช่วยให้เกิดความสะดวกในการเคลื่อนไหว และป้องกันการเลื่อนหลุดของสายต่าง ๆ



 


                                                                                              


การเก็บข้อมูลก่อนการปรับปรุง
             ในปีงบประมาณ 2552 รับผู้ป่วยผ่าตัดคลอด 304 ราย และผู้ป่วยผ่าตัดทางนรีเวช  69ราย แม้ว่าทางหอผู้ป่วย ฯ จะให้ความรู้แก่ผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด คือ การให้สุขศึกษาในเรื่องการเตรียมทำความสะอาดร่างกาย  การเตรียมผิวหนัง  การให้ข้อมูลการดมยาสลบ แนะนำการจัดการความเจ็บปวดหลังผ่าตัด ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัด เช่น แผลและอุปกรณ์ที่ติดมา และภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นหลังผ่าตัดหากผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวช้า แต่ยังพบปัญหาว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะตามมา เนื่องจากมีความไม่สะดวกในการเคลื่อนไหวหรือเกิดความเจ็บปวดแผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยหลังผ่าตัด เช่น มีภาวะท้องอืด


การวาง แผนและดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุง
1.    ศึกษาปัญหาที่ทำให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวช้า วิเคราะห์สาเหตุ และเมื่อพบว่าสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวช้าอย่างหนึ่ง คือ ความไม่สะดวกในการเคลื่อนไหว เนื่องจากอุปกรณ์ที่ติดตัวผู้ป่วย  จึงได้มีการดำเนินการจัดทำนวัตกรรมกระเป๋ามหัศจรรย์
2.    เจ้าหน้าที่ร่วมประชุมปรึกษาระดมความคิด เพื่อพัฒนารูปแบบกระเป๋าให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยเกิดความสะดวกสบายเวลาลุกเดิน
3.    ดำเนินการใช้กระเป๋ามหัศจรรย์ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอด ผู้ป่วยผ่าตัดทางนรีเวชที่ใส่สายสวนปัสสาวะ


ผลลัพธ์/การวิเคราะห์ผลและการทำเป็นมาตรฐาน
    จากการทดลองใช้ พบว่าผู้ป่วยลุกเดินได้เร็วขึ้น และลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการมีสายสวนปัสสาวะลง ส่งผลให้อาการท้องอืดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดลดลง แต่มีผู้ป่วยบางรายเสนอแนะว่า ควรใส่ไว้ด้านข้าง


ประโยชน์ต่อตนเอง/หน่วยงาน/ลูกค้า
ประโยชน์ต่อพยาบาล
    สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับมารดาหลังคลอดเป็นไปได้ด้วยดี ผู้ป่วยได้รับความช่วยเหลือได้เหมาะสมกับปัญหา ทำให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ รู้สึกว่าพยาบาลเข้าใจในปัญหาของตนเอง
เกิดแรงจูงใจมีความพยายามที่จะลุกเดินขึ้นเอง และปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ต่อหน่วยงาน
    การที่ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดนั้น ทำให้ลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วย และเป็นผลให้ลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลอีกด้วย


ประโยชน์ต่อลูกค้า
     ผู้ป่วยหลังผ่าตัดมีความสะดวกสบายสามารถลุกเดินได้นานๆ ซึ่งการได้เคลื่อนไหวร่างกายนี้ ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ท้องอืด หรือเจ็บปวดอีกครั้งเมื่อจำเป็นต้องใส่สายต่างๆ ที่เลื่อนหลุดเข้าไปเช่นเดิม  นอกจากนี้ยังลดความวิตกกังวล เกี่ยวกับการสูญเสียภาพลักษณ์ที่ต้องมีอุปกรณ์ต่างๆของผู้ป่วยอีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 403916เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2010 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 00:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท