ผ้ารองรีไซเคิล


ที่มาของนวัตกรรม 

กระดูกต้นขาหักเป็นภาวะที่พบบ่อย สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การสื่อสารคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว ทำให้มีอุบัติเหตุมากขึ้น หรือผู้สูงอายุที่เกิดอุบัติเหตุจากการหกล้มเป็นส่วนใหญ่  เมื่อผู้ป่วยได้รับอันตราย การรักษาเบื้องต้นคือการจัดกระดูกให้อยู่นิ่งซึ่งมีอยู่หลายวิธี เช่น การใส่เครื่องดึงถ่วง (Traction) ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเคลื่อนจากแนวกระดูกที่จัดไว้ และให้เกิดการซ่อมแซมกระดูกตามแนวกายวิภาคหรือใกล้เคียงแนวเดิมให้มากที่สุด จากปัญหาเดิมใช้ Elastic bandage พันรอบ Bohher braun frame ประมาณ 3 ม้วน และจะพบปัญหาบ่อยที่สุดคือ Elastic bandage ย่น และ หย่อน การดึงถ่วงไม่มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยไม่สุขสบายเนื่องจากบริเวณขาที่วางบน Bohher braun frame ไม่อยู่ในแนวดึงถ่วงน้ำหนักทำให้เกิดอาการปวด และปลายของ Bohher braun frame  จะไปหนีบบริเวณขาหนีบผู้ป่วย ทำให้เกิดบาดแผล    

ดังนั้นหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก1-2 ได้ตระหนักถึงปัญหา และ ความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำผ้ารองขาในผู้ป่วยที่มีการดึงถ่วงน้ำหนักเพื่อให้การดึงถ่วงน้ำหนักมีประสิทธิภาพ  ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายจากการวางขาที่เหมาะสม ประหยัดค่าใช้จ่ายและลดระยะเวลาในการพัน Elastic bandage

วัตถุประสงค์ 

  1. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบาย  ของการดึงถ่วงน้ำหนัก 
  2. เพื่อลดปัญหาการเกิดภาวะแทรกซ้อน ขณะดึงถ่วงน้ำหนัก ได้แก่ แผลกดทับ  และการเกิดการหย่อนของ  Elastic bandage  
  3. ประหยัดเวลา  และลดค่าใช้จ่าย

การดำเนินงาน 

  1. จัดประชุมเจ้าหน้าที่  เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกันร่วมกัน 
  2. ออกแบบผ้ารองขา  พร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ ประสานงานกับแผนกเย็บผ้า โรงพยาบาลพิจิตรเป็นผู้ผลิตให้
  3. สอนและสาธิตวิธีใช้ ให้แก่บุคลากรภายในหน่วยงาน
  4.  นำไปทดลองใช้นำสิ่งประดิษฐ์ไปทดลองใช้กับผู้ป่วย

การประดิษฐ์อุปกรณ์

  1. ผ้าขนาด  45x 52 เซนติเมตร จำนวน 1 ชิ้นและขนาด  30 x 52 เซนติเมตร จำนวน 1 ชิ้น
  2. แผ่นใยสังเคราะห์ขนาด 45 x 52   เซนติเมตร จำนวน 1 ชิ้นและขนาด  30 x 52 เซนติเมตร จำนวน 1 ชิ้น
  3. ตีนตุ๊กแก ขนาด 2 นิ้ว x 45 จำนวน 2  เส้น   และขนาด 2 นิ้ว x 30 เซนติเมตรจำนวน 2 เส้น
  4. ตีนตุ๊กแก ขนาด 1 นิ้ว X 45 จำนวน 2 เส้น และขนาด 1 นิ้ว X 30 เซนติเมตร  จำนวน 2 เส้น

วิธีการประดิษฐ์ 

  1. นำผ้าและแผ่นใยสังเคราะห์ ที่จัดเตรียมไว้มาเย็บติดกันโดยให้แผ่นใยสังเคราะห์อยู่ด้านในผ้า
  2. เย็บตีนตุ๊กแกขนาด 2 นิ้ว และขนาด 1 นิ้ว ติดที่ริมผ้าทั้งสองด้านเพื่อนำด้านทั้งสองมาประกบติดกัน

 

ประโยชน์ต่อลูกค้า / ต่อตนเอง / ต่อหน่วยงาน

1.    เกิดคุณภาพบริการที่ดีต่อลูกค้า
    - ยอมรับ   เกิดความสุขสบายทุเลาอาการปวด  
    - เกิดความ พึงพอใจ ว่าใช้ได้ผลดี
    - ไม่เกิดปัญหาผ้ารองย่น หรือหย่อน

2.    ต่อตนเอง
    - สะดวกต่อการใช้งาน ลดภาระงาน และระยะเวลา ในการพัน Elastic bandage  ใหม่  เนื่องจากผ้ารองขาสวมได้ทันที  

3.    ต่อหน่วยงาน
    - ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าแบบเดิมที่ใช้  Elastic bandageพัน Bohher braun frame ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงิน 78 บาท ต่อครั้ง และเมื่อใช้แล้วเสื่อมประสิทธิภาพไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ สำหรับสิ่งประดิษฐ์  มีต้นทุนในการผลิต เป็นจำนวนเงิน 110 บาท ต่อชิ้น และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

หมายเลขบันทึก: 403834เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2010 04:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท