การสร้างสะพานเชื่อมใจและฝึกความไวในการรับรู้ความรู้สึก


ทำอย่างไร จะทำให้เวลาเพียงห้านาทีที่เพิ่งเจอเขา แต่ทำให้เกิดรู้สึกเหมือนคนที่คุ้นเคยกันมานาน

การสร้างสะพานเชื่อมใจและฝึกความไวในการรับรู้ความรู้สึก

1.    มีบุคลิกภาพที่อบอุ่น และเป็นมิตร โดยแสดงออกทางสีหน้า สายตา น้ำเสียง ท่าทาง ฯลฯ เช่น พยักหน้ารับฟัง สบตา และทบทวนสิ่งที่เขาคุยกับเราเป็นระยะ
2.    เป็นผู้ฟังที่ดี พูดจาโดยใช้น้ำเสียงที่สอดคล้องอารมณ์และเรื่องที่ได้ฟัง เป็นกันเอง และมีความเข้าใจในอารมณ์ของเขา แต่ไม่ร่วมรู้สึกไปกับอารมณ์ของเขามากจนเกินไป
3.    เป็นนักสังเกตที่ดี ทั้งภาษาพูดและภาษาท่าทาง แต่ไม่จำเป็นต้องตั้งใจมากเกินไปจนทำให้เขารู้ตัวหรืออึดอัด
4.    สนใจ และตั้งคำถามในสิ่งที่เขาอยากจะเล่าให้เราฟัง มากว่าข้อมูลที่เราอยากรู้ในขณะนั้น
5.    ให้เกียรติและอิสระสำหรับเขาในการเล่าเรื่องต่างๆ ไม่คาดคั้นหรือสอดรู้สอดเห็นในเรื่องที่เป็นส่วนตัวของเขา หากเขาไม่ต้องการจะเล่าให้เราฟัง สำหรับวิธีการตั้งคำถาม ควรเป็นคำถามที่ผู้ฟัง ฟังแล้วเกิดความรู้สึกที่ดีที่จะตอบ ไม่รู้สึกว่าถูกจับผิดหรือถูกประเมิน
6.    ให้ความสนใจ ใส่ใจและให้ความสำคัญในความรู้สึกที่แฝงอยู่ในสิ่งที่เขาพูดกับเรา
7.    ไม่นำสิ่งที่เขาเล่าไปเปิดเผยให้คนอื่นทราบ ยกเว้นเขาจะอนุญาตเราให้ทำได้
8.    มีความจริงใจ ไม่แสแสร้ง ไม่หวังประโยชน์จากการพูดคุยกับเขา และรักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน
9.    ยอมรับในความเป็นเขา ไม่เอามาตรฐานของเราไปตีกรอบให้เขาเป็นอย่างที่เราต้องการ เพราะทุกคนต่างมีประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกัน  ฯลฯ

    หากท่านใดลองนำไปใช้แล้ว หรือได้ผลหรือไม่อย่างไร ลองเล่าประสบการณ์เพื่อแลกเปลี่ยนกันบ้างก็จะขอบคุณมากครับ

หมายเลขบันทึก: 403675เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2010 07:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นบันทึกที่สะท้อนการมองความรู้สึกของตนเองได้ยอดเยี่ยมครับ

ด้วยความขอบคุณ อ.ชูพงศ์ ครับ

จากอาจารย์นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท