เรื่องของคนมี "เส้น"


ประเพณี "กิ๋นข้าวสลาก" หรือ "ตานก๋วยสลาก" หรือ "สลากภัต" คือประเพณีเดียวกัน อาจเรียกต่างกันในแต่ละพื้นที่ค่ะ

     เก็บภาพงานประเพณี  "กิ๋นข้าวสลาก"  เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2553  ที่สำนักสงฆ์บ้านสุขสวัสดิ์  ตำบลแม่ถอด  อำเภอเถิน  จังหวัดลำปาง  มาฝากกันค่ะ  

 

     ซึ่งประเพณีนี้ได้จัดขึ้นทุกปีค่ะ  แต่ละภาคก็อาจเรียกชื่อ "งานบุญเดือนสิบ" หรือ "วันสารทไทย"  แตกต่างกันออกไป สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://hilight.kapook.com/view/28943 

 

     พอจะทราบกันแล้วใช่ป่ะค่ะ  ว่า "เส้น" ที่เอ่ยถึง มันก็คือ เรื่องของคนมี "เส้น"(สลาก) ค่ะ  แต่ก่อนที่เราจะออกตามหา "เส้น"(สลาก) กัน ตามมาดู "ก๋วยสลาก" ก่อนดีกว่าค่ะ

    

  

"ก๋วยสลาก" ที่แต่ละบ้านจัดเตรียมมา  ที่เห็นเป็น "ก๋วยอุ้ม" ค่ะ

ปีนี้ส่วนใหญ่นิยมใช้ "ตะกร้าพลาสติก" กันค่ะ

 

 

 

 แต่ก็ยังเหลือแบบที่ใช้ตอกสานให้เห็นอยู่นะค่ะ  ที่เห็นเรียก "ก๋วยน้อย" ค่ะ

 

     และสิ่งที่ขาดไม่ได้ที่ต้องมีคู่กับ "ก๋วยสลาก"  ก็คือ "เส้นสลาก" ค่ะ ทีนี้เราตามมาดูเรื่องของคนมี "เส้น" (สลาก) กันดีกว่าค่ะ 

 

 "เส้นสลาก"  ค่ะ   สมัยก่อนจะใช้ใบลานเขียนเส้น  แต่สมัยนี้นิยมใช้กระดาษ ค่ะ

โดยจะนำเส้นสลากมารวมกัน  และให้กรรมการวัดแยกส่วนตามจำนวนหัววัดที่นิมนต์พระสงฆ์มาค่ะ 

 

 

 

"เส้นสลาก" ที่คณะกรรมการได้แยกเป็นส่วนๆ ค่ะ 

 

 

 

"เส้นสลาก" ในพานสีขาว  คือส่วนที่แบ่งให้วัดเจ้าภาพค่ะ 

เรียกกันว่า  "ส่วนของพระเจ้า"  

 

 

    

     ขณะทำพิธีการ คณะกรรมการวัด จะถวาย "เส้นสลาก" ให้พระสงฆ์แต่ละวัดที่นิมนต์มาค่ะ

 

 

พระสงฆ์แต่ละรูป จะได้ "เส้นสลาก" ในจำนวนที่เท่าๆ กันค่ะ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวน "ก๋วยสลาก" ที่ชาวบ้านนำมาค่ะ

 

 

ทีนี้ก็ได้เวลา "ตามหาเส้น" กันล่ะค่ะ!!!

 

 

"เส้น"  ใคร  "เส้น"  มัน  อย่าแย่งกันนะค่ะ

 

 

 

 

เมื่อตามหา "เส้นสลาก" ของตัวเองเจอ ก็นำ "ก๋วยสลาก"  ที่เตรียมไว้มาถวายพระสงฆ์รูปที่ "เส้น" ของเราไปตกอยู่ด้วยค่ะ  พระสงฆ์ท่านก็จะให้พร แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติพี่น้องผู้ที่ล่วงลับไปแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธีค่ะ

 

สรุปว่างานนี้ตามหา "เส้น" เจอทุกคนค่ะ 

          มี "เส้น" กันหมดทั้งหมู่บ้านเลยค่ะ  อิอิ..  

 

ขอบคุณข้อมูลที่นำมาอ้างอิงด้วยนะค่ะ

 

 

แล้วพบกันใหม่ค่ะ

กอหญ้า...

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 403355เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2010 03:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

เป็นประเพณีที่ดีงาม รักษาไว้ให้อยู่คู่สังคมไทยครับ ว่าแต่เจ้าของกระทู้ตามหาเส้นเจอหรือยังครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • นำเส้นหมี่ มาแลก เส้นใหญ่ค่ะ......  ตกใจหมดเลย ที่แท้ก็ "เส้น"(สลาก) นั่นเอง
  • ขอบคุณค่ะ

                           

พี่หมูจ๋าก็นึกว่าเส้นสายสมัครงานค่ะ อิ อิ

สวัสดีค่ะ คุณ Peter p

"เส้นสลาก" ตามหาเจอละค่ะ แต่ เส้นสายอย่างอื่นนี่ดิ ยังหาไม่เจอเลยค่ะ อิอิ...

สวัสดีค่ะ คุณบุษรา และคุณหมูจ๋า

ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมน่ะค่ะ

อย่าเพ่งตกใจค่ะ เป็นเรื่องของคนมี "เส้น" จริงๆ ค่ะ (เส้นสลาก) อิอิ...

แต่ใครจะเส้นเล็ก เส้นใหญ่ ก็ตามศรัทธาน่ะค่ะ

หวัดดีเจ้า แวะมากินเส้นตวยคนเน่อ เสียดายที่บ่ได้ไปซักกำ ประเพณีแบบนี้ที่บ้านก็บ่มีแล้วล่ะ

สวัสดีค่ะ น้องมดตะนอย

ปีนี้ไม่ได้มา เอาไว้ปีหน้า อย่าลืมมาให้ได้น่ะค่ะ

อยากกินเส้นจัง...

ขอบคุณที่เข้ามาบันทึกของผมด้วยนะครับ...

ขอโทษครับ อยากกินเส้น

เป็นมุขนะครับ

สวัสดีค่ะ คุณทิมดาบ

ขอบคุณที่เข้ามากินเส้นด้วยกันนะค่ะ อิอิ...

เรียนครูกอหญ้า

ผมนึกว่าเส้นสายการสอบบรรจุเข้าทำงาน

แต่ก็ได้รับความรู้ดีๆของพี่น้องภาคเหนือครับ

จากครูเดครับ

-สวัสดีครับคุณกอหญ้า.....

-ม่วนขนาดน่องานตานก๋วนสลากปี๋นี้...

-เสียดายบ่ได้ไปแอ่ว...

-ขอบคุณที่เก็บภาพมาฝาก...เน่อ...

สวัสดีค่ะ คุณเพชรน้ำหนึ่ง

รู้สึกว่าปีนี้คนจะน้อยกว่าปีก่อนๆ ค่ะ

สงสัยเป็นเพราะคุณเพชรน้ำหนึ่งไม่ได้มาร่วมงานแน่ๆๆ เลย 555

สวัสดีค่ะ ครูเด

เป็นเส้นสลากน่ะค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาชมนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท