AI บทที่ 17 : Organization Inquiry Model (2)


             การใช้ Organization Inquiry Model
             เป็นการใช้ AI เพื่อตอบ 3 ข้อสันนิษฐานที่เคยกล่าวไว้ในครั้งที่แล้ว จึงแบ่งย่อยออกไปเป็น 3 process โดยเรียกว่า ABC model ดังนี้
           A. Appreciative Understanding of Your Organization : การเข้าใจด้านบวกขององค์กร (สำหรับข้อสันนิษฐานที่ 1)
     เป็นการจัดดำเนินการภายในองค์กร ซึ่งใช้กระบวนการสัมภาษณ์โดยใช้คำถามด้านบวกเพื่อให้เห็นภาพความสามารถ ความแข็งแกร่ง และพลังให้ชีวิตขององค์กร  เพื่อค้นหาความเป็นเลิศขององค์กร
คำถามที่ใช้ต้องเป็นคำถามด้านบวก ไม่ใช้คำถามที่แสดงถึงความต่ำต้อยหรือคำถามที่ไม่สามารถเป็นจริงได้ในองค์กร
          ตัวอย่างคำถาม
         * อะไรเป็นสิ่งที่มีค่าเกี่ยวกับงานที่คุณทำในองค์กรนี้ ?
         * คุณเชื่อว่าอะไรคือแก่นคุณค่าขององค์กรนี้ ?
 
         B. Benchmarked Understanding of Other Organizations: การเข้าใจสมรรถนะขององค์กรอื่นๆ (สำหรับข้อสันนิษฐานที่ 2)

         ใช้วิธีการสัมภาษณ์ตั้งคำถามด้านบวกเหมือนกับ A process แต่ให้ดำเนินการภายในองค์กรเพื่อให้ได้ benchmark ขององค์กรคุณก่อน แล้วจึงดำเนินการระหว่างองค์กร เพื่อแลกเปลี่ยน benchmark ระหว่างองค์กร ซึ่งถ้าหลายองค์กรมี benchmark คล้ายกันจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลากหลายรูปแบบขึ้น
การตั้งคำถามอาจกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงการทำงานขึ้นได้    
            ตัวอย่างคำถาม
            * อะไรคือการทำงานที่มีค่าที่สุดของคุณในองค์กรนี้?
          *  อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้คุณตื่นเต้นและประสบความสำเร็จเมื่อคุณทำงานในองค์กรของคุณ? กรุณาอธิบายถึงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้น


            C. Creation Of “Possibility Propositions” To Image Your Organization’s Future : ข้อเสนอแนะที่เป็นไปได้ สำหรับสร้างมโนภาพองค์กรในอนาคต (สำหรับข้อสันนิษฐานที่ 3)
           ขบวนการนี้เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเรื่องราวที่ได้รวบรวมจากการทำ AI ในองค์กรคุณ และรวบรวมการดำเนินงานที่ดีที่สุดขององค์กรอื่นๆ      การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน C process นี้เป็น dialogue process ซึ่งมีทั้งการเล่าเรื่องและการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการทำงาน   แล้วนำเสนอออกมาเป็นการเขียนรายงานที่จับประเด็นได้จาก dialogue process ซึ่งถือเป็นการรวบรวมข้อมูลองค์กรและ benchmark ขององค์กรอื่นๆ    ข้อมูลที่ได้จะเป็นภาพจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขององค์กรซึ่งจะช่วยสร้างมโนภาพขององค์กรในอนาคตได้ 

 

           ABC model นี้สามารถใช้กับองค์กรต่างๆ ที่จะสร้างสังคมการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง ซึ่งการสนทนาเชิงลึกและการขยายผลทำให้องค์กรมีการเปลี่ยนแปลงที่เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ในด้านการพัฒนาและเกิดพลังให้ชีวิตในองค์กร 

คำสำคัญ (Tags): #km#kmi
หมายเลขบันทึก: 40310เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2006 18:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 22:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท