การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา


การประกันคุถณภาพการศึกษา

 

การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยกลยุทธ์
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 1

นายประสิทธิ์  กะตะศิลา  ศึกษานิเทศก์ สพท.ลำพูน เขต 1

ความสำคัญ

                พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจึงได้กำหนดสาระบัญญัติเรื่องนี้ไว้ในหมวด  6  มาตรา 47, 48 โดยสรุปให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา  เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วยระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และได้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก และกฎกระทรวง ว่าด้วย ระบบหลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.  2546  ออกตาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  หมวด 1  และหมวด 2 ให้สถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เพื่อสร้าง    ความมั่นใจแก่ผู้เกี่ยวข้องว่า ผู้เรียนทุกคนจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพจากสถานศึกษา เพื่อการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐานอย่างเต็มศักยภาพหมวด 2  หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณการศึกษาภายในสถานศึกษา  ข้อ 12  ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยจัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
                สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 1  ได้ศึกษาและค้นคว้าทดลองใช้ กลยุทธ์ในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาด้วยกลยุทธ์  ซึ่งประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างความรู้ความเข้าใจ  กลยุทธ์ที่ 2 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลยุทธ์ที่ 3 การประเมินตนเองและรายงาน และกลยุทธ์ที่ 4 การประเมินภายในโดยหน่วยงานต้นสังกัด ดำเนินการศึกษา 3 ระยะ คือ       
                                ระยะที่ 1  การสร้างคู่มือการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยกลยุทธ์                                ระยะที่ 2  การใช้คู่มือการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยกลยุทธ์

ระยะที่ 3  การประเมินการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ด้วยกลยุทธ์  

ผลการศึกษา พบว่า   

ตอนที่  1  ผลการสร้างคู่มือ การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยกลยุทธ์

ผลการสร้างคู่มือ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยกลยุทธ์  พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่าคู่มือการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยกลยุทธ์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก           

ตอนที่  2  ผลการใช้การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยกลยุทธ์  พบว่า

จากการทดสอบคะแนนทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการประกันคุณภาพการศึกษา หลังการอบรมปฏิบัติการการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา หลังการประชุมปฏิบัติการ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสูงกว่าก่อนประชุมปฏิบัติการและมีความก้าวหน้าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด               

ความคิดเห็นของครูและผู้บริหารที่มีต่อการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยกลยุทธ์ ทุกกิจกรรมอยู่ในระดับมาก  เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย  ดังนี้การประเมินตนเองและรายงาน  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  การประชุมปฏิบัติการและการประเมินภายในโดยหน่วยงานต้นสังกัด

ผลการประเมินการจัดนิทรรศการและการนำเสนอผลงาน โดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก  มากที่สุด คือ  เนื้อหาการนำเล่าถูกต้อง  และ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์  น้อยที่สุด มี 3 รายการ คือ รูปแบบการจัดนิทรรศการ มีความเหมาะสม ดึงดูดน่าสนใจ การเล่าแสดงถึงลำดับของ การดำเนินงานได้อย่าง ชัดเจน เข้าใจง่าย และ กระตุ้นและเปิดโอกาสให้ผู้ฟังทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งอยู่ในระดับดี         

ผลการประเมินรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา (รายงานการประเมินตนเอง SAR) โดยรวม ส่วนมากอยู่ในระดับดี มากที่สุด คือ รูปเล่มมีขนาดพอเหมาะ อ่านง่ายและสวยงาม ขนาดตัวอักษรมีขนาดเหมาะสม อ่านง่ายและสวยงาม  น้อยที่สุด คือ การรายงานผลการดำเนินโครงการ/งาน/กิจกรรม/ตามกลยุทธ์ได้สอดคล้องกับมาตรฐาน ตัวชี้วัด กำหนดเกณฑ์ที่คาดหวัง ครอบคลุมมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน     ซึ่งอยู่ในระดับดี  

ผลการประเมินภายในของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การศึกษาปฐมวัย จำนวน 13 โรงเรียน  ได้มาตรฐานทุกโรงเรียน เมื่อพิจารณารายมาตรฐาน โรงเรียนได้มาตรฐาน (ระดับดีขึ้นไป) ร้อยละ 100  ทุกมาตรฐาน ระดับคุณภาพดีมาก มากที่สุด 2  มาตรฐาน  คือมาตรฐานที่ 9  ครูมีคุณธรรม จริยธรรม มีวุฒิ/ความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบเข้ากับชุมชนได้ดีและมีครูเพียงพอ และมาตรฐานที่ 11  ผู้บริหารมีคุณธรรม จริยธรรมมีภาวะผู้นำและมีความสามารถในการบริหารจัดการศึกษา  น้อยที่สุด คือ มาตรฐานที่ 4  เด็กสามารถคิดรวบยอด คิดแก้ปัญหา และคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ผลการประเมินภายในของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : ประถมและมัธยม จำนวน 15 โรงเรียนได้มาตรฐานทุกโรงเรียน  เมื่อพิจารณารายมาตรฐาน  ส่วนมากได้มาตรฐานทุกโรงเรียน (ระดับดีขึ้นไป) ที่ยังไม่ได้มาตรฐานทุกโรงเรียน คือ มาตรฐานที่ 4  ผู้เรียน      มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ และมาตรฐานที่ 5 คือ ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร ได้มาตรฐานคิดเป็นร้อยละ 88.67  ทั้ง 2  มาตรฐาน

ผลการสนทนากลุ่ม  ครูและผู้บริหารที่มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ด้วยกลยุทธ์  พบว่า  ด้านดี  บุคลากรมีความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาที่ชัดเจนขึ้น  มีแนวทางในการทำงานเป็นรูปธรรม  สามารถจัดระบบงานอย่างเป็นระบบ  มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา  วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา    พัฒนาคุณภาพตามแผนที่วางไว้  มีระบบการตรวจสอบ มีความโปร่งใส่ ประเมินตนเอง ตลอดจนการเขียนรายงานประเมินตนเอง  บุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันทุกคนมีความกระตือรือร้นในการทำงาน สถานศึกษามีความพร้อมที่จะรับการประเมินทั้งภายในและภายนอก        ไม่กลัวการประเมิน ส่งผลให้โรงเรียนได้รับมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่ 2  ชุมชน  ผู้ปกครองและนักเรียนมีความพึงพอใจ  ด้านที่ควรพัฒนา  ควรมีการทำความเข้าใจให้กับบุคคลกรเข้ามาใหม่  จัดอบรมให้กับบุคลกรในสถานศึกษาศึกษาทั้งหมดจะได้เข้าใจตรงกัน ติดตามอย่างต่อเนื่อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการสนับสนุนด้านงบประมาณ  ด้านแนวทางการพัฒนา  จัดให้มีโครงการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียน ให้มีความรู้ความเข้าใจทุกคน  นิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง  และเปิดโอกาสให้ภาคีเข้ามามีส่วนร่วมในการประชุม และการประเมิน

ตอนที่  3  ผลการประเมินการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยกลยุทธ์

ผลการประเมินระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่า ระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 8  ด้าน  ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับดีทั้งหมดทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้  ด้านที่  6 การประเมินคุณภาพการศึกษา   ด้านที่ 3  การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา ด้านที่ 4 การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพาการศึกษา ด้านที่  5 การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายใน ด้านที่ 1  การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ ด้านที่ 2 การพัฒนามาตรฐานระดับสถานศึกษา  ด้านที่ 7  การจัดทำรายงานคุณภาพการศึกษา  และด้านที่ 8  การผดุงระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา            

ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา  พบว่า ความพึงพอใจของครู และผู้บริหารที่มีต่อการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยกลยุทธ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก  และผ่านเกณฑ์การประเมิน  ทุกกลยุทธ์ อยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน  เมื่อพิจารณารายกลยุทธ์  มากที่สุด คือ กลยุทธ์ที่ 1  การสร้างความรู้ความความเข้าใจ รองลงไป คือ กลยุทธ์ที่ 2  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  น้อยที่สุด คือ ด้าน อื่น ๆ ทุกกลยุทธ์ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ ทุกรายการอยู่ในระดับมากรายการที่มากที่สุด คือ เอกสาร/สื่อที่ใช้ในการประชุมปฏิบัติการ  รองลงไปคือ เอกสารแนวทางการประเมินตนเองและรายงาน  และประโยชน์ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ น้อยที่สุด คือการให้การสนับสนุนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาซึ่งอยู่ในระดับมาก

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 402940เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2010 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อวงการศึกษา ขอชื่นชมในความเพียรพยายามในการพัฒนางานมากค่ะ

สวัสดีค่ะ ท่าน ศ.น ประสิทธิ์ กะตะศิลา

          ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภาย

ในสถานศึกษา พบว่า ความพึงพอใจของครู และผู้บริหารที่มีต่อการพัฒนาการ

ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยกลยุทธ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ

ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกกลยุทธ์ อยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การ

ประเมิน...

                                ขอบคุณค่ะ

                 

           มีภาพการไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ ของนักเรียนมาฝากค่ะ

เป็นงานวิจัยที่อ่านแล้วเข้าใจ สามารถนำไปปรับใช้ในสถานศึกษาได้ง่าย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท