ครู กศน.ตำบล ครูของชุมชน


ทุกรอยเท้าก้าวไปในหมู่บ้าน เพื่อทำงานการศึกษาเป็นหน้าที่

กศน.ตำบล: แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน

สรุปแนวทางการพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชน

 

ที่ตั้ง  อาคารสถานที่  สิ่งสนับสนุน  ควรเป็นอย่างไร

                ที่ตั้งควรอยู่ในที่ที่เหมาะสม กล่าวคือ สถานที่ใกล้ชุมชน ไม่ควรอยู่ห่างไกลหมู่บ้านจนเกินไป และมีความชัดเจน ควรเป็นอาคารและสามารถจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม ให้บริการได้ตามวันเวลาที่กำหนด สิ่งที่ควรได้รับการสนับสนุน  คือ งบประมาณการบริหารจัดการด้านสื่อการเรียนการสอน วัสดุอุปกรณ์  นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  และการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย

 บทบาทหน้าที่ของ  ศรช. ที่ควรจะเป็นมีอะไรบ้าง

             เป็นศูนย์ประสานเครือข่าย และเป็นแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายให้กับกลุ่มเป้าหมาย นอกเหนือจากภารกิจการจัดการเรียนการสอน และหมั่นพัฒนาศักยภาพตนเอง เพื่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ

บทบาทหน้าที่ของ  ครู  ศรช.

             จัดการเรียนรู้โดยการพบกลุ่ม

                 มอบหมายงานให้นักศึกษา

                ประสานงานเครือข่าย

อาสาสมัคร  กศน.  และบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัคร

                 ภารกิจหลักของอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน  ประสานผู้เข้ากิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย

คณะกรรมการ องค์ประกอบและบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ ศรช.

            คณะกรรมประกอบด้วย   ตัวแทน ประชาคม  ตัวแทนนักศึกษา   ตัวแทนกลุ่มอาชีพ   ตัวแทนภูมิปัญญาท้องถิ่น  ครูประจำ ศรช.  ประธาน ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอ

ระบบบริหารจัดการของ  ศรช.เป็นอย่างไร

                ควรมีโครงสร้างของ ศรช. อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม 

กิจกรรมการศึกษาที่ ศรช. ควรดำเนินการ

                ครูศูนย์การเรียนชุมชน เป็นผู้รับผิดชอบปฏิบัติงาน  ในลักษณะประจำศูนย์การเรียนชุมชนโดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรของการศึกษานอกโรเรียน ส่งเสริมและจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน  ตามความต้องการและสภาพปัญหาของชุมชน รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะแนวและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียน    จัดบริการข่าวสารข้อมูล      สื่อการเรียนรู้     ประสานความร่วมมือกับภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้รู้

และหน่วยงานเครือข่าย     โดยคำนึงถึงการจัดกิจกรรมที่ตอบสนองต่อนโยบายรัฐและนโยบายของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนทั้ง   4   ด้าน  ได้แก่

1.             การศึกษาพื้นฐาน

2.             การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

3.             การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

4.             การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

ตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้  การกำหนดสาระการเรียนรู้การศึกษานอกโรงเรียน  ได้ยึดกรอบสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544  ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะ กระบวนการเรียนรู้ และคุณลักษณะหรือค่านิยม คุณธรรมจริยธรรม ของผู้เรียน แบ่งสาระการเรียนรู้ออกเป็น  8 หมวดวิชา ที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ที่เป็นทักษะพื้นฐานไปใช้ในการดำเนินชีวิต

กลุ่มที่ 1  กลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน  เป็นองค์ความรู้ที่เป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็น  ใน   การดำเนินชีวิต ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในวิธีชีวิต การงานและอาชีพ และการพัฒนาสังคมและชุมชน   หมวดวิชาภาษาไทย  หมวดวิชาวิทยาศาสตร์  หมวดวิชาภาษาต่างประเทศ

กลุ่มที่ 2  กลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์  เป็นองค์ความรู้ที่เป็นทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ  เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีสุนทรียภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น  เนื่องจากกลุ่มผู้เรียนการศึกษานอกระบบเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในชีวิตมาพอสมควร องค์ความรู้และสาระการเรียนรู้ที่จัดให้จึงพัฒนาให้เหมาะสมกับวัยและสามารถนำไปใช้ในชีวิตทันที   หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน   หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1    หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 2  หมวดวิชาพัฒนาอาชีพ

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เป็นเงื่อนไขที่ผู้เรียนทุกคนต้องทำก่อนการจบหลักสูตร  โดยผู้เรียนจะทำกิจกรรมดังกล่าวทุกภาคเรียนหรือภาคเรียนใดภาคเรียนหนึ่งรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า  100  ชั่วโมง  กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ   กิจกรรมพัฒนาตนเองและครอบครัว /  กิจกรรมพัฒนาสังคมและชุมชน

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของ  ศรช.   มีอะไรบ้าง

1.             อาคารสถานที่

2.             ครู  ศรช.  ที่รับผิดชอบ

3.             กิจกรรมที่ดำเนินการ

4.             ความสนใจของผู้ใช้บริการ

5.             การประชาสัมพันธ์

การประสานเครือข่ายอื่นๆ

 

คำสำคัญ (Tags): #บางนา
หมายเลขบันทึก: 402647เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2010 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

มาเยี่ยม ให้กำลังใจในการทำงานครับ

ขอบคุณค่ะท่าน ผอ.ดิสกุล ที่เป้นกำลังใจในการทำงานค่ะ

ข้อมูลดีมากเลยค่ะอยากจะปรึกษาการทำงาน เรื่อง ครู ศรช

ครูศรช.อ.เมืองอุดธานี

เหมาะสมแล้วที่จะได้เป็นพนักงานราชการ เป็นกำลังใจให้นะคะ

ครูแป๋ง กศน.ตำบลขุนทะเล นครศรีฯ

เป็นครู ศรช. ใหม่ค่ะ เยี่ยมชมแนวทางการพัฒนา กศน.ตำบล ได้ไอเดียเพิ่มเติมขึ้น อยากเป็นเพื่อนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยอีกสักคน ขอบคุณมากค่ะ

  • ขอบคุณครูติ๋วค่ะ
  • สามารถ ติดต่อ สอบถาม การทำงานได้ที่ [email protected]
  • ขอบคุณครู ศรช.อำเภอเมืองอุดร
  • แสดงความยินดีเช่นกันค่ะ
  • ขอบคุณ ครู ศรช.กศน.ตำบลขุนทะเล
  • เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ตลอดค่ะ
  • หน้าต่างเปิดเสมอรับเพื่อนใหม่เสมอค่ะ
  • ยินดี อย่างยิ่ง

เป็นครู ศรช 9 เดือนค่ะเป็นหัวหน้า กศน.ตำบลไผ่ล้อมเหมือนกันค่ะ(นครพนมค่ะ)อยากร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อีกคนนะคะเพราะยังไม่มีประสบการณ์ขอบคุณค่ะ

บุ้งกี๋ค่ะ

  • ทำบล็อกของตัวเองหรือยังคะ
  • จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • อย่างรวดเร็วค่ะ
  • ขอบคุณที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ทุกคนพร้อมสอบพนักงานราชการหรือยังคะ
  • เรื่องนี้สามารถ
  • เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้
  • ยินดีค่ะ

ทำแล้วค่ะแต่ไม่ทราบว่าเป็นยังไงลองเข้ามาดูนะคะ http//boonggee.blogspot.com ค่ะ

คนอยากสอบพนักงานราชการ

เจอให้ทำแนวทางการพัฒนา กศน. ตำบล งง..เลยคะ ไม่รู้ต้องเริ่มจากอะไรยังไง เพราะไม่เคยสอน กศน. มาก่อน ไม่ทราบว่าต้องเขียนประมาณไหนคะ พอจะมีแนะนำแนวทางการเขียนไหม เขาให้เราคิด เรื่องเอง หลักการและเหตุผล แนวทางการพัฒนา และ ผลที่ได้รับคะ ยังไง ถ้ามีตัวอย่างเก่าๆๆ ช่วยส่งมาให้ทางอีเมล์ด้วยจะขอบพระคุณมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท