ครั้งที่ 9 “การทดสอบสมมติฐาน” (2)


ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง

การทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติพาราเมตริกซ์

(Parametric test)

(2) การทดสอบ 2 กลุ่ม ไม่อิสระจากกัน (Dependent T-test) หรือ การทดสอบเป็นคู่ (Paired Sample T-test)

ลักษณะของการทดสอบ Dependent T-test  เป็นดังนี้

* มีการวัดข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม  วัดจำนวน 2 ครั้ง เช่น ก่อนเรียน (Pretest) และ หลังเรียน (Posttest) เป็นต้น

ตัวอย่าง            

>>  การทดสอบสองหาง (Two-tailed test)            

ตั้งสมมติฐานทางสถิติ  ได้ดังนี้         

>>  การทดสอบหางเดียว (One-tailed test) ทางด้านขวา            

ตั้งสมมติฐานทางสถิติ  ได้ดังนี้          

                                 หรือ    

การใช้โปรแกรม SPSS ทดสอบทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 :  เปิดโปรแกรม SPSS จะเห็นหน้าต่าง Variable view ดังภาพ...

ขั้นตอนที่ 2 : กรอกข้อมูล  ดังภาพ...

ในที่นี้  ช่อง Name  กรอกเป็น Pre (คะแนนก่อนเรียน) และ Post (คะแนนหลังเรียน)

ขั้นตอนที่ 3 : เปิดไปที่หน้าต่าง Data view (ด้านล่าง)

ขั้นตอนที่ 4 : กรอกข้อมูลคะแนนของนักเรียนทุกคน โดยกรอกคะแนนก่อนเรียนลงในช่อง Pre และ กรอกคะแนนหลังเรียนลงในช่อง Post. ดังภาพ...

ขั้นตอนที่ 5 : คลิกเลือกคำสั่ง > Analyze  >> Compare Means >>> Paired-Sample T-test

ขั้นตอนที่ 6 : หลังคลิกเลือกคำสั่ง > Analyze  >> Compare Means >>> Paired-Sample T-test  แล้ว จะปรากฎภาพ ดังนี้...

ขั้นตอนที่ 7 : คลิกคำว่า Pre และ Post ให้เป็นสีน้ำเงิน (1) และคลิกไอคอน รูปสามเหลี่ยม (2) ดังภาพ...

ขั้นตอนที่ 8 : เมื่อคลิกไอคอน รูปสามเหลี่ยมแล้ว pre-post จะเข้าไปอยู่ในช่อง Test Variable ดังภาพ...

ขั้นตอนที่ 9 : คลิกไอคอน > Option เปลี่ยนตัวเลขในช่อง Confidence interval ตามที่ต้องการ ในที่นี้เลือกที่ 95%  จากนั้นคลิกไอคอน >> Continue และ >>> OK ตามลำดับ

ขั้นตอนที่ 10 : เมื่อคลิกไอคอน > OK แล้ว …จะปรากฏ Out put  ออกมา ดังภาพ...

ขั้นตอนที่ 11  การแปลผล Out put ดังนี้

ได้ตารางออกมาทั้งหมด 3 ตาราง คือ

ตารางที่ 1 เป็นตาราง  Paired Sample Statistics

ตารางที่ 2 เป็นตาราง  Paired Sample Correlation

ตารางที่ 3 เป็นตาราง  Paired Sample T-test   

 

ตารางที่ 1. Paired Sample Statistics

แปลผล ได้ดังนี้

                    จำนวนข้อมูล (N) 30 คน 

                    ค่าเฉลี่ย (Mean) ก่อนสอบ (Pre) เป็น 9.8  หลังสอบ (Post) เป็น 12.9

                    ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) Pre = 2.09103 , Post = 2.99828

 

ตารางที่ 2. Paired Sample Correlation (แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนก่อนและหลังว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร)

แปลผล ได้ดังนี้

                    ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation) เป็น .514 แสดงว่ามีความสัมพันธ์กันปานกลาง

                    การพิจารณาความสัมพันธ์ 

                                     สมมติฐานทางสถิติ   

                    ข้อสังเกต  การนำค่า Sig. (2-tailed) มาเทียบกับนัยสำคัญคือ a (แอลฟ่า)            

                                      แบบที่ 1  Sig. (2-tailed)  >  a     แสดงว่ายอมรับสมมติฐาน  H0

                                      แบบที่ 2  Sig. (2-tailed)  <  a     แสดงว่ายอมรับสมมติฐาน  H1

                    จากการพิจารณา  พบว่าค่า  Sig  (.004) <  a (.05) ดังนั้น ยอมรับสมมติฐาน  H1

                    สรุปได้ว่า  ยอมรับสมมติฐาน  H คือ  คะแนนก่อนเรียน (Pre) มีความสัมพันธ์กับคะแนนหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05            

 

ตารางที่ 3. Paired Sample T-test (เป็นตารางแสดงผลการทดสอบทางสถิติ T-test โดยแสดงค่า Mean , Std.Deviation , Confidence , df และ ค่า t )     

 

กรณี  >>  การทดสอบสองหาง  (Two-tailed test)     

                    ข้อสังเกต  การนำค่า Sig. (2-tailed) มาเทียบกับนัยสำคัญคือ a (แอลฟ่า)           

                                     แบบที่ 1  Sig. (2-tailed)  >  a     แสดงว่ายอมรับสมมติฐาน  H0

                                     แบบที่ 2  Sig. (2-tailed)  <  a     แสดงว่ายอมรับสมมติฐาน  H1

                    จากการพิจารณา  พบว่าค่า  Sig  (.000) <  a (.05) ดังนั้น ยอมรับสมมติฐาน  H1

                    สรุปได้ว่า  ยอมรับสมมติฐาน  H คือ  คะแนนสอบหลังเรียน (Post) ไม่เท่ากับคะแนนสอบก่อนเรียน (Pre) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05            

กรณี  >>  การทดสอบหางเดียว (Two-tailed test)     

                                                             หรือ     

                นำค่า Sig. (2-tailed) มาหารด้วย 2 แล้วจึงนำมาเทียบกับค่า a             

                แบบที่ 1  Sig. / 2  >  a     แสดงว่ายอมรับสมมติฐาน  H0

                แบบที่ 2  Sig. / 2   <  a     แสดงว่ายอมรับสมมติฐาน  H1

                จากการพิจารณา  พบว่าค่า  Sig./2 (.000) <  a (.05) ดังนั้น ยอมรับสมมติฐาน  H1

                สรุปได้ว่า  ยอมรับสมมติฐาน  H คือ  คะแนนสอบหลังเรียน (Post) สูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียน (Pre) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05            

หมายเลขบันทึก: 402396เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2010 01:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป้นแนวความคิดที่มากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท