การฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นในต่างประเทศ


ฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น

1. หลักการและเหตุผล

           กระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย โดยสถานกงสุลใหญ่มาเลเซียประจำภาคใต้ จังหวัดสงขลา และสถาบัน GIATMARA ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) โดยสำนักประสานนโยบายการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และกีฬา ได้ตกลงเห็นพ้องต้องกันที่จะพัฒนาและส่งเสริมให้เยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับองค์ความรู้เพื่อที่จะเลี้ยงชีพและร่วมกันพัฒนาสังคมชายแดนใต้ ทั้งนี้ สถานกงสุลใหญ่มาเลเซีย ประจำภาคใต้ จังหวัดสงขลาได้เสนอหลักสูตรการฝึกอบรมให้แก่เยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ภายใต้โครงการ Malaysian Technical Cooperation ซึ่งเป็นการส่งเสริมการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วม (Joint Development Strategy-JDS) และได้ดำเนินการให้เกิดผลมาตั้งแต่ปี 2550 และภายใต้การปฏิบัติงานของสำนักนายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย ฉะนั้นรับบาลมาเลเซียจึงได้ตัดสินใจให้มีการขยายโครงการความช่วยเหลือในการฝึกอบรมเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้นำเสนอหลักสูตรการฝึกอบรมให้กับเยาวชนที่สนใจ จำนวน 5 หลักสูตร ประกอบด้วย หลักสูตรช่างอิเล็กทรอนิกส์ หลักสูตรการทำผมและเสริมสวย หลักสูตรช่างซ่อมมอเตอร์ไซด์ หลักสูตรช่างเชื่อมและช่างโลหะ และหลักสูตรช่างซ่อมเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งจะรับผู้เข้าฝึกอบรม จำนวน 25 คน โดยการฝึกอบรมจะใช้ระยะเวลา 9 เดือน ณ ศูนย์ฝึกอบรม GIATMARA ประเทศมาเลเซีย

           จากผลการดำเนินการฝึกอบรมในรุ่นที่ผ่านมา ปรากฏว่า มีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมเป็นจำนวนน้อยเนื่องจากว่าสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายไม่ทันด้วยระยะเวลาที่กะทัดรัดเกินไป ซึ่งในปี 2553 นี้ สถานกงสุลใหญ่มาเลเซีย ประจำภาคใต้ จังหวัดสงขลา จึงขอความอนุเคราะห์จากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ช่วยดำเนินการประชาสัมพันธ์และรับสมัครเยาวชนตลอดจนผู้ที่สนใจเข้าร่วมฝึกอบรม ภายใต้ความคิดพื้นฐานว่าศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)เป็นหน่วยงานหลักที่กำกับดูแลพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้มอบหมายภารกิจนี้ เพื่อร่วมกันพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ประชาชนอยู่ดี กินดี และมีความสุขในการดำเนินชีวิตตามอัตลักษณ์และวิถีชีวิตในจังหวัดชายแดนภาคใต้

          ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการฝึกอบรมตามโครงการนี้ โดยเฉพาะความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความคล้ายคลึงกันในการนับถือศาสนา วัฒนธรรม และความเชื่อต่างๆ ซึ่งผู้เข้าฝึกอบรมจะได้รับประสบการณ์ที่สามารถไปประกอบอาชีพในชีวิตจริง โดยสามารถนำประสบการณ์ในต่างประเทศมาประยุกต์ใช้กับชีวิต ความเป็นอยู่ในสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างสันติสุข สำนักประสานนโยบายการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และกีฬา จึงได้ดำเนินการจัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อร่วมกันพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เกิดสันติสุข และพัฒนาการดำรงชีวิตของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. วัตถุประสงค์

     2.1 เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับองค์ความรู้เพื่อนำไปประกอบอาชีพด้วยตนเอง

     2.2 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

     2.3 เพื่อให้เยาวชนที่เข้าฝึกอบรมสามารถนำประสบการณ์ในต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตของตนเอง

     2.4 เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับประชาชน และร่วมมือกันในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างประชาชนกับภาครัฐให้มีความสันติสุขอย่างยั่งยืน

3. แผนงาน/โครงการ

    3.1 แผนงานการจัดระบบการศึกษา  ส่งเสริมกิจการทางศาสนาและวัฒนธรรม

         / โครงการการศึกษากับความมั่นคง

            โครงการการการมีส่วนร่วมกับองค์กรศาสนาเพื่อความมั่นคง

     3.2 แผนงานด้านการเมืองการปกครอง

           โครงการชุมชนเข้มแข็ง

           โครงการพัฒนานักประสานงานด้วยใจในองค์กร(โครงการ พนม.)

           โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมการอำนวยการทำงานของทุกเครือข่าย

           โครงการขจัดเงื่อนไขความไม่เป็นธรรมและอำนวยความยุติธรรม

      3.3 แผนงานด้านการส่งเสริมความเข้าใจและเข้าถึงประชาชน

            โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการเสริมสร้างความเข้าใจและ     ส่งเสริมสันติวิธี “ร้อยดวงใจให้แดนใต้”

            โครงการประชาสัมพันธ์เชิงรุกในภาวะวิกฤติ จชต.

             โครงการชุมชนเพื่อสันติสุขอย่างยั่งยืนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง       (โครงการพนพ.)

              การอำนวยการ บริหารจัดการและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงและการพัฒนา

       3.4 แผนงานด้านการต่างประเทศ

            /การสร้างความสัมพันธ์ระดับท้องถิ่นระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย

             การสร้างความเข้าใจกับประเทศโลกมุสลิมและองค์กรมุสลิม

             แผนงานการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบเศรษฐกิจและสังคม

        3.5 แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง

              โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับหมู่บ้านจังหวัดชายแดนภาคใต้และโครงการตามพระราชดำริ (ด้านเศรษฐกิจและการสร้างรายได้)

               โครงการสร้างความสมานฉันท์โดยการนำมิติด้านการศาสนา วัฒนธรรมและกีฬา

4. วิธีดำเนินการกิจกรรม

     4.1 การคัดเลือก โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์และข้อเขียนภาษามาลายู ดำเนินการโดยสถานกงสุลใหญ่ประจำภาคใต้ จังหวัดสงขลา

     4.2 การสอบสัมภาษณ์เยาวชนที่สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งหมด และคัดเลือกให้เหลือ 25 คน ณ สถานกงสุลใหญ่ประจำภาคใต้ จังหวัดสงขลา

     4.3 ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผอ.ศอ.บต.) ให้โอวาทกับผู้เข้าร่วมฝึกอบรมก่อนเดินทางไปฝึกอบรมที่ประเทศมาเลเซีย

     4.4 นิเทศติดตาม และประเมินผลการดำเนินฝึกอบรม เพื่อทราบความก้าวหน้าปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะต่างๆ

     4.5 ประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลการดำเนินงาน เพื่อสรุปผล จัดทำรายงานผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาสัมพันธ์ต่อไป

 

5. เป้าหมายกิจกรรม

    5.1 เยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สมัครเข้าร่วมฝึกอบรม  จำนวน 40 คน

    5.2 นักการทูตและเจ้าหน้าที่สถานกงสุลใหญ่ ประจำจังหวัดสงขลา  จำนวน 10 คน

6. พื้นที่ดำเนินการ

    6.1 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

    6.2 สถานกงสุลใหญ่มาเลเซีย ประจำจังหวัดสงขลา

    6.3 โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

    6.4 สถานที่สำคัญและแหล่งเรียนรู้ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

7. ระยะเวลาดำเนินโครงการ

    การดำเนินการฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นใช้เวลา 9 เดือน โดยเริ่มตั่งแต่เดือนกรกฎาคม 2553 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2554

8. ตัวชี้วัดของกิจกรรม

    8.1 ร้อยละ  95 ของเยาวชนที่ผ่านคัดเลือกได้รับการพัฒนาด้านอาชีพและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

    8.2 ร้อยละ  90 ของผู้ปกครองเยาวชนมีความพึงพอใจและร่วมมือกับศอ.บต. ในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

    8.3 ร้อยละ 100 ของเยาวชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตควบคู่กับการเรียนรู้ในต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

     8.4 ร้อยละ 90 ของเยาวชนสามารถดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาตนเอง ชุมชน สังคมประเทศชาติและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

9. งบประมาณ

    การดำเนินงานครั้งนี้ ศอ.บต. สนับสนุนงบประมาณ จำนวน 155,500 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

11. ผู้รับผิดชอบโครงการ สนับสนุนการฝึกอบรมโปรแกรม Malaysian Technical Cooperation ประเทศมาเลเซีย

       11.1 ดร.พีรศักดิ์  รัตนะ ผู้อำนวยการสำนักประสานนโยบายการศึกษา  ศาสนาวัฒนธรรมและกีฬา

       11.2 นายแวปันดี วาเย๊ะ นักวิชาการศึกษา สศว.ศอ.บต.

       11.3 หมายเลขโทรศัพท์ (สนง.) 07 3274 471

              โทรศัพท์ (มือถือ) 080-701-7320

หมายเลขบันทึก: 402346เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2010 18:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 00:03 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท