เครือข่ายประชาสังคมกรุงเทพกับการปฏิรูปประเทศไทย เวทีเรียนรู้ของบางกอกฟอรั่ม(๑)


ประชุมเตรียมความพร้อมเครือข่ายประชาสังคมกรุงเทพฯ เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย  >>> บางกอกฟอรั่ม



 

 

 

เปิดเวทีเช้านี้ ร่วมกับทีมงานของบางกอกฟอรั่ม ผมอยู่ในส่วนของทีมสนับสนุนวิชาการ : เราอยากเป็นทางเดินให้คนจำนวนหนึ่งที่มีความรักส่วนรวม มีจิตสาธารณะ นำบทเรียนตรงมาใช้ในการขับเคลื่อนงานพัฒนา ตกผลึก มีแง่มุมทางวิชาการ สื่อสารเพื่อนำไปขยายผล

เปิดเวที!!!

พูดคุยรู้จักกัน > เมื่อเรามาเจอกัน ทำอะไรด้วยกัน ร่วมสร้างแรงบันดาลใจ ร่วมสร้างเครือข่าย “ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง”มนุษย์มีพื้นฐานทางสังคมที่มาจากความคุ้นเคย ใกล้ชิด เป็นญาติมิตร  ทุนแบบนี้เองจะเป็นจุดเริ่มต้นของพลังประชาสังคม แก้ไขความขัดแย้ง 

ทำไมต้องมาเจอกัน มาร่วมกันระดมความคิด 

สภาวการณ์สังคมโลก สังคมเราที่เราอยู่ปัจจุบันมีความซับซ้อน(Complexity)  และ มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และแนวโน้มในอนาคตนั้นพบว่า มีความแตกต่างหลากหลายซับซ้อนในเรื่องของค่านิยม ความสัมพันธ์ทางสังคมความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ตลอดจนทัศนะความดีงามและความต้องการของผู้คน คิดแบบเอกเทศไม่ได้แต่ต้อง คิดทั้งโลกแต่ให้สะท้อนอยู่ในตัวเรา (Think global do local) หากเรายังคับแคบเฉพาะรอบตัว เอาตัวรอดไปวันๆ หากยังเป็นเช่นนั้นการทำงานพัฒนา หรือแก้ไขปัญหาก็เหมือนการทำเฉพาะหน้า แก้ไขปัญหาไปเรื่อยๆ ไม่มีพลังพอที่จะขับเคลื่อนสังคม

แนวคิด จนถึงปฏิบัติการเดิมๆ ที่เคยแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ ได้ผลมาแล้วนั้น มักได้ผลน้อยลง หรือต้องพยายามออกแรงและใช้ทรัพยากรมากขึ้นเพื่อรักษาระดับประสิทธิผลให้คงเดิม แต่หากจำเป็นต้องรุกเพื่อการพัฒนาบนปรากฏการณ์อย่างที่ผมเกรานไปแล้วนั้น ต้องมีการตั้งคำถามที่ท้าทายชุดระบบคิด หรือองค์ความรู้เดิม

เวทีครั้งนี้เป็นการรวมกลุ่มประชาสังคมกรุงเทพฯ ที่ทำงานพัฒนาชุมชนของตนเอง โดยส่วนใหญ่ยึดโยงกันด้วยเครือข่าย โดยมีบางกอกฟอรั่ม เป็นเวทีที่ทำให้พบปะแลกเปลี่ยนกัน เนื้อหาการขับเคลื่อนผ่านงานพัฒนาหลากหลายประเด็นตามสภาพบริบท อาจเรียกได้ว่าเป็น การปฏิบัติการทางสังคม (Social Action)  หากจะโยงเรื่องที่ไปสู่การปฏิรูปประเทศไทยได้อย่างไร? คิดระดับโลก คิดประเทศไทย และคิดเพื่อพื้ นที่ของบ้านเราที่กรุงเทพ ทำตามวิถีของเรา ตามศักยภาพของเรา

ปฏิรูป ทำให้เกิดเปลี่ยนแปลง อย่างไร?

อ.ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ได้พูดคุย เรื่องราวของการเปลี่ยนทางสังคม ว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้ ๓ วิธี 

๑.    วิกฤติฉับพลัน  (Crisis)  สามารถเปลี่ยนแบบสิ้นเชิง  แม้นไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงแต่จำเป็นต้องเปลี่ยน เปลี่ยนโฉมหน้า เปลี่ยนประเทศ เช่น ประเทศเฮติ เปลี่ยนทั้งด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม เปลี่ยนองค์กรระดับโลกด้วย เร็ว แรง ได้ผล แต่ผู้คนไม่อยากให้เกิด

๒.    เปลี่ยนแปลงแบบวิกฤติแบบคนทำ หรือ อำนาจที่รุนแรง เช่น สงคราม (อนุภูมิภาค,ขนาดใหญ่) การปฏิวัติ

๓.    วิถีการปฏิรูป มีความแตกต่างจากสองแนวทางเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมา ต้องไม่รอให้วิกฤติมาชน ต้องไม่ใช่เครื่องมือที่รุนแรง แต่ต้องการมีการเปลี่ยนแปลง เรียนรู้ และค่อยเป็นค่อยไป คาดหวังสังคมที่ดี แต่สังคมไม่พร้อมก็ปรึกษากันไป ค่อยเป็นค่อยไป ผ่านกลไกให้ความรู้ สร้างความรู้ และเสริมพลังซึ่งกันและกัน

ผู้นำชาวบ้านที่มาร่วมในเวทีบางกอกฟอรั่มในวันนี้ ไม่ใช่ NGOs แบบเก่า เราอาจเรียกพวกเขาว่า “นักวิชาการชาวบ้าน” ที่มีจิตสำนึกส่วนรวม สำนึกสาธารณะ เรามาจับมือกันปฏิรูปประเทศไทยมีและกำหนดมุมมอง การรับรู้ แล้วจะวางวิถีของเราไว้ที่ตรงไหน? คิดอย่างไร?ทำอย่างไร?

หาคำตอบจากคำถาม

คำตอบที่จะเกิดขึ้นจากคำถามเหล่านี้ เป็นที่มาที่ทำให้เราจะมานั่งคุยกันในเวทีวันนี้ ที่ New world City Hotel กรุงเทพฯ  คำถามที่เกิดขึ้นในใจทำให้ผมจดจ่อกับเวทีเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ว่าก้าวเล็กๆ จะเชื่อมโยงการปฏิรูปประเทศไทยได้อย่างไร?

 

 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

New world City Hotel กรุงเทพฯ  

๑๒/๑๐/๕๓

หมายเลขบันทึก: 402228เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2010 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมก้าวตามแล้วกันนะครับ คุณเอก ;)

ขอบคุณครับ ผมแอบเขียนบันทึกกลางเวทีเรียนรู้ครับ เพื่อให้สดทันต่อสถานการณ์

สวัสดีค่ะ

มาเป็นกำลังใจให้คนเขียนบันทึกค่ะ  ก้าวเล็ก ๆ หลายก้าวเป็นพลังยิ่งใหญ่นะน้อง

ÄÄ..แวะมาเยี่ยมตามประสาชาวบ้านเจ้าค่ะ..ยายธีว่าปัญหามักจะแก้แค่ถกเถียงหาข้อมูล..หากแต่ไม่จริงจังที่จะแก้ไข..ช่องว่างระหว่างหมู่ชนล้นปัญญา..กับจนปัญญาหารอยต่อไม่ค่อยจะเจอ...(ตัวอย่าง..ชาวบ้านเลี้ยงหมู..ในชุมชน..ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนชาวบ้าน...แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น...คนที่ต้องทนกลิ่นก็ทนต่อไป...คนได้ประโยชน์ก็ทำต่อไป..)..(หากปัญญาชน..ไปตั้งเวทีถกข้างๆ..โรงเลี้ยงหมู..โรงงานที่เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง..เป็นต้น)....คำตอบที่หาคำถาม..คงจะเิ่ริ่ม..เปลี่ยน..รูปรอยไปบ้างกระมัง...(เพราะถ้าเราแก้แค่ขี้หมูกับผลประโยชน์ยังไม่ได้...แล้วปัญหาที่ใหญ่ยิ่งทุกวันนี้จาแก้ได้อย่างไร....(ยายธีแอบถามกระจกวิเศษทุกวัน..จนเจ้ากระจกตอบว่า...แกกำลังเป็นโรค.."ไซเซ่อ..ยู้ดดเซ่อ..เบรนเอาท์"...อ้ะะะๆๆๆ....สวัสดียายธีเจ้าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท