สหรัฐอเมริกา : ลัทธิมอลโร (Monroe Doctrin) ฉบับย่อ


 

เจมส์ มอลโร ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 5
(ที่มา : วิกิพีเดีย)

          ลัทธิมอลโร (Monroe Doctrin) เกิดขึ้นโดย ปธน. เจมส์ มอลโร แถลงเมื่อ 2 ธ.ค.1823 กล่าวถึงจุดมุ่งหมายที่จะนำพาประเทศอเมริกาให้อยู่ในความสงบ ไม่ต้องการให้ชาติยุโรปเข้ามาแทรกแซงทางด้านการเมืองหรือแสวงหาดินแดนในทวีปอเมริกา ซึ่งอังกฤษ ฝรั่งเศส ปรัสเซีย ออสเตรีย ต่างก็สนใจให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่สเปนในการปราบปรามอาณานิคมในอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นความพยามยามของชาติต่าง ๆ ที่จะเข้าครอบครองดินแดนแถบนี้

          หลักการสำคัญคือ  

  1. อเมริกาจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับอาณานิคมของสเปนในทวีปอเมริกา
  2. หากชาติยุโรปเข้ามาแทรกแซงประเทศในทวีปอเมริกา อเมริกาจะถือว่าการกระทำนั้นเป็นภัยคุกคามต่อประเทศอเมริกาด้วย
  3. อเมริกาจะไม่ยอมให้ประเทศใดในทวีปยุโรปเข้ามาแสวงหาอาณานิคมในทวีปอเมริกาอีกต่อไป

          ลัทธิมอลโรสร้างขึ้นมาเพื่อสร้างความั่นคงและรักษาผมประโยชน์ให้กับอเมริกาเอง เป็นลักษณะการป้องกันตนเองเนื่องจากอมเริกายังไม่มีความเข้มแข็ง แต่ภายหลังเมื่ออเมริกามีความเข้มแข็งมากขึ้นหลักการมอลโรกลายเป็นเครื่องมือที่อเมริกาใช้เข้าควบคุมกระเทศในละตินฯ อย่างอิสระเต็มที่ โดยไม่มีชาติอื่นใดเข้าขัดขวาง และถือได้ว่า หลักการมอลโลคือการประกาศอย่างเป็นทางการของอเมริกาที่กำหนดให้ประเทศละตินฯ เป็นเขตอิทธิพลของอเมริกา

          พัฒนาการ 

          - ปธน. โฟล์ค นำหลักการมอลโรถูกนำมาใช้อย่างจริงจัง ในปี 1848 ถือกำหนดเขตการสร้างอาณานิคมที่จำเพาะใช้แต่กลุ่มทวีปอเมริกาเหนือเท่านั้น และดำเนินนโยบายทางการทูตของชาติยุโรปต่อชาติเกิดใหม่ในละติน ฯ  อเมริกาจะไม่ยอมให้สเปนยกคิวบาให้กับชาติอื่น

          - ปธน. รูสเวลท์ นำหลัการนี้มาใช้อีก 50 ปีต่อมา หลักการมอลโลได้เปลี่ยนไปเป็นการรุกรานประเทศละตินฯ เพราะอเมริกามีความเข็มข็งแล้ว เช่นการผนวกดินแดนเท๊กซัส การซื้อที่ดินของแม็กซิโก ในปี 1902 ปธน. รูสเวลท์กล่าววาทะ “สหรัฐอเมริกาเป็นผู้พิทักษ์อเมริกา”

          - ปธน. ทาฟท์ ใช้ นโยบายดอลลลาร์ นำเงินเข้ามาช่วยเหลือละตินฯ และวุฒิสมาชิก เฮนรี่ คอเบต ลอดจ์ แถลงการห้ามต่างชาติ๙อที่ดินในละตินฯ

          - ปธน. วิลสัน เสนอแผนตะบองใหญ่ (Big Stick) ประกาศว่า “ประเทศที่เจริญแล้ว (อเมริกา) จะต้องช่วยเหลือประเทศที่อ่อนแอ (ละตินฯ)”

 

          ตัวอย่างละธิมอลโรในคิวบาและปานามา

          คิวบา

          คิวบาถูกกำหนดให้เป็นรัฐอารักษ์ขาแห่งแรกของอเมริกา เนื่องจากอเมริกามีผลประโยชน์ในคิวบามากกว่าประเทศอื่น และมีภูมิศาสตร์ใกล้ชิดกัน เมื่อคิวบาได้รับเอกราชในปี 1898 อันเกิดจาการช่วยเหลือของอเมริกา รัฐธรรมนูญฉบับแรกจึงเป็นไปตามประสงค์ของอเมริกา คือให้สิทธิแก่อเมริกาเข้าแทรกแซงได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ทั้งในเรื่อง สังคม เศรษฐกิจและการเมือง คิวบาต้องยอมขายหรือให้เช่าที่ดินเพ่อใช้เป็นฐานทัพเรือของอเมริกา อเมริกาแทรกแซงคิวบา 5 ครั้งใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ

  1. ปี 1905 ส่งทหารเพื่อเข้ายึดอำนาจของคิวบาอันเนื่องจากจากการขัดแย้งทางการเมืองระหว่างฝ่ายอนุรักษ์นิยมและฝ่ายเสรีนิยม
  2. ปี 1909 ส่งทหารเข้าควบคุมการจลาจลที่คนผิวดำไม่พอใจคนผิวขาว
  3. ปี 1913 เข้าแทรกแซงการเมืองคือสนับสนุนฝ่ายอนุรักษ์นิยม
  4. ปี 1921 – 1925 แทรกแซงการเกิดคอรัปชัน
  5. ปี 1925 1933 ส่งทหารปราบปรามเผด็จการในคิวบา

          ปานามา

          อเมริกาสนใจปานามาเพราะพื้นที่ ๆ แคบที่สุดของอเมริกากลาง กล่าวคือ อเมริกาได้ให้การสนับสนุนกลุ่มต่อต้านนแถบตอนเหนือของโคลัมเบีย จนสามารถแยกตัวจัดตั้งสาธารณรัฐปานามาได้ในปี 1904 อเมริกาประกาศรับรองปานามาและรัฐบาลใหม่และอเมริกาเองได้รับสิทธิมากมาย เข้าแทรกแซงกิจการต่าง ๆ โดยเฉพาะอำนาจเด็ดขาดในการควบคุมคลองปานามา มีสิทธิจัดตั้งกองทหารอเมริกาในปานามา  โดยอ้างว่า เพื่อรักษาความปลอดภัยแก่สาธารณะชน และเส้นทางผ่านระหว่างมหาสมุทรคือ แอตแลนติกและแปซิฟิก และเพื่อรักษาไว้ซึ่งกฏหมายรัฐธรรมนูญอันเป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศ

          ลัทธิมอลโร มีผลต่อประเทศในละตินฯ และสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนชาวละตินฯ เป็นอย่างมาก เกิดการต่อต้านอย่างรุนแรง อีกทั้งยังสร้างความไม่พอใจกับนานาประเทศ จนเมื่อ ปธน. ฮูเวอร์ ประกาศนโยบายพื่อนบ้านที่ดี (Good Neighbor Policy) ในปี 1933 ลัทธิมอลโรจึงคลายความเข้มข้นลง ให้กิจการภายนประเทศกลุ่มละตินฯ ดำเนินไปตามแต่ละประเทศ แต่อเมริกาก็ยังเฝ้าดูอยู่ห่าง ๆ

เรียบเรียงโดย : วาทิน ศานติ์ สันติ

อ้างอิง

กฤษณา ไวรวจ,รศ.ดร.. ละตินอเมริกา : การเมือง การจัดการปกครองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 1 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : มหาวิทยบายรามคำแหง. 2552.

มาตยา อิงคนารถ, รศ.. ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างละตินอเมริกากับสหรัฐอเมริกา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2548.

วิกิพีเดีย. [สื่อออนไลน์]. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%8C_%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3. สืบค้นเมื่อ 11 ต.ค. 2553.

หมายเลขบันทึก: 402055เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2010 12:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไทยแลนด์อังกฤ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท