ตลาดนัดความรู้กรมอนามัย ( ตอนที่ 2 : แลกเปลี่ยนเพื่อเรียนรู้ )


เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และเอื้ออาทร

           ช่วงเช้าของวันที่ 19 ก.ค. 49 ผมและครูนงเมืองคอน เดินทางไปถึงห้องประชุมที่ใช้จัดงานตลาดนัดประมาณ 2 โมงเช้า ตามวัฒนธรรมของ KFCoP ซึ่งปกติจะไปก่อน-กลับทีหลังเกือบทุกครั้ง(แต่วันนี้ผมอาจกลับก่อนเพราะมาในฐานะผู้ร่วมงาน) ไปถึงก็ตระเวนเก็บภาพจากทุกๆ บูททั้ง 10 บูท  ครูนงเมืองคอนติดใจผลผลิตของบูท 1 เป็นบูทของศูนย์อนามัยที่ 1 กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นของเล่นเด็กที่ได้จากการทำงานวิจัยฯ

                                                
                                    ขอเก็บภาพกลับไปเผยแพร่ที่นครศรีธรรมราช

          ตัวอย่างของบูทที่จัดเตรียมไว้ในตลาดนัดความรู้ของกรมอนามัย ที่ได้เก็บภาพในช่วงเช้า         

                                      

          
        บูท 1 ศูนย์อนามัยที่ 1 กรุงเทพฯ และบูท 5 ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา

           เปิดตลาดนัด โดยนายแพทย์ประเสริฐ หลุยเจริญ รองอธิบดีกรมอนามัย แบบไม่เป็นทางการโดยใช้การพบปะพูดคุย เล่าถึงที่มาที่ไปของการทำ KM ซึ่งผมคิดว่าเป็นการฉายภาพของช้างKMทั้งตัวได้แจ่มชัดมากของการทำKMในองค์กร เพื่อก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ อีกทั้งการเปิดก็เรียบง่าย เป็นกันเอง ช่วยสร้างบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในช่วงเริ่มต้นได้ดีมาก

          จากนั้นก็เป็นการขึ้นเวทีอภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ 4 หน่วยงานของกรมอนามัย คือ และ 2 หน่วยงานจากภายนอกคือครูนงเมืองคอน จากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองนครราชสีมา และผมจากสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร โดยแพทย์หญิงนันทา  อ่วมกุล ผู้อำนวยการสำนักที่ปรึกษา ทำหน้าที่ดำเนินรายการ โดยเล่าตามลำดับคือ

  1. ผู้อำนวยการกองคลัง คุณดารณี นาคะประทีป เล่าเกี่ยวกับการทำKMในกองคลัง กรมอนามัย
  2. ครูนงเมืองคอน เล่าเกี่ยวกับการจัดการความรู้แก้จนเมืองนครศรีธรรมราช
  3. ผมเล่าเกี่ยวกับการทำKM ในงานส่งเสริมการเกษตร และการจับประเด็น-ลิขิต
  4. คุณชูศรี  ผลเพิ่ม จากศูนย์อนามัยที่ 1 กรุงเทพฯ เล่าถึงการปิดตำราลุยKM โดยการลงมือปฏิบัติ
  5. คุณยุพิน โจ้แปง จากศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา จุดเน้นที่การล้วงความรู้ หรือ KM Spy และ
  6. คุณฐิฏา  ไกลวัฒนพงศ์ จากศูนย์อนามัยที่ 1 กรุงเทพฯ เล่าถึงการทำหน้าที่เป็นคุณลิขิต

          หัวใจของการเล่าเรื่องของแต่ละคนเพื่อการ ลปรร.นี้ ก็เป็นการเล่าประสบการณ์ และช่วงท้ายก็มีการเปิดให้มีการสอบถามเพิ่มเติม

                                
                                     ภาพขณะมองลงมาจากเวทีในช่วง ลปรร.

          ก่อนการพักรับประทานอาหารกลางวัน ได้มีการชี้แจงถึงกิจกรรมการชมตลาดนัดความรู้ของช่วงบ่าย โดยเริ่มแบ่งไว้ตั้งแต่การลงทะเบียนและมอบป้ายชื่อ เพราะที่ป้ายชื่อจะมีรูปของสัตว์ต่างๆจำนวน 10 ชนิด ซึ่งก็คือการแบ่งคนที่มาร่วมงานในครั้งนี้ออกเป็น 10 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีผู้ประสานงานกลุ่มอยู่ทุกกลุ่ม  ดังภาพด้านล่างนี้ (ผมถ่ายมาจากข้างห้องประชุม)  

          นอกจากนั้นยังกำหนดให้แต่ละกลุ่มชมตลาดนัดได้กลุ่มละ 4 บูทๆ ละ 30 นาที หมุนเวียนโดยการนับจากบูทที่ตรงกับกลุ่ม เช่น กลุ่มที่ 1 ก็เริ่มดูที่บูทที่ 1 แล้วเวียนไปบูที่ 2-3-4 และกลุ่มที่ 2 ก็เริ่มต้นที่บูทที่ 2 แล้วเวียนไปบูทที่ 3-4-5 เป็นต้น

                                        

  


          ภาคบ่าย  กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลาดนัดความรู้

  • ภาพบรรยากาศของตลาดนัด

                       

                                 

  •   การแลกเปลี่ยนเรียนรู้         

                                                      

 

 

 

 

 

 

 

 

                       


     หน้าตาของ KMSpy ของศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา (การล้วงความรู้) <ul><li>จดๆ จ้องๆ และชี้แนะกระบวนการของแต่ละบูท</li></ul><p>                                             </p><p>                                             </p><p>          ในระหว่างการ ลปรร.ในตลาดนัด  ยังมีกิจกรรมที่สำคัญ ได้ดำเนินควบคู่กับไป เพื่อเป็นการหนุนเสริมกิจกรรมตลาดนัด ซึ่งได้แก่</p><ul>

  • กิจกรรมการประกวดบูทต่างๆ ในขณะที่กิจกรรมตลาดนัดดำเนินอยู่นั้น ก็จะมีคณะกรรมการคอยสังเกตและให้คะแนนไปด้วย ในประเด็นของการจัด การถ่ายทอด การสร้างความเข้าใจใน KM ฯ  ซึ่งผมและครูนง ก็ได้ร่วมให้คะแนนในกิจกรรมนี้ด้วย
  • กิจกรรมการประกวดคำถาม  ทุกบูทจะมีจานรับคำถามสำหรับผู้ที่ได้มาร่วม ลปรร. น่าจะเป็นการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจในการ คิด และถามเพื่อการพัฒนา
  • การให้รางวัล C&D (คัดลอกและพัฒนา) เป็นการประกวดประเด็นที่จะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้นำกลับไปพัฒนาในหน่วยงานของตนเอง
  • </ul><p>          ผมก็มีโอกาสอยู่ร่วมกิจกรรมในภาคบ่ายไม่นานนัก ให้คะแนนบูทเสร็จก็ต้องขอตัวเดินทางกลับ รายละเอียดเพิ่มเติมคงต้องคอยอ่านได้จาก คุณหมอนน (เพื่อนร่วมทาง) ครูนงเมืองคอน และท่านอื่นๆ ที่ได้ร่วมงานในครั้งนี้ บางกิจกรรมผมอาจบันทึกได้ไม่ชัดเจนก็ขอชาวกรมอนามัยโปรดชี้แนะ  เพราะด้วยเวลาที่จะรับข้อมูลอันจำกัด</p><p>          ท้ายบันทึกนี้ขอขอบพระคุณทีมงานของกรมอนามัยทุกๆ ท่านที่ได้ให้โอกาสเข้าร่วม ลปรร. ในครั้งนี้  และได้ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น  ผมได้เรียนรู้เพิ่มเติมมากมายบันทึกได้ไม่หมด และขอชื่นชมความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญยิ่งของกรมอนามัย ที่หน่วยงานอื่นสามารถมาเรียนรู้ เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และเอื้ออาทรดั่งที่ทุกคนมุ่งหวังกันต่อไป</p><p>วีรยุทธ  สมป่าสัก</p>

    หมายเลขบันทึก: 40185เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2006 23:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (7)
    • รู้สึกแย่ที่ไม่ได้พบทั้งครูนงและคุณสิงห์ป่าสักอุตส่าห์ไปเยียนถึงถิ่น
    • รอ B2B ก็แล้วกัน

    คุณสิงห์ค่ะ ... ข้อมูล ... ถูกต้องแล้วค่ะ

    ... แล้วเพื่อนร่วมทางจะไปต่อยอดในรายละเอียดนะคะ

           ขอบคุณครับที่บันทึกให้ทราบ ดูจากภาพก็รู้ได้เลยว่างานนี้ขนาดไหน

    ขอบคุณมาก ๆ ครับพี่วีรยุทธ

    ถ้าอย่างไรไปคราวหน้าชวนกันบ้างนะครับ

    จะได้ไปร่วมเรียนรู้กับพี่ ๆ ทุก ๆ คนครับ

    เรียน  อ.ขจิต และ อ.ปภังกร

    •  ไม่เฉพาะผมและครูนงนะครับงานนี้ ยังมี"เพื่อนร่วมทาง" พี่ศรีวิภา คุณหมอสมศักดิ์ และคุณหมอนันทา จากกรมอนามัยยอดคุณเอื้ออำนวยกันทั้งนั้นเลยครับ
    • ไม่เป็นไรนะครับ โอกาสหน้ายังมีอีกมากนะครับ

    เรียน คุณหมอนนทลี (เพื่อนร่วมทาง)

              ขอบพระคุณมากครับที่ช่วยตรวจสอบข้อมูลให้

    เรียน พี่ชาญวิทย์

    • ขอบพระคุณมากครับที่คอยติดตามอ่าน
    • เดือนกันยายน น่าจะได้เจอกันนะครับ
    ตามมา C&D ญาติๆที่กรมอนามัยค่ะ
    มาช้าแต่ก็มานะคะ มาทักทายพอให้ได้คิดถึงพี่สาวคนนี้บ้าง ขออภัยป่วย แบบซะไม่มี เลยอดไปเจออาจารย์สิงห์ป่าสักที่งานของกรมสุขภาพจิต
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท