งานวิจัย ภาวะผู้นำ


 

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ 

สรุปงานวิจัยภาวะผู้นำเรื่องที่ 1 

 

ชื่อวิจัย เรื่อง ภาวะผู้นำของหัวหน้างานที่ประเมินโดยผู้ใต้บังคับบัญชากรณีศึกษา องกรที่บริหารงานโดยผู้บริหารชาวสิงคโปร์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน 

 

ชื่อผู้จัดทำ อัญชุลี ชาญณรงค์ 

 

จากงานวิจัยสรุปได้ว่า ภาวะผู้นำของหัวหน้างานที่ประเมินโดยผู้บังคับบัญชาเป็นการศึกษาเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 68 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในส่วนของการทดสอบสมมติฐาน สถิติที่ใช้ได้แก่ T-test ค่าF-test และ LSD-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

 

ผลการวิเคราะห์ภาวะผู้นำของหัวหน้างานพบว่า พนักงานส่วนใหญ่ประเมินภาวะผู้นำของหัวหน้างาน โดยเห็นว่า หัวหน้างานโดยส่วนใหญ่มีภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยในระดับปานกลาง(ค่าเฉลี่ย=3.15, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=1.06) มากที่สุด รองลงมามีภาวะผู้นำแบบเผด็จการในระดับปานกลาง(ค่าเฉลี่ย=3.00, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=1.11) และมีรูปแบบภาวะผู้นำแบบตามสบายในระดับปานกลาง(ค่าเฉลี่ย=2.62, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=1.17) น้อยที่สุด

 

ผลการทดสอบสมมติฐาน สามารถสรุปได้ว่า มีเพียงตัวแปรระดับการศึกษาที่มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำของหัวหน้างานที่ประเมินโดยผู้บังคับบัญชาที่แตกต่างกัน โดยเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนเพศ อายุ และระยะเวลาที่ร่วมงานกับหัวหน้างาน จากผลการทดสอบให้ผลต่อการประเมินภาวะผู้นำของหัวน้างานไม่แตกต่างกัน 

 

 

 

 

 

 

 

สรุปงานวิจัยภาวะผู้นำเรื่องที่ 2 

 

ชื่อ ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตภาคตะวันออก  

 

ชื่อผู้จัดทำ อัมพร อิสรารักษ์ 

 

จากงานวิจัยสรุปได้ว่า การวิจัยเพื่อศึกษาระดับ เปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตภาคตะวันออกและเพื่อศึกษาปัจจัยภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตภาค ผลการวิจัยพบว่า 

 

1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตภาคตะวันออก เป็นแบบภาวะผู้นำปฏิรูปอยู่ในระดับมาก

 

2. ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน เขตภาคตะวันออก จำแนกตามอายุของผู้บริหารโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนจำแนกตามวุฒิการศึกษาของผู้บริหารโดยรวม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

 

3. ประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตภาคตะวันออก โดยรวมอยู่ในระดับมาก

 

4. ประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตภาคตะวันออก จำแนกตามอายุของผู้บริหาร และวุฒิการศึกษาของผู้บริหาร โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

 

5. ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตภาคตะวันออก มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

6. ภาวะผู้นำของผู้บริหารแบบปฏิรูป ด้านความเสน่หา X3 และด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา X6 สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยรวม y ได้ร้อยละ 38.20และความสามารถร่วมกันทำนายได้อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้สมการในรูปคะแนนดิบดังนี้ y.=2.132 + .239 (X3) + .179 (X6)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ภาวะผู้นำ
หมายเลขบันทึก: 401530เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2010 08:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผู้นำต้องเก่งคิด เก่งงาน เก่ง คนด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท