การพัฒนาศักยภาพบุคคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปี 2553


การเตรียมตัวด้านความรู้ให้กับบุคลากรที่จะปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

 

การประชุมพัฒนาศักยภาพบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปี 2553

 

                   เป็นการเตรียมความพร้อมให้บุคลากรที่จะปฏิบัติงานใน สถานีอนามัย  ซึ่งจะยกระดับให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในปีนี้ ซึ่งเนื้อหาที่จัดประชุม จะมี การบริหารเครือข่าย ซึ่งพอสรุปได้ว่าในพื้นที่แต่ละแห่งจะมีองค์กรต่างๆกลุ่มคน หน่วยราชการ เพราะฉะนั้นควรมีการติดต่อประสานงานร่วมแรงกันพัฒนา รพสต ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

                   สำหรับแนวทางส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่ เป็นการทบทวนการทำงานส่งเสริมสุขภาพโดยการวิเคราะห์หาสาเหตุเช่นโรค หาวิธีการจัดการกับโรค โดยการใช้แผนภูมิต้นไม้มาเขียนความสัมพันธ์

            หัวข้อวิชา เวชศาสตร์ครอบครัวกับการจัดการโรคเรื้อรัง ได้มีการแนะนำเครื่องมือที่ใช้ปฏิบัติงานใน

ชุมชน 7 เครื่องมือดังรายละเอียดดังนี้

                 การใช้เครื่องมือในการประเมินภาวะสุขภาพตามหลักเวชศาสตร์ครอบครัว

เครื่องมือที่ 1 Patient Centered Medicine   การดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

เมื่อผู้ป่วยมารับการรักษาพยาบาล สิ่งแรกที่แพทย์/พยาบาลจะถามคือวันนี้ป่วยเป็นอะไรมา และผู้ป่วยมักจะบอกว่าไม่สบายมา  สำหรับการดูแลผู้ป่วยเป็นจุดศูนย์กลาง ทำอย่างไรผู้ให้การรักษาจะรู้ว่าผู้ป่วยคิดอย่างไรกับโรค รู้ว่าองค์ประกอบของโรคมีอะไร และผู้ป่วยคาดหวังอะไรกับการเจ็บป่วย ผู้ให้การรักษาควรเป็นบุคคลที่ยืดหยุ่นสามารถปรับตัว เข้าใจในความคิดความเชื่อของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งก็คือการดูแลผู้ป่วยโดยมีผู้ป่วย เป็นศูนย์กลางนั่นเอง

เครื่องมือที่ 2 Doctor และ Patient   Relationship   สัมพันธ์ภาพ ระหว่างแพทย์ กับผู้ป่วยบางครั้งผู้ป่วยมารับการรักษา  ณ เวลานั้นแพทย์อาจไม่อยากรักษา  (เช่น คนไข้วันนี้มากแล้วตรวจจนเหนื่อยแล้ว /รู้สึกไม่สบายใจมาจากบ้าน ฯลฯ ) แต่ให้คำนึงว่าการสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้ป่วยจะเป็นสิ่งที่ทำให้ง่ายในการรักษา   แพทย์ต้องมีความเห็นใจ คิดว่าผู้ป่วยเป็นเสมือนญาติที่เราต้องดูแล  มีคำพูดดีๆ   ของอาจารย์สายพิณ  หัตถีรัตน์ กล่าวว่า  “ในชีวิตของผู้ป่วยคนหนึ่ง

ให้เขาได้มีโอกาสเจอหมอที่ดีสักครั้งก็ยังดี ”

เครื่องมือที่ 3 Family   Genogram     แผนผังเครือญาติ

การทำผังเครือญาติ ควรทำ อย่างน้อย 3 รุ่น โดยเริ่มจากตัวผู้ป่วยเป็นหลัก ลำดับพี่น้อง-ลำดับสามีภรรยา จาก ซ้ายไปขวา  วงรอบสมาชิกบ้านเดียวกับผู้ป่วย และเขียนรายละเอียดสมาชิก ความสัมพันธ์  ประโยชน์ของการเขียนผังเครือญาติ ทำให้ทราบความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว โรคที่ติดต่อที่ถ่ายทอดทาง กรรมพันธุ์

 

 

 

 

เครื่องมือที่ 4 Family   Oriented Approach Knowledge   ครอบครัวเปรียบเหมือนคนไข้ การรู้จักครอบครัวของผู้ป่วยจะช่วยให้ง่ายต่อการรักษา  โดยเปรียบเทียบว่าครอบครัวคือคนไข้  ครอบครัวอบอุ่น ครัวครัวอย่าร้าง   ถูกทอดทิ้ง ครอบครัวเจ็บป่วย   ครอบครัวที่มีพ่อ แม่ดื่มสุรา ลูกก็มีโอกาสดื่มสุรา หรือ ครอบครัวที่แต่งงานอายุน้อย บุตรก็มีโอกาสแต่งงานอายุน้อย กฎในบ้านแต่ละบ้านไม่เหมือนกัน ซึ่งส่งผลด้านพฤติกรรมของบุคคลได้ เป็นต้น

           ปัญหาครอบครัวไทยแบบใหม่ จะพบว่า ครอบครัวแบบดาวกระจาย คือ พ่อ แม่ กระจัดกระจาย ไปคนละทิศละทางหาความสุขที่อยู่ด้วยกันแบบพร้อมหน้าไม่ได้ ครอบครัวแบบยิปซี คือโยกย้ายกันไปเรื่อยๆตามแหล่งทำมาหากิน หรือหางานทำไม่ได้ ครอบครัวแบบลูกระเบิด คือมีเรื่องระหองระแหงกันอยู่เสมอบ่อยครั้งลงมือตบตีกัน ครอบครัวแบบเปิดปุ๊บติดปั๊บ คือพบกันไม่นานก็ตกลงปลงใจอยู่ด้วยกัน ครอบครัวแบบนี้อย่าร้างง่าย

เครื่องมือที่ 5 Home Visit การเยี่ยมบ้าน

มีคำถาม ว่าทำไมต้องเยี่ยมบ้าน เพราะการเยี่ยมบ้านทำให้เรารู้จักครอบครัว/ผู้ป่วย สภาพแวดล้อมของเขาได้มากขึ้น สามารถประเมินสภาวะการเจ็บป่วย ผู้ป่วยได้ การเยี่ยมบ้านถ้ามีผู้สูงอายุควรจะมีการประเมินพลัดตกหกล้ม ด้วย เพราะสามารถ พยากรณ์การเจ็บป่วยของเขาได้

เครื่องมือที่ 6 แผนที่เดินดิน

แผนที่เดินดินมีประโยชน์ ในการนำทางให้เข้าไปพบผู้ป่วยได้  บุคคลที่เขียน ต้องเขียนให้ชัดเจน ไปบ้านผู้ป่วยได้  ในปัจจุบันผู้ที่นำทางไปพบผู้ป่วยได้ ในชุมชน เราจะมี อาสาสมัครสาธารณสุข ที่ประจำในชุมชน อสม สายพันธ์ใหม่ที่มีความรู้ และเชี่ยวชาญความรู้ต่างๆ

เครื่องมือที่ 7 Yourself

ชีวิตที่มีคุณค่าคือชีวิตที่ตัวเรามีคุณค่าและทำให้ชีวิตคนอื่นมีค่า

สำหรับหัวข้อการจัดการความรู้มีรายละเอียดดังนี้

การจัดการความรู้ (Knowledge Management)

เคล็ดลับ การทำ KM คือ

  1. ต้องไม่มีการตั้งกฎกติกา ในการชวนคุย
  2. ชวนคุย
  3. Dialog (  สุนทรีย สนทนา)

การทำ KM จะเกิดได้ทุกที่ถ้าเรามีโอกาสได้พูดคุยกัน เช่นในวงรับประทานอาหาร ในรถ เป็นต้นไม่จำเป็นจะต้องเกิดในที่การจัดประชุม     ซึ่งการพูดคุยต้องมีการสร้างบรรยากาศให้น่าชวนคุย  มีการเก็บบันทึกสิ่งที่คุยมาไว้เป็นข้อมูล เพื่อนำมาแก้ไขปัญหา

 

 

 

 

สำหรับการทำ Dialog ( สุนทรีย สนทนา) เป็นการชวนคุยแบบมีเรื่องเล่าซึ่งมีรายละเอียดพอสรุปได้ดังนี้

  1. Dialog  Listening……Proactive  การฟังอย่างตั้งใจฟัง
  2. Reflect   ไม่รีบร้อนจะโต้กลับ
  3. การเข้าใจซึ่งกันและกัน
  4. Mental model  การคิดสิ่งที่ได้ฟัง โดยมีการชำระปมต่างๆในใจของตนเอง
  5. Learning  Cycle ใช้ขบวนการเรียน
  6. การเสริมกำลังใจซึ่งกันและกัน
  7. การจุดประกายให้กันและกัน

สำหรับกติกาการทำ Dialog (สุนทรียสนทนา)

  1. Suspend  การแขวนคำพิพากษา คือเราฟังผู้พูดเราต้องไม่ตัดสินผิดถูกในสิ่งที่เขาพูด
  2. Debate   งดการโต้วาที ในขณะที่ทำการชวนคุย
  3. Free Space มีพื้นที่อิสระ หมายถึงการพูดคุยในเรื่องนั้นต้องไม่มีตัวชี้วัดมากำหนด เช่นให้พูดคุยได้อย่างอิสระในเรื่องที่อยากคุย
  4. ห้ามเอาเรื่องส่วนตัวมาพูดคุย

สิ่งที่คาดว่าจะได้รับในการทำ KM อาจพบนวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้นในชุมชน / เกิดขบวนการทำงานที่ประสบผลสำเร็จ /มีการพัฒนางาน/แก้ไขปัญหาการทำงาน ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ให้ประสบผลสำเร็จได้ง่ายขึ้น

 

 

 ชอุ้ม กลิ่นษร

ขวัญใจ เชิดชัย

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 401359เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2010 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 08:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชีวิตที่มีคุณค่าคือชีวิตที่ตัวเรามีคุณค่าและทำให้ชีวิตคนอื่นมีค่า

ชอบจริงๆค่ะ/วิลาวรรณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท