ห้องเรียนกระบวนกร AI (ตอนที่ 253) ."...ถามลูกชาวบ้านสิ..."


Appreciative Inquiry

หลายคนคงเหนื่อยกับการศึกษา..ของลูก ผมเองเจอคุณพ่อคุณแม่ที่ต่างทุมเทให้ลูก เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ในวิชาการด้านต่างๆ ตั้งแต่เด็ก ไม่ว่าจะเป็น Piano เอยคณิตศาสตร์ วันหนึ่งผมเจอคุณพ่อท่านหนึ่งบ่นว่า "อาจารย์ครับ คิดว่าโรงเรียนนี้เป็นไงครับ...ผมว่าไม่ได้เรื่องเลย ลูกผมเนี่ย ตอนนี้คณิตศาสตร์แย่ ภาษาอังกฤษก็ไม่ไปถึงไหน..."

ผมเลยถาม...ลูกคุณอยู่ปอไหนแล้ว..

เขาบอกว่า "อยู่ป. 1"

ผมเลยพูดออกมาในฐานะที่รู้จักกัน... "เฮ๊ย คุณจะเอาอะไรนักหนานะ แค่ป. 1."

ผมว่าเรื่องนี้เป็นตัวแทนของประสบการณ์ที่ผมต้องเจอะเจอกับ พ่อแม่จอมกังวลที่อยู่รอบตัวผมนับ 100 คน...

....

ผมเลยถามต่อ แบบ Appreciative Inquiry คือ คุณพ่อท่านนี้จบการศึกษาจากวิศวจุฬา...ดู Bright มาก และดูเป็นคนที่ประสบความสำเร็จด้านธุรกิจ...ซึ่งปรกติแล้วผมจะชอบถามว่า คนเก่งๆ แบบนี้เด็กๆพ่อแม่เลี้ยงเขาอย่างไร...ผมเลยถามเขาว่า..."ตอนเด็กๆ นี่คุณพ่อคุณแม่คุณนี่สอนยังไง ถึงได้เก่งขนาดนี้..เขาบอกผมว่า "คุณพ่อ ผมจบม. 3 สอนคณิตศาสตร์อะไร ไม่ได้หรอก แต่สิ่งที่ทำเป็นประจำคือ ตอนทานข้าวต้องตรงเวลา..แล้วเราก็จะคุยกันเรื่องสังคมบ้าง การเมืองบ้าง ไม่ใช่เรื่องทำมาหากิน..."

......

ตัดมาจุดนี้ครับ...หรือนี่คือร่องรอยของเด็กอัจริยะ...พ่อแม่ เน้นความตรงเวลา คือ เน้นวินัย...คุยเรื่องนอกตัวก็เหมือนเขาคุยแบบ Liberal Art ทำให้ไม่หมกมุ่น จิตใจกว้างขวาง...และกลายเป็นพื้นฐานที่ดี...

ผมไปเจอเรื่องคล้ายๆกันกับอีกบ้านหนึ่งที่เป็นวิศวกรระดับเทพเช่นกัน ก็ประมาณนี้...บ้านไม่มีของเล่น แต่มีขยะให้แกะเล่นเพียบ

......

เรื่องนี้ยังทำให้ผมนึกถึงคุณแม่บ้านคนหนึ่ง รับเลี้ยงเด็ก เงินเดือน 5-6 พัน แต่มีลูกเรียนห้อง Gift ของโรงเรียนมีชื่อแห่งหนึ่ง วันหนึ่งเธอมาถามผมว่าลูกจะเอ็นต์แพทย์ จะดีไหมอาจารย์...ผมได้แต่อึ้ง...พอถามไปถามมาลูกเธออีกคนก็ได้ทุนเรียนป.โท บุคลิกของเธอเป็นคนให้เกียรติคน ตั้งใจฟังคนอื่น...เพียงแต่ไม่มีเงินมากมายเท่านั้น...เธอเองมีลักษระคล้ายๆแม่ของเด็กเก่งๆระดับเทพ (ดีด้วย) หลายคนที่ผมเคยเจอ คือเชื่อมั่นในตัวลูก ไม่แทรกแซงลูกมาก....ขยันเพื่อลูกอย่างเดียว.

ผมว่า ผมเองต่างหาก จะต้องเรียนรู้จากแม่บ้านท่านนี้...

......

เป็นไปได้ไหม ถ้าเราสืบค้น อาจเจอร่องรอยอะไรบางอย่าง ที่จะมีส่วนทำให้เราค้นพบวิธีการสนับสนุนเด็กด้วยวิธีที่ประหยัดแต่ได้ผลกว่า...ดีกว่าการพาเด็กไปทิ้งตามโรงเรียนพิเศษ....

 

.....

เราน่าไปถามชาวบ้านให้มากๆ โดยเฉพะชาวบ้านที่การศึกษาไม่สูง เงินเดือนไม่มากมาย ไม่ได้สอนลูก อัดลูกด้วยความกลัวว่าลูกจะไม่ทันใคร...แต่ลูกกลับออกมาดี มีการศึกษา..

ผมตอนี้เจอคนเก่ง นิสัยดีๆ ผมจะอดถามไม่ได้ว่า "เด็กๆ ตอนเย็นทำอะไรกันบ้าง พ่อแม่สอนอะไร"

เจออะไรดีๆเยอะครับ...เช่นพวกเซียนฟิสิกส์ ที่หนึ่งแพททย์ อ่านกำลังภายในครับ...หมอไม่ไส่แว่นท่านหนึ่ง...เรียนหมอ 9 ปี เธออ่านนิยาย นิทานเด็ก จนโต...แล้วไม่ซีเรียสด้วย...

......

มีความลับซ่อนเร้นเราอยู่ครับ...เป็นความัลด้านการศึกษาที่ประหยัด คนจนคนรวยก็ทำได้...เท่าๆกัน...

...

ผมเชื่อว่าถ้าเราศึกษษเรื่องนี้ให้มากพอ ในระดับประเทศ เราอาจไม่ต้องลงทุนสร้างตึก ประกันคุณภาพกันวุ่นวายก็ได้ เราอาจลดต้นทุนการศึกษาได้นับแสนล้าน...

ลดความสูญเสีย...เพราะบางครั้งไอ้ที่แย่งกันเรียน แย่งกันเอ็นต์ ก็ได้ไปเรียนในคณะชั้นเลิศครับ...จริงๆด้วย..แต่กลับไปทำอาชีพอื่นๆ...ที่ไม่ตรงกับสายงาน..แล้วจะอัดลูกไปถึงไหนกัน..

......

หรือปาฏิหารณ์ การศึกษา อาจมาจากวิธีการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายที่สุด และถูกที่สุด...

......................

 แล้วคุณล่ะ คิดอย่างไร...

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 401247เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2010 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อาจารย์ขา

   หนูไม่เคยเคี่ยวเข็ญ หรือบังคับลูกว่าต้องได้เกรดเท่านั้นเท่านี้เลยค่ะ ให้เค๊าเป็นไปตามที่อยากจะเป็น เรียนไปตามที่อยากจะเรียน เคยขอลูกว่าให้เรียนต่ออีก จบรวดเดียวค่อยอกมาทำงาน เค๊าบอกว่า คราวนี้ขอขัดใจแม่นะ เพราะลูกไม่อยากเรียนแล้ว อยากทำงานมีรายได้เป็นของตัวเอง ก็เลยตามใจเค๊าค่ะ

เห็นห้องเรียนอาจารย์แล้วมีความสุขครับ เราส่งเสริมให้เด็กเรียนพิเศษมากเกินไปหรือเปล่า เด็กๆๆน่าจะมีเวลาแห่งชีวิตเรียนรู้เรื่องธรรมชาติสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวบ้างนะครับ เอามาฝากครับ

เด็กน้อย+ผู้ใหญ่หัวใจเด็ก

เรียนท่านอาจารย์ขจิต

ผมอยากเห็นอะไรอย่างที่ท่านอาจารย์ทำครับ แม้ในระดับป.โทก็ตาม

ขอบพระคุณที่เข้ามาให้ความเห็นครับ

ขอบคุณคุณยายที่แวะมาครับ...เจ้า Nooker ต้องประสบความสำเร็จในชีวิตแน่นอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท