ห้องเรียนกระบวนกร AI (ตอนที่ 251) ..".. AI กับ..ฝัน..ปลาแดกครองโลก... "


Appreciative Inquiry

ผมมักมีโอกาสไปเป็นกระบวนกรให้กับวงการวิชาการ...เช่นการระดมสมองในโครงการต่างๆ เช่นโครงการ Creative Economy...ในอีสานเราได้วัฒนธรรมห้ากลุ่มที่ มีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดด้วยความคิดสร้างสรรค์ได้แก่..ฮูปแต้ม ผ้าแพรวา ปลาร้า ผีตาโขน และข้าวหอมมะลิครับ..

......

มีวันหนึ่งมีโอกาสคุยกับคนในท้องถิ่น..เรื่องปลาร้า...เราคุยกันถึงประเด็นโอกาสธุรกิจ..มีคนหนึ่งเสนอแนวคิดว่าปลาร้าทาขนมปัง..ก็ได้..อาจส่งออกคล้ายๆกับกรณีของปลาแองโชวี่..(คือปลาแดกประเภทหนึ่งทำโดยคน Dutch)..

.....

ก็มีใครสักคนท้วงว่า...คนต่างชาติรับเรื่องกลิ่นไม่ได้...ยากนะ...

บรรยากาศออกมาแบบไม่ค่อยดี

......

 

เพราะเวลาเราพูดถึงปัญหา..ก็จะเจอปัญหาแบบไม่มีที่สิ้นสุดครับ...

ครับเนื่องจากผมใช้การถามแบบ Appreciative Inquiry บ่อยๆ เลยลองตั้งคำถามเชิงบวกดู 

 

....

ผมเลยโยนคำถามไปในที่ประชุมว่า...เอ๊ะ แล้วมีใครเคยได้ยินว่าคนต่างชาิติกินปลาร้าไหมครับ..เอาสักคนก็ได้...ที่สุดก็มีคนพูดครับว่า เคยมีญาติของเขาซื้อปลาร้ายี่ห้อครูแหววของกาฬสินธิ์ไปฝากเพื่อน เธอเป็นคนไทย ที่มีสามีเป็นคนญี่ปุ่น ปรากฏว่า..แฟนเธอเล่าว่า คนญี่ป่นติดใจยี่ีห้อนี้ครับ...ถึงขั้นเอามาทาขนมปังกินตอนเช้า...

...ถามต่อว่า...แล้วปลาร้ายี่ห้อนี้ต่างจากยี่ห้ออื่นตรงไหน..ได้เรื่องครับ...เขาเล่าว่า...เจ้านี้ทำออกมาจนคล้ายๆน้ำพริกเผา หอมสมุนไพรมากๆ..เป็นปล้าร้าบองที่หอมกลิ่นจริงๆ..

....................

...ได้เรื่องไหมครับ...นี่แหละ ในมุมมองของ Appreciative Inquiry ต่อให้เจอแค่ "คนเดียว" ก็ตาม นี่อาจเป็นร่องรอยสำคัญ ที่จะนำไปสู่การส่งปลาร้าไปตีตลาดโลก...ให้ปลาร้า ปลาแดกบ้านเรา "ครองโลก" ในที่สุดก็ได้...

.....

เห็นไหมครับ ถามเชิงบวกได้คำตอบมากกว่า...

ผมใช้เทคนิคนี้บ่อยๆ เวลาประชุมครับ..เพื่อค้นหาโอกาส..โอกาสแค่เพียงนิด รางๆในตอนแรก อาจกลายเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ก็ได้..ใครจะไปรู้...การค้นพบครั้งสำคัญๆของโลก เป็นการค้นพบสิ่งที่ใครๆ ก็"มองข้าม" หรือ "ไม่ทันสังเกต" ทั้งนั้นไม่ใช่หรือครับ..

...

คุณล่ะคิดอย่างไร...

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry#ปลาแดก
หมายเลขบันทึก: 400788เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2010 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

น่าสนใจมากถ้าคิดแนวบวก ผมมีเพื่อนชาวต่างประเทศ แต่ชอบปลาร้าอีสานมากครับ

น่าขยายผลมากๆนะครับ..ท่านอาจารย์

ผมเองอยู่ในระบบราชการ ส่วนใหญ่ก็จะถามตอบตามแบบแผน  ตามเอกสารที่ทางการกำหนด   เลยทำให้ไม่ค่อยได้พบ "นวัตกรรม" ทางการศึกษาครับ

    ตอนหลัง  หลังจากที่ศึกษา AI ของ อ.โย   ผมเลยใช้คำถาม AI ถามคุณครูเจาะลึกไปที่วิธีการที่ประสบผลสำเร็จ  ที่ "คิดเอง"  มีบ้างไหม  (ส่วนใหญ่ระบบราชการต้องทำงานตามกรอบที่กำหนดให้ ทั้งนฌยบายและวิธีการ)

    ผลปรากฏว่า มีวิธีการดีๆ ที่ครูคิดเอง แล้ว ประสบผลสำเร็จ มีครับ  แต่มักจะไม่ได้นำเสนอ  เพราะผู้บริหารเห็นว่าไม่ใช่ประเด็นสำคัญ   และ  คุณครูก็ไม่รู้ตัวเองว่าเป็น "นวัตกรรม" ที่สำเร็จ ที่มาจากตัวเอง

      ปลาแดกครองโลก   ผมมองมายัง    นวัตกรรมเล็กๆของครู  ครอง   กระทรวงศึกษาธิการ

   

อาจารย์ขาIco64

  • โชคดีมากที่หนูเปิดมาเจอก่อนเข้าประชุม เพราะบ่ายนี้หนูมีประชุมกับอบต.เรื่องงบประมาณปี 54 ค่ะ รับรองว่าได้ใช้วิชา AI ของอาจารย์แน่ค่ะ
  • ขอบคุณมากค่ะที่แบ่งปัน

เรียนท่านอาจารย์ Small Man ครับ ผมพึ่งไปเชียงใหม่ครับ ไปสอนคุณครูจาก Monfort College ครับ เราทำ AI กันได้เรื่องราวน่าทึ่งมากๆครับ...คุณครูท่านมีดีของท่าน จนน่าทึ่งครับ..ผมจะค่อยเขียนเล่ามานะครับ

ตอบคุณยายครับ..ลองทำดูได้ผลอะไรมาเล่าสู่กันฟังนะครับ

น่าสนใจนะคะ เพราะเห็นต่างชาติชอบส้มตำปูปลาร้าก็ไม่น้อย :)

ลองถามต่อนะครับ เขาชอบเจ้าไหน แบบไหน เป็นคนชาติไหน จุดเปลี่ยนคืออะไร นี่คือการซักแบบ AI ครับ

สวัสดีค่ะ

ปลาไทยจะครองโลกแล้ว

อากาศเปลี่ยนแปลง รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท