สาระสำคัญของการลูกเสือ


ถอดเอาแต่ใจความสำคัญจากหนังสือ Elements for a Scout Programme ของสำนักงานลูกเสือโลกฝ่ายฝึกอบรม ฉบับ ปี 1985 โดยนายกอง วิสุทธารมณ์....อาสาสมัคร ในกิจการลูกเสือ...มิใช่ขบวนการทางการเมือง .... กิจการลูกเสือเป็นกิจการทางการศึกษา...UNESCO จำแนกการศึกษาออกเป็น 3 ประเภท กิจการลูกเสือเป็นขบวนการของเยาวชน มีผู้ใหญ่คอยให้การช่วยเหลือ

สาระสำคัญของการลูกเสือ

ปัจจัยขั้นมูลฐาน  (Fundamentals)

 ถอดเอาแต่ใจความสำคัญจากหนังสือ     Elements  for  a  Scout  Programme  ของสำนักงานลูกเสือโลกฝ่ายฝึกอบรม ฉบับ ปี  1985  โดยนายกอง  วิสุทธารมณ์  ผู้ตรวจการลูกเสือฝ่ายฝึกอบรม

คำว่า   “ปัจจัยขั้นมูลฐาน”  ที่ใช้ในกิจการลูกเสือ  หมายถึงข้อความที่ก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในขบวนการลูกเสือ  ซึ่งได้แก่

  1)  จุดมุ่งประสงค์            (Purpose)

  2)   หลักการ                      (Principles)

  3)   วิธีการ                         (Method)

ปัจจัยขั้นมูลฐาน  เป็นจุดร่วมอันสำคัญ  ผูกพันคณะลูกเสือแห่งชาติทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน    มิใช่ขบวนการทางการเมือง (Voluntary  and  non  - political)  รับเยาวชนเข้าเป็นสมาชิก   โดยไม่คำนึงถึง    ความแตกต่างในเรื่องกำหนด เชื้อชาติ  ศาสนา

เป็นไปตามจุดประสงค์  หลักการ  และวิธีการ  ซึ่งผู้ให้กำเนินลูกเสือโลกได้คิดขึ้นไว้

คำว่า อาสาสมัคร  ในกิจการลูกเสือ ย้ำถึงความจริงที่ว่าการเข้าเป็นสมาชิกในขบวนการนั้น   เป็นไปด้วยจิตใจของตนที่เป็นอิสระ  เสรีโดยแท้จริง  เพราะสมาชิกทุกคนต้องยอมรับนับถือปัจจัยขั้นมูลฐานขบวนการลูกเสือด้วย  ทั้งนี้หมายถึงเยาว์ชน และผู้ใหญ่ในขบวนการด้วย

คำว่า มิใช่ขบวนการทางการเมือง  ในความหมายที่ว่า  ขบวนการลูกเสือนี้มิได้เกี่ยวกับการต่อสู้กัน  เพื่อแสวงหาอำนาจ  ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการเมือง  อันแสดงออกในระบบพรรคการเมือง

ที่กล่าวเช่นนี้   มิได้หมายความว่า  กิจการลูกเสือนั้นจะแยกห่างจากความเป็นไปทางการเมืองของประเทศโดยเด็ดขาด 

ในประการแรกขบวนการนี้มีจุดมุ่งหมายจะพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองดี  มีความรับผิดชอบ  การศึกษาเกี่ยวกับวิชาหน้าที่พลเมืองนั้นจะบรรลุผลสำเร็จมิได้หากมิได้ซาบซึ้งถึงความเป็นไปทางการเมืองของประเทศตน

ประการที่สอง   สมาชิกของขบวนการ ต้องไปทำตามที่กฎหมายของบ้านเมืองกำหนดไว้

กิจการลูกเสือเป็นกิจการทางการศึกษา

                                นี่เป็นลักษณะสำคัญของกิจการลูกเสือ 

การศึกษา      เป็นขบวนการที่มุ่งพัฒนาสมรรถภาพของบุคคล  การศึกษาแยกพัฒนาได้ 3 ประการ

 1.   พัฒนาทางสมอง        Mind    คือ  การเรียนเพื่อรู้             (Toknow)

 2.   พัฒนาร่างกาย           Physical

 3.   พัฒนาทางเจตคติ     ความรู้สึก              (Attitude)

บี.พี.  กล่าวว่า   การให้การศึกษาไม่ใช่การสอน  แต่เป็นการชักจูงให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความต้องการของตน  สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างความประพฤติ และลักษณะนิสัยให้แก่เยาวชน

 UNESCO   จำแนกการศึกษาออกเป็น  3  ประเภท

การศึกษาในระบบโรงเรียนมีประถมศึกษาไปถึงอุดมศึกษา

เป็นการศึกษาตลอดชีวิตซึ่งบุคคลอาจได้รับเจตคติ  ค่านิยม  ทักษะ  และความรู้จากประสบการณ์ประจำวันและสิ่งแวดล้อม

การศึกษานอกแบบ    (Non  Fornal  Education)   เป็นการศึกษาจัดขึ้นนอกระบบการศึกษาตามแบบ  มุ่งหวังจะให้การการเรียนรู้แก่ผู้เรียน  ตามวัตถุประสงค์ของการเรียน

กิจการลูกเสือ  เป็นการให้การศึกษาแบบที่ 3  นี้  แม้ว่าจะเป็นการศึกษานอกแบบก็ตามทีแต่เป็นสถาบันที่มีการจัดรูปงาน   มีจุดหมายของการศึกษาครบถ้วน  และได้รับรองจากประชาชนด้วย

กิจการลูกเสือเป็นขบวนการของเยาวชน   มีผู้ใหญ่คอยให้การช่วยเหลือ  เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของกิจการลูกเสือ

คำสำคัญ (Tags): #scouting for boys
หมายเลขบันทึก: 400535เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2010 08:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:34 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

มาอ่านแล้ว ได้ความรู้เยอะเลย ขอบคุณมากค่ะ 

 

สวัสดีครับ

  • ที่ลำปางกำลังจัมีการอบรม A.L.T.C ครับ
  • 4-10 ตุลาคม 2553 ณ ค่ายลูกเสือชั่วคราวศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการราชทัณฑ์ภาคเหนือลำปาง
  • บ่ายโมงนี้ต้องไปประชุมวิทยากร

ขอบคุณท่าน ผศ.ประหยัด 

ช่วยกันสร้าง  ผู้นำที่ดีมีคุณภาพกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท