R2R : เล่าเรื่องงาน.."พี่วิ"


การปรับเปลี่ยนแม้เพียงน้อยนิดที่เริ่มมองเห็น ก็น่าจะเป็นนิมิตรหมายที่ดีแห่งการก้าวเดินบนเส้นทางการพัฒนาได้

       ไหนๆก็ไหนๆ ได้เข้ามาบันทึกและมีเวลาพอที่จะบันทึก สิ่งที่มีอยู่ค้างคาในจิตใจ ความกังวลที่เกิดจากการเรียนรู้ในการทำ R2R ใน รพ.ยโสธร จากบันทึกครั้งก่อนได้พูดถึง "ความท้อแท้ใจของคนทำงาน" แต่พอมาถึง ณ ตอนนี้ แม้บางกลุ่มจะไปได้เร็ว และบางกลุ่มไปได้ช้า หากแต่สิ่งสำคัญ คือ การยังคงอยู่ในงานที่เราทำ

       มาถึง ณ วันนี้ ความกังวลในส่วนตัวของดิฉันเองนั้น หากเมื่อสำรวจตนแล้วไม่น่าจะมีมาก เพราะสิ่งที่เราทำนั้นก็ยังคงเป็นสิ่งที่ทำในชีวิตประจำวันการทำงาน  ดังเช่นเรื่องเล่าของพี่วิ (คุณวิภาดา-กลุ่มสูติ-เด็ก) ที่มีความพยายามที่จะพัฒนางานของตนเองอย่างยิ่งยวด ก่อนที่จะมี R2R ด้วยซ้ำ การทำงานในคลินิกฝากครรภ์ของพี่วิ ไม่ได้ทำเพียงแค่ตามหลักการเท่านั้น หากแต่พี่วิจะพยายามกระตุ้นให้คนในกลุ่มงาน พัฒนางาน และเน้นการให้ความสำคัญในการดูแลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

       จะเห็นได้ว่าเราคนจิตเวชก็ได้เข้าไปร่วมแจมในงานของพี่วิด้วย นั่นคือ การส่งเสริมงานสุขภาพจิตในหญิงตั้งครรภ์ เพราะพี่วิมองเห็นว่าแม้แม่จะผ่านการตั้งครรภ์มาหลายครั้ง หากแต่สภาพอารมณ์และความรู้สึกของแม่นั้นจะยังคงมีอยู่ และอาจมีแนวโน้มที่เป็นไปในเชิงลบได้ หากไม่ป้องกันเสียก่อน หรือในหญิงตั้งครรภ์ในท้องแรกยิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความรู้ เพราะสิ่งที่มีเพิ่มมากขึ้นนั้น คือ ความรู้สึกกังวล หวาดกลัว...หลากหลายอารมณ์ความรู้สึก

       จากเหตุปัจจัยต่างๆ เหล่านี้นี่เอง ตลอดรวมถึงอุบัติการที่เกิดขึ้นในงาน พี่วิจึงมองเห็นว่า หากจะดำเนินงานไปตามเพียงแค่เกณฑ์ชี้วัดอย่างเดียวคงไม่พอ เราผู้ให้บริการจะต้องใส่ใจในการทำงานที่ผ่านไปในแต่ละวันด้วย ปัญหา อุปสรรค หรือรูปแบบ กระบวนการต่างๆตลอดจนผลลัพธ์ในงานแต่ละวันนั้น พี่วิไม่เคยละทิ้งแต่จะนำมาคิด วิเคราะห์ในงานของตนเพื่อที่จะปรับปรุง และจากการที่เคยร่วมงานกันมานั้น สิ่งหนึ่งที่เห็นคือ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในงานในแต่ละวันพี่วิจะไม่ปล่อยทิ้งไว้นาน และบางครั้งอาจทำให้ใครบางคนไม่พอใจแต่ พี่วิก็ไม่ท้อและล้มเลิกความตั้งใจของตน

       ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเชิงรูปธรรมที่มองเห็น คือ ห้องให้บริการที่เมื่อก่อนจะเป็นโต๊ะ-เก้าอี้ที่ใช้ตรวจ ซักประวัติ คนไข้ เปลี่ยนโฉมใหม่เป็นห้องบริการที่มีความรู้สึกอบอุ่นมาก และเป็นกันเอง เหมาะกับการนั่งพูดคุยเล่าเรื่องการตั้งครรภ์แบบแลกเปลี่ยนเล่าสู่กันฟังมากขึ้น ความเป็นกันเองระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการก็มีมากขึ้น การปรับเปลี่ยนแม้เพียงน้อยนิดที่เริ่มมองเห็น ก็น่าจะเป็นนิมิตรหมายที่ดีแห่งการก้าวเดินบนเส้นทางการพัฒนาได้

 

หมายเลขบันทึก: 40050เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2006 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 06:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับ

ดร.Ka-poom 

ผมติดตามอ่าน R2R มาจนหมดถึงบันทึกอันนี้แล้ว อยากทราบว่า ที่โรงพยาบาลร้อยเอ็ดทำ R2R กันเฉพาะส่วน หรือว่าทั้งโรงพยาบาลครับ

กิจกรรม R2R ของโรงพยาบาลน่าสนใจทีเดียวครับ

เท่าที่ติดตามอ่าน ผมเห็นการพัฒนา ของผู้ปฏิบัติ, คุณอำนวยเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ และสิ่งที่ผมสนใจอีกก็คือ ที่โรงพยาบาลน่าจะมีเรื่องราวของการจัดการความรู้อยู่มากทีเดียว

เนื่องจากผมเคยติดตามอ่านข่าวเกี่ยวกับรางวัลข้อมูลบัตรทอง คุณภาพยอดเยี่ยม ปี 2548 ที่โรงพยาบาลร้อยเอ็ดได้(Electronic Claim Award) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

และเห็นกลุ่มพยาบาลให้การรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย ด้วยการให้ผู้ป่วยแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพกันเองด้วย

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายๆ ส่วนของโรงพยาบาล ที่ให้การดูแลผู้ป่วยแบบมีส่วนร่วม (แต่ผมจำหน่วยไม่ได้)ซึ่งน่าจะมีเรื่องราวของการจัดการความรู้แฝงฝังอยู่ในกระบวนการขั้นตอนของความสำเร็จทั้งสิ้น

ซึ่งผมติดตามดูจากช่อง7 ที่จะเอาเรื่องของ สปสช. มาออกอยู่บ่อยๆ และหนึ่งในนั้นก็มีกิจกรรมดีๆของโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ที่เกี่ยวกับ สปสช.อยู่ด้วย

ผมสนใจอยากลงพื้นที่ไปที่โรงพยาบาล เพื่อจับภาพกิจกรรมจัดการความรู้ของโรงพยาบาลในแต่ละหน่วยมากครับ

จึงอยากปรึกษา ดร.Ka-poom ในเบื้องต้นก่อนว่ามีกิจกรรม ลปรร. อะไรที่จะทำในโรงพยาบาลในเร็วๆนี้หรือไม่ครับ อยากเข้าไปเรียนรู้ด้วย เพื่อจับภาพKM ครับ

 

                                       ขอบคุณครับ

                                        แขก_สคส.

 

      

เรียน "คุณแขก"..

ปุ๋มอยู่โรงพยาบาลยโสธรคะ....

ไม่แน่ใจ..ว่าคุณแขกต้องการไปที่

โรงพยาบาลร้อยเอ็ด..หรือเปล่าคะ?

เรียน"คุณแขก" อีกครั้งคะ

หากเป็น R2R ในส่วน รพ.ยโสธรนั้น ตอนนี้เราทำในภาพรวมของโรงพยาบาล หากแต่ยังไม่ครบทุกส่วน ตอนนี้เราเน้นเฉพาะในส่วนงานบริการ สำหรับฝ่ายสนับสนุนคาดว่าเราจะขยายผลต่อไปอีก และล่าสุดโรงพยาบาลเราเพิ่งได้รับการรับรองผ่านคุณภาพเป็นโรงพยาบาลที่ให้การบำบัดรักษายาเสพติด(HA ยาเสพติด) ส่วนข้อมูลอื่นๆ ที่ท่านให้ คห. มานั้น ไม่แน่ใจว่าเป็นข้อมูลของ รพ.ร้อยเอ็ดหรือเปล่าคะ

เรียนคุณปุ๋ม

ผมต้องขออภัยครับ พอดีว่าผมเคยอ่านข้อมูลของโรงพยาบาลร้อยเอ็ดมาบ้างแล้ว และก็กำลังมองเชื่อมโยงว่าคุณปุ๋มก็อยู่โรงพยาบาลร้อยเอ็ด และจดๆจ้องๆว่าจะคุยกับคุณปุ๋มนานแล้ว ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดมาตลอดครับ

ต้องขออภัยอย่างยิ่ง แต่ยังงัยผมก็ยังสนใจ R2R ของโรงพยาบาลยโสธรอยู่ดีครับ อยากรู้ว่าผลสำฤทธิ์จะเป็นอย่างไร เห็นว่า ผอ.โรงพยาบาลเอาด้วย น่าสนใจมากครับ

เรียน "คุณแขก"

จะมีกิจกรรมรวมพลคน R2R รพ.ยโสธรอีกครั้ง

เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากครั้งแรก...

แต่เรายังไม่ได้กำหนดวัน-เวลาที่แน่นอน

หากได้วันไหน หรืออย่างไร

ดิฉันจะแจ้งและขอเรียนเชิญนะคะ...

Ka-Poom

ขอบคุณมากครับ และจะติดตามอย่างใกล้ชิดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท