สรุปสาระจากการประชุมทักษะคุณอำนวยเครือข่าย R2R ภาคตะวันออก (3)


การประชุมเครือข่ายทักษะคุณอำนวยเครือข่าย R2R ภาคตะวันออก ครั้งที่ 1/2553 วันที่ 28-29 กันยายน 2553 ณ ห้องประชุมลีลาวดี๑ อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

ต่อไปนี้เป็นการสรุปเนื้อหาการประชุมวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ ในช่วงภาคเช้า ผลงานจาก note taker ของเครือข่าย

วันที่ 29 กันยายน 2553 เริ่มต้นเช้าวันใหม่ด้วยการอภิรายในประเด็นการแลกเปลี่ยนเคล็ดลับคุณอำนวย ฟันเฟืองสำหรับการขับเคลื่อนงานวิจัย R2R

ในช่วงแรก ผู้ร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นการประเมินขนาดของปัญหา การนำข้อมูลจากงานประจำมาทำวิจัยโดยมีผู้ร่วมสนทนาได้แก่ อาจารย์ทนง  ประสานพานิช (รพ.พระปกเกล้า จันทบุรี)พูดคุยในเรื่องการใช้ control chart ในการทำงาน และคุณเจริญพิศ รัตนาธรรม มาเล่าถึงประสบการณ์การใช้ Control chart มาใช้ในการทำงานวิจัย และประสบการณ์การทำงานวิจัยคุณภาพของรพ.ตราด จากคุณนงนุชและคุณประวีณา คงสิน ดำเนินรายการโดยคุณสายทิพย์  อานโพธิ์ทอง (รพ.สมเด็จฯ)

นพ.ทนง  ประสานพานิช (รพ.พระปกเกล้า จันทบุรี) นำเสนอข้อมูลจากงานประจำมาวิเคราะห์ด้วย Control Chart เล่าถึงที่มาของการใช้ ที่พระปกเกล้า ตั้งแต่เมื่อ 12 ปีที่แล้ว เมื่อระบบการประกันคุณภาพเข้ามาในระบบสุขภาพ แต่ยังไม่มีผู้สนใจมาก แต่มาสอดคล้องกับอาจารย์เชิดชัยนำมาใช้ใน Lean ในการทำ R2R จึงเริ่มมีความสนใจมากขึ้น

การใช้ Control chart จะวัด Input and outcome indicator โดยวัดจากข้อมูลเชิงปริมาณหรือคุณภาพ วิเคราะห์จาก Control Chart โดยการยกตัวอย่าง การตั้งศูนย์ของ BB gun ที่เปรียบเสมือนการมีข้อมูลอยู่จำนวนมากแล้วเรามาตั้งเป้าหมาย หาข้อมูลที่เบี่ยงเบน จากเป้าที่ตั้งไว้ โดยมีรูปแบบของการยึดเป็นศูนย์ ได้แก่ การยึดปืน ยึดเป้า หรือยึดรอยกระสูน เป็นศูนย์ ของ Deming funnel experiment 

ข้อมูลจากงานประจำ สามารถนำมาให้เกิดได้โดย

  1. จะวัดอะไร (What to measure)

-                   Input indicator

-                   Outcome process

  1. วัดอย่างไร (How to measure)
  2. วิเคราะห์อย่างไร (How to analyze) ใช้ control chart

ถ้าเรามาแก้ไขปัญหาโดยการดูเพียงข้อมูล ไม่มีการวิเคราะห์อาจทำให้มีการตำหนิผิดคน การหาซื้อเครื่องมือที่ไม่จำเป็น เสียเวลา หรือเกิดการแก้ไขในสิ่งที่ไม่ควรทำ

การแก้ไขปัญหาจากการวิเคราะห์อาจเกิดจาก คน ระบบ เวลาและการทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ

 

ความผันแปรเกิดขึ้นได้จากหลายสิ่ง เช่น คน อุปกรณ์ วิธีการ แบ่งเป็น 2 ประเภท

  1. Common causesสาเหตุที่เป็นปกติวิสัย  เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
  2. Special causes เป็นสาเหตุที่ผิดปกติ เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวอยู่นอกเหนือการควบคุม

                ยกตัวอย่างการบันทึกเวลาเดินทางมาทำงานทุกวันว่ามาตรงตามเวลาเดิมหรือไม่การที่มีสิ่งเกิดขึ้น Stable and unstable process ต้องรีบแก้ไขการปรับปรุงที่พื้นฐานของระบบ แต่จะทราบว่าอันไหนเป็น Special cause จึงต้องใช้ Control chart มาช่วย ซึ่งประโยชน์ของ Control chart คือควบคุมคุณภาพ และเพื่อการพัฒนา กำหนดมาตรฐาน โดยมีวิธีการใช้ 8 วิธี แต่ทางการแพทย์มี 3 วิธี มีกระบวนการในการทำดังนี้

-                   การเลือกสิ่งที่วัด เลือกกระบวนการที่มีความเสี่ยงสูง ค่าใช้จ่ายมาก เป็นภาระงานหนัก และสามารถนำมาปรับปรุงพัฒนางานได้

-                   การเก็บตัวอย่าง เลือกจากตัวอย่างที่มีจำนวนและความถี่มาก

-                   Record

-                   Analysis

                อาจารย์แลกเปลี่ยนและชี้ให้เห็นถึงความเป็นมาของการใช้ Control chart ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1920 เริ่มใช้ในการผลิตอุตสาหกรรม และเริ่มมีการนำมาใช้ในกระบวนการให้บริการ และประโยชน์ของ control chart คือ การใช้เพื่อควบคุมคุณภาพ (quality control) การพัฒนา (Process improvement) เพื่อหาสาเหตุ และประเมินผลลัพธ์ การกำหนดมาตรฐานของกระบวนการ (understanding) และการติดตาม (monitoring) ช่วยให้กระบวนการบรรลุเป้าหมายได้

ชนิดของ Control chart ขึ้นอยู่กับประเภทของข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลได้จากการนับและข้อมูลข้อบกพร่องหรือเหตุการณ์ไม่พึ่งประสงค์ เก็บข้อมูลจาก Defect คิดในรูปสัดส่วนตัวหารใช้จำนวนวันนอนใช้ bar char, U chart, P chart, G chartในเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (เกิดขึ้นนานๆครั้ง)

การเลือกใช้ Ccontrol chart ขึ้นอยู่กับ ประเภทของข้อมูลที่เก็บ โดยแบบข้อมูลออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • attribute data (count or discreet data) ใช้ p-Chart,U-chart, C-chart, G-Chart ได้แก่ ข้อมูลได้จากการนับจำนวน เช่น จำนวนผู้ป่วย จำนวนภาวะแทรกซ้อน จำนวนการติดเชื้อ การนับข้อบกพร่องหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการ แบ่งได้เป็น 2 แบบ Defectives และ Defects
  • variables data (measurement or continuous data) ใช้ I or XmR chart,X-bar and S-Chart ได้แก่ข้อมูลที่สามารถวัดและแทนด้วยตัวเลขต่อเนื่อง เช่น ระยะเวลารอคอย (Wait times) ระยะเวลาในการให้บริการ (Turnaround time for a service) เช่น การรายงานผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ค่าที่ได้จากการวัด เช่น BP, อายุ, น้ำหนักระยะเวลาในการทำหัตถการ (duration of a procedure) ภาระงาน

มีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้ Control chart ในการทำวิจัย ได้แก่ คุณเจริญพิศ จากศูนย์หัวใจที่สนใจทำในเรื่อง Special Fast Track Interventionโดยระบบช่องทางพิเศษจากการ Refer ของ รพ. ตราด เริ่มแรกใช้ร้อยละ และค่าเฉลี่ยของระยะเวลารอคอย ซึ่งค่าที่ได้เป็นที่พึงพอใจได้นำข้อมูลมาปรึกษากับคุณอำนวย(อ.ทนง และพี่ปรีดาวรรรณ) ให้คำแนะนำว่าข้อมูลก่อน-หลังเริ่มระบบ การใส่ intervention และมีคุณอำนวย (พี่เกล็ดดาว)ได้นำข้อมูลใส่ Control chart จึงพบระยะเวลารอคอยที่เกิน upper limit จึงได้เห็น special cause เกิดขึ้น ซึ่งสรุปได้ว่า คุณอำนวยมีส่วนสำคัญในการให้กำลังใจ และช่วยเหลือผู้ทำวิจัยถึงแม้จะมีการแก้ไขงานหลาย ๆ ครั้ง อาจารย์หทัยทิพย์ ร่วมแลกเปลี่ยนการนำ control chart เป็นงานเชิงปริมาณมาใช้เพื่อการควบคุณคุณภาพ รพ. ส่วนใหญ่ไม่ชอบในเรื่องของสถิติ ขอชื่นชม Far ของ รพ.พระปกเกล้า ที่มีความพยายามทำให้ผู้วิจัยสามารถเข้าใจในการนำสถิติมาใช้ไม่เกิดความย่อท้อ ซึ่งถือว่าไม่ใช่เรื่องง่ายและยากเกินไปที่จะทำ

                หลังจากนั้นเรามาดูการทำงานวิจัยเชิงคุณภาพจาก รพ.ตราดจากคุณนงนุช (พี่ก้อย)มาแลกเปลี่ยนเรื่อง ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก รพ.ตราด เป็น รพ. 300 เตียง ผ่าน HA ยังไม่มีงานวิจัยแต่หลังจากผ่าน Re-accredit จึงมีความปรารถนาที่จะทำงานวิจัยตามคำแนะนำของ อาจารย์โกมาตรโดยเริ่มจากการมองประเด็นปัญหาแต่พี่ก้อยบอกว่าการทำของพี่ในช่วงแรกเป็นไปอย่างมูมมาม ไม่ได้เป็นไปในแบบเดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำให้เกิดปัญหามากมายจึงกลับมาคิดตามบริบทของ รพ. จึงเลือกขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เจาะจลขึ้นเหลือเป็นมะเร็งปากมดลูกถึงแม้จากสถิติจำนวนผู้ป่วยจะน้อยกว่า แต่คิดว่าผลกระทบมีมากกว่าโดยการทำวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือก็คือตัวผู้เก็บข้อมูลโดยใช้หัวใจของความเป็นมนุษย์ นึกถึงความเป็นบุคคลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ออกมาจากใจซึ่งต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นพยาบาลมาเป็นเพื่อนหรือญาติของผู้ให้ข้อมูล และอีกเรื่องหนึ่งเป็นของคุณปวีณา ที่สนใจงานเชิงคุณภาพ ในกรณีศึกษาการดูแลผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง หอผู้ป่วยใน แต่จริงๆ แล้วจบปริญญาโทด้านการพยาบาลผู้สูงอายุ พบว่าการดูแลหอผู้ป่วยใน และความสุข ความพึงพอใจของผู้ให้บริการเป็นประเด็นสำคัญ ถ้าผู้ให้บริการมีความสุขก็จะเกิดการพัฒนาระบบ โดยใช้การสัมภาษณ์ซึ่งต้องมีการสร้างสัมพันธภาพและหาเวลาและโอกาสในสัมภาษณ์ประเด็นที่สำคัญต้องการคนอึดมากกว่าคนเก่งในการทำวิจัย และต้องมีการพูดคุยกับผู้บริหารก่อนการทำ และฝากไว้ว่า “ไม่ต้องการคนเก่ง อึดเท่านั้นที่จะทำได้” และอาจารย์กระปุ๋ม ร่วมแลกเปลี่ยน “งานวิจัยไม่ว่าเชิงปริมาณหรือคุณภาพสิ่งสำคัญอยู่ที่คุณค่า  ถึงแม้ว่าจะยากแต่เป็น “ความยากที่ท้าทาย” เสน่ห์ของเชิงปริมาณหรือคุณภาพ (ถือเป็นยานพาหนะ)อยู่ที่การเข้าถึงข้อมูล เพื่อไปสู่การหาคำตอบจากงานประจำ”

ประเด็นการอภิปรายต่อไปเป็นการเก็บข้อมูล การติดตาม การให้กำลังใจ เทคนิคการแก้ไขความท้อแท้ มีผู้ร่วมสนทนาได้แก่ พญ.หทัยทิพย์ ธรรมวิริยะกุล  จากรพ. หาดใหญ่, คุณวิจิตรา นวลรัตน์สกุลจากสสจ.ชลบุรี, ทพ.วสันต์ สายเสวีกุล จากรพ.พานทอง และนพ.ไพโรจน์  บุญลักษณ์ศิริ เป็นผู้ดำเนินรายการ

คุณวิจิตรา  นวลรัตน์สกุล (สสจ.ชลบุรี) ร่วมแลกเปลี่ยน การบริหารจัดการของเครือข่าย R2R ภาคตะวันออก การก้าวข้ามปัญหาและอุปสรรคในการผลักดันให้เกิดงานวิจัยที่หลายๆคนมองว่าเป็นยาขม โดยใช้เทคนิคแรกคือ แก้ที่ตัวเราโดยเริ่มที่ความคิดก่อนว่าต้องทำได้ ซึ่งถือว่าโชคดีที่ปัจจุบันมี Internetให้ค้นหาข้อมูล จึงพบความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข, ศิริราชและสปสช. เรื่อง การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย ของอาจารย์โกมาตร (สวรส.) เพื่อพัฒนาคนและงาน ศึกษาข้อมูลจากตำราจึงได้ติดต่อสวรส. และเข้าร่วมอบรมกับสวรส. อาจารย์โกมาตร พูดถึง สปก. (สุข ) อาจารย์สมศักดิ์พูดถึง 6 ช. (เชียร์ ชี้ ช่วย ชม เชื่อม)โดยได้ทำหน้าที่เป็นResearch manager และสนับสนุนงานวิจัย ของสสจ.ชลบุรี และจัดอบรมพัฒนาทักษะคุณอำนวนร่วมกับ สวรส. หลังจากนั้นได้เข้าร่วมเครือข่ายภาคตะวันออก สิ่งที่ทำให้ประสบผลสำเร็จคือ พยายามปรึกษา ให้ข้อมูลผู้บริหาร และรายงานผลงาน ที่สำคัญคือ การให้รางวัลและให้กำลังใจกับทีมงานโดยจัดให้นำเสนอผลงานและมอบวุฒิบัตรให้

                การทำงานได้นำแนวคิด Basic needs ของมาสโลว์มาใช้ และหลักธรรมมาใช้เมื่อเกิดปัญหาอุปสรรค นึกถึงความสุขที่ได้จากการทำงาน การก้าวข้ามอุปสรรคโดย การให้เกียรติ ยึดศักยภาพของบุคคลเป็นหลัก สนุกกับการทำงาน ผลที่ได้จากการทำ R2R คือ ได้เพื่อน ได้เรียนรู้ และได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

                “การเริ่มต้นไม่เหมือนภาคอื่นคือ ใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเหมาะสม โดยเริ่มจากให้กำลังใจตัวเองก่อน การท้อแท้เกิดได้แต่ทำให้หายไปอย่างรวดเร็ว และสสจ.สามารถรวบรวมกำลังคนได้มาก”

                ดร.นิภาพร  ลครวงศ์ (รพ.ยโสธร) ร่วมแลกเปลี่ยนเรื่อง การให้กำลังใจ เทคนิคแก้ไขความท้อแท้ กล่าวถึง อ.สุนทร พูดว่า “R2R ดั่งเหมือปารามนูที่แตกตัวไป” การทำวิจัยเริ่มจากแนวคิดทำยังไงถึงจะให้ผู้วิจัยอย่างมีความสุข การทำวิจัยจะเข้าใจต่อเมื่อลงมือทำคือ เรียนรู้จากการปฏิบัตินำผู้วิจัยที่ผิดหวังจากการวิจัยมารวมตัวกัน ได้ปัญหาจากการทำงานมาค้นหาสาเหตุ (คันตรงไหนก็เกาตรงนั้น) และสอบถามจากผู้อื่นว่าเจอปัญหาเหมือนกัน (Review literature) ตั้งคำถามการวิจัย นำมาออกแบบการวิจัย (วิธีการเกาคือ วิธีการทำวิจัย) และได้ศึกษา รพ.ที่ผ่าน HA พบว่า เกิดจากคนทำงานไม่ใช่เกิดจากผู้บริหาร จึงมาแบ่งคนเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกคือมีใจ กลุ่มสองคือ มีบ้างไม่มีบ้าง กลุ่มสามคือ แค่สนใจ กลุ่มสี่คือ ไม่สนใจและท้อแท้ ดังนั้นควรเริ่มกลุ่มที่มีใจก่อนเป็นผู้ทำ และนำกลุ่มที่ไม่สนใจและท้อแท้ซึ่งจบปริญญาโทมาเป็นที่ปรึกษา ถือว่าเป็นกุศโลบาย ถึงแม้ผู้บริหารจะไม่เห็นด้วยก็ตามก็ค่อยๆ ทำไปเพราะเป้าหมายของเราคือ การพัฒนาคนเพื่อพัฒนางาน

               คนเราต้องเรียนรู้ทุกข์ก่อนถึงจะรู้ว่าสุขเป็นยังไง ปัญหาและอุปสรรคก็จะถือเป็นโอกาสในการพัฒนาปัญญา เมื่อเกิดความท้อแท้ให้หยุดพักและหายใจเข้าออกลึก ๆ อย่าไปคิดถึงถือว่าเป็นรายละเอียดระหว่างทางของการเรียนรู้จะเกิดคุณค่าของการดำเนินชีวิต

                “ถ้าจะเป็น Far ต้องเรียนรู้จากการปฏิบัติ ทำไปด้วยเรียนรู้ไปด้วย และต้องหายใจไปด้วยให้กำลังใจตนเองขอให้ตัวเองเป็นสุข เหมือนท้อเป็นถ่าน (คาร์บอน) ผ่านไปสุดท้ายเป็นเพชร”

พญ.หทัยทิพย์  ธรรมวิริยะกุล (รพ.หาดใหญ่) ร่วมแลกเปลี่ยนเรื่อง ปัญหาอุปสรรค ความหลากหลายของปัญหางานวิจัยที่พบบ่อย จบด้าน Statitic จากอังกฤษ และได้ไปประชุมที่ศิริราช โดยได้รับการชักจากอาจารย์ไพโรจน์ให้รู้จัก R2R เริ่มแรกการเป็นคุณอำนวยของรพ.หาดใหญ่ โดยการจัด work shop ตั้งคำถามการวิจัย วางแผนการวิจัยโดยใช้กระบวนการสอบถามกันเอง เชิญหน่วยงานภายนอกมาสอน ดังนั้นจึงเปิด clinic งานวิจัยขึ้นให้คำปรึกษาผู้ทำวิจัยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เริ่มจากนำคำถามการวิจัยมาคุยกัน ขั้นที่สองคุยเรื่องความก้าวหน้าของงาน ครั้งต่อไปจึงคุยเรื่องที่ยากขึ้นได้แก่ สถิติ และต้องมีการติดตามผู้ที่มาปรึกษา โดยเลขาฯ จะเป็นผู้ติดตามและทำการนัดหมายกับคนที่พร้อม ส่วนคนที่ไม่พร้อมต้องให้ระยะเวลาเขาตัดสินใจ โดย Far มีหน้าที่ ช่วย ชี้ เชื่อม ชมและเชียร์ นอกนั้นให้เป็นความคิดของผู้วิจัย

                สรุปแล้วเริ่มจากการสร้างกระแส “ระบาด R2R” ให้มีความฮึกโหม กระตุ้น สร้างแรงสนับสนุน ไม่ควรเปิดตัวด้วยความรู้ในการทำวิจัยให้เสริมเมื่อเขาต้องการ ควรเริ่มจากปัญหาหรือคำถามในการวิจัย แล้วค่อยมาคุยเรื่อง โครงร่างการวิจัย และจะสอนเรื่องการสืบค้นข้อมูล เมื่อเจอคำถามว่าจะใช้กลุ่มตัวอย่างเท่าไหร่จึงจะเริ่มสอน Sample size

                บทบาทของ Far ต้องเตรียมใจว่านักวิจัยมาตัวเปล่า แต่ให้คิดเชิงบวกว่าเขายังมีใจ และอีกกลุ่มมาด้วยการมีคำถามมากมายให้เราช่วยตอบ เรามีหน้าที่ต้องชี้ให้เห็นว่าอะไรที่ควรจะทำก่อนและทีมต้องการทำอะไร หรือบางกลุ่มอยากทำวิจัยแต่ไม่อยากเขียนแต่เราต้องคิดว่าเขายังมีใจ สิ่งที่ Far ต้องทำ คือกระตุ้นให้เขาทำสิ่งที่ให้เขาเขียนคือ หัวข้อ วัตถุประสงค์ว่าทำอะไร ผลลัพธ์ที่สนใจจะทำอย่างไร Far ต้องช่วยดูให้ ไม่พูดว่าโครงร่างวิจัย ให้บอกว่าเขียนขั้นตอนที่สองว่าจะทำอย่างไร การทบทวนวรรณกรรมบางทีไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร หรือบางครั้งไม่ยอมทบทวนบอกว่าจะทำอย่างนี้

                ส่วนสำคัญคือ ระเบียบวิธีวิจัยไม่ต้องคิดมากเกินไปจะทำให้เครียด เราแค่เลือกว่าเราจะใช้วิธีไหนมิฉะนั้นเราจะไปติดกับหลุมพรางนี้ ให้ทำไปก่อนแล้วค่อยมาใส่ชื่อทีหลัง Far ต้องเป็นผู้ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลให้ และคอยตระล่อมให้ทำจนถึงขั้นการเขียนและนำเสนอผลงาน

                สรุปคุณอำนวย Research

R             Respect เคารพความคิด

E             Empathy เข้าใจ 

S             Spirit สปิริตต้องคอยช่วย

E             Education สอน

A             Advocate

R             ชมบ่อยๆ

C             ทำเป็นงานประจำ deadline เพื่อให้มีความต่อเนื่อง

H             สุดท้าย happiness

ทพ.วสันต์  สายเสวีกุล (รพ.พานทอง)ร่วมแลกเปลี่ยนเรื่อง ประสบการณ์การทำ R2R มาจาก รพ.ชุมชน 60 เตียง ต้องทำหน้าที่หลายอย่าง เริ่มจากตกลงกันว่าจะทำงานวิจัยและหาที่ปรึกษา จาก ม. บูรพา การวิจัยเริ่มจากปัญหาที่ได้จากการทำงาน 8 เรื่อง และขอการสนับสนุนงบประมาณ และมาเริ่มเข้าใจที่หลังว่าสิ่งที่ทำอยู่คือ R2Rจากสสจ. และได้เข้าร่วมกับ สวรส. ปัญหาที่พบส่วนใหญ่เป็นเรื่องของกรรมการจริยธรรม ผลสุดท้ายจึงไม่ขอดีกว่า ปัญหานี้ สสจ. จึงได้ช่วยแก้ปัญหาจัดอบรมและวางระบบ EC ให้ ปัญหาที่พบอีกข้อหนึ่งคือ การไม่มีผู้เก็บข้อมูล หาวิธีแก้ไขโดยการจ้างผู้เก็บข้อมูล และการบริหารจัดการเป็นในเรื่อง งบประมาณการเบิกค่าใช้จ่าย

“Far ต้องเป็นผู้ทำให้”  “หน้าที่ Far ตระหนักถึงผลสำเร็จของงานที่จะทำ”

 

วันเพ็ญ สุขส่ง

29 กันยายน 2553

โรงพยาบาลสมเด็จฯ ณศรีราชา

หมายเลขบันทึก: 400483เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2010 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 07:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท