ZAMCMU
อาจารย์ ดร. ปริวิทย์ ไวทยาชีวะ

การต่อสู้ แข่งขันเพื่อความอยู่รอดกับคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย(2)


มหาวิทยาลัยแห่งความเป็นเลิศ (Excellent University) น่าจะนำพาให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้นและอาจไปถึงเป้าหมายได้ แต่ต้องอยู่ที่ทุกคนในกระบวนการต้องพลักดันกลไลกันทั้งระบบไปพร้อมกัน สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทุกคนมีเป้าหมายในทิศทางเดียวกัน แท้ที่จริง

สวัสดีครับ แม้ตอนที่สองจะเปลี่ยนชื่อไปแล้วเราก็ยังพูดถึงการต่อสู้และการแข่งขันของมหาวิทยาลัยที่พาตัวเองไปสู่ความสำเร็จ

สำหรับองค์กรที่จะประสบความสำเร็จนั้นต้องรู้จักบริหารการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ต้องเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามามีผลต่อการบริหารตังองค์กรเองไม่ว่าปัจจัยในด้านใดก็ตาม

แนวคิดของชาร์ลส์ ดาร์วินที่ว่า “การอยู่รอดของผู้ที่เหมาะสมมากที่สุด” (Survival of the Fittest) ชี้ให้เห็นว่า “ผู้ที่อยู่รอดที่สุด คือ ผู้ที่ปรับตัวได้ดีที่สุด” คือ ไม่ต้องเก่งแต่มีพันธุ์ที่แข็งแรง หากนำมามองการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาแล้ว ที่ใดมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ย่อมทำให้โอกาสในการอยู่รอดสูงขึ้นไปด้วย

การนำเกณฑ์ต่างๆ เช่น TQA (Thailand Quality Award ) การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (QA) มาประเมินในระดับอุดมศึกษา ...เราคิดว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ตรงนี้คือคำถามที่ต้องการคำตอบ เพราะผลที่ออกมาจากการประเมินคุณภาพยังมีความไม่ชัดเจนในบางจุด บางจุดเป็นส่วนที่ต้องรีบแก้ไข บางจุดเราอาจทำได้ดีในระดับหนึ่ง หรือบางจุดยังไม่เห็นหนทาง แต่ผมเชื่อว่า หากสถานศึกษานำเอาเกณฑ์ทั้งสองตัวนี้มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีวิสัยทัศน์ มุ่งเน้นให้ตนเป็น มหาวิทยาลัยแห่งความเป็นเลิศ (Excellent University) น่าจะนำพาให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้นและอาจไปถึงเป้าหมายได้ แต่ต้องอยู่ที่ทุกคนในกระบวนการต้องพลักดันกลไลกันทั้งระบบไปพร้อมกัน สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทุกคนมีเป้าหมายในทิศทางเดียวกัน ... 

แท้ที่จริงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็ใช้หลักการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาหลายๆตัวมารวมกัน ไม่ว่าจะเป็น TQA, ISO, MBNQA, PMQA, BSC, TQM, สกอ. สมศ. กพร. เป็นต้น ซึ่งในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ใช้เกณฑ์ของ สกอ. ที่บังคับใช้อยู่แล้ว แต่ได้เพิ่มอีกหนึ่งเกณฑ์คือ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) ตรงนี้เองที่ทำให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต้องพัฒนาตัวขึ้นอีกระดับ ให้เพิ่มขีดความสามารถด้านการบริหารการจัดการ วิธีปฏิบัติและสร้างผลการดำเนินงานให้อยู่ในระดับมาตรฐานโลก

“...ส่งผลให้เราต้องนำตัวเองไปแข่งกับคนอื่นในระดับโลก เป็นทะเลที่กว้างใหญ่มิใช่อยู่ในอ่างน้ำใบเดียวกันเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป...”

ซึ่งการที่สถาบันการศึกษาจะประสบความสำเร็จได้นั้น องค์ประกอบในการประกันคุณภาพภายในของสถาบันการศึกษา ตามที่มหาวิทยาลัยได้ยึดตามหลักเกณฑ์ที่ สกอ. กำหนดนั้น จะมีองค์ประกอบคุณภาพทั้ง 9 ด้าน ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1) ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนดำเนินการ 2) การเรียนการสอน        3) กิจกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษา 4) การวิจัย 5) การบริการวิชาการแก่สังคม 6) การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 7) การบริหารและการจัดการ 8) การเงินและงบประมาณ 9) ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ ซึ่งองค์ประกอบทั้งหมดนั้นล้วนมีความสำคัญแทบทั้งสิ้น ทุกองค์ประกอบจะมีการคิดและวางแผนไว้ทั้งหมดทุกด้านทุกองค์ประกอบ การประกันคุณภาพการศึกษาภายในจะเน้นที่การเติมเต็มในส่วนที่ขาดตกบกพร่องและเน้นที่การพัฒนาเสียมากกว่าที่จะตัดสินให้ตกหรือผ่าน หรือให้ขึ้นบัญชีดำ ดูที่อะไรยังขาด อะไรที่มีแล้ว ดูตามไปแต่ละองค์ประกอบจนครบ ประเมินเป็นแบบปรนัย

ดังนั้นเราจึงควรจะเลือกเอาว่าเราจะเป็นผู้อยู่รอดหรือไม่ ติดตามตอนที่ 3 นะครับ

คำสำคัญ (Tags): #cmu-qa
หมายเลขบันทึก: 400036เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2010 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท