การเขียนคำนำ


                                           การเขียนคำนำ

 

เป็นการเขียนเพื่อบอกความเป็นมา เกี่ยวกับประเด็นของหัวข้อ และกล่าวถึงปัญหาในลักษณะกว้างๆ เข้าสู่แคบๆ พร้อมบอกเหตุผลที่ทำสัมมนาหรือประเด็นนี้ หรือเรียกร้องถึงความสำคัญ ของประเด็นที่จะนำเสนอ

โดยหน้านี้อาจมีหัวเรื่องซ้ำอีกก็ได้ และเพื่อให้มีความสมบูรณ์ในหน้านี้ ควรเริ่มมีอ้างอิงในเนื้อเรื่อง

การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง

คือ การบอกถึงแหล่งข้อมูลที่นำมาจากเอกสารฉบับไหน หนังสือ หรือ วารสาร และเอกสารตีพิมพ์เล่มใด หากมีผู้สนใจและอยากศึกษาเพิ่มเติมในเนื้อหาจะได้กลับไปตามจากแหล่งข้อมูลดังกล่าว

การอ้างอิงจะมี 2 แบบ คือ การอ้างอิงนอกเนื้อเรื่อง หรือการเขียนเอกสารอ้างอิง ซึ่งการเขียนแบบที่ 2 จะขอพูดในหัวข้อถัดไป

การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง จะขอพูดก่อนเนื่องจากในบทนำจะเริ่มมีการอ้างอิงในเนื้อเรื่องบางแล้ว และการอ้างอิงในเนื้อเรื่องเมื่อตรวจกับอ้างอิงนอกเนื้อเรื่อง หรือการเขียนเอกสารอ้างอิง จะต้องพบ และบอกรายละเอียดครบ สามารถสืบค้นและติดตามได้ โดยการเขียนอ้างอิงในเนื้อเรื่องจะมี 3 ลักษณะ คือ

การเขียนอ้างอิงต้นประโยค โดยใช้รูปแบบ ชื่อ (พ.ศ. หรือ ค.ศ. พบว่า………………)

ซึ่งชื่ออาจจะมีทั้ง 2 คน 3 คน หรือมากกว่า ถ้ามากกว่า 3 คน ให้ใช้คำว่า และคณะ (….) ในภาษาอังกฤษใช้ et al. (….) โดยจะเอียงหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องเหมือนกันหมด ส่วนชื่อภาษาอังกฤษจะใช้สกุลมาอ้างอิง เช่น O. P. Thomas. 1982. เวลาเขียนอ้างอิงต้นประโยคให้อ้างอิงว่า Thomas (1982) เป็นต้น และ พ.ศ. หรือ ค.ศ. ที่ใช้จะต้องเป็นปีที่ตีพิมพ์ ส่วนประโยคต่อปีที่ตีพิมพ์ อาจใช้คำว่า พบว่า……, รายงานว่า……, กล่าวว่า…….., แสดงให้เห็นว่า………หรืออื่นๆ การอ้างแบบนี้รวมถึงข้อมูลจากเว็ปไซด์ด้วย ตัวอย่างเช่น

ธันวา (มปพ.) กล่าวว่า……….(ในกรณีไม่ทราบปีที่ตีพิมพ์)…………….……………………………………

นิรนาม (2547) แนะนำว่า………..(กรณีไม่ทราบผู้แต่ง)………………………………………………………

สุกัญญา (2539) พบว่า…………………………………………..……………………………………………………………

สินชัย และนวลจันทร์ (2530) รายงานว่า……………………………………………………………………………

สาโรช และคณะ (2521) อธิบายว่า……………………………………………………………………………………..

อุทัย และคณะ (2533 ข) ; สาโรช และเยาวมาลย์ (2528) ศึกษาพบว่า…………………………

Thunwa (eds.) กล่าวว่า………………..(ในกรณีไม่ทราบปีที่ตีพิมพ์)…………………………………….

Anonymous (2004) แนะนำว่า……………(กรณีไม่ทราบผู้แต่งชาวต่างประเทศ)……………….

Coon (1971) แสดงให้เห็นว่า………………………………………………………………………………………..

Fox and Vevers (1960) เสนอว่า………………………………………………………………………………….

Banday et al. (1992) เสนอแนะว่า……………………………………………………………………………….

Coon (1971) ; Fox and Vevers (1960) ; Banday et al. (1992) ได้ศึกษาเปรียบ

เทียบพบว่า……………………………………………………………………………………………………………………….

หมายเหตุ : อุทัย และคณะ (2533 ข) คือ กรณี ชื่อ และ พ.ศ. ทั้งไทย และอังกฤษซ้ำจึงใช้อักษรกำกับรวมถึงการเขียนอ้างอิงนอกเนื้อหาด้วย

 

ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงต้นประโยค

 

การเขียนอ้างอิงท้ายประโยค โดยใช้รูปแบบ (ชื่อ, พ.ศ. หรือ ค.ศ.) โดยจะมี

ลักษณะการเขียนชื่อและพ.ศ. คล้ายการเขียนอ้างอิงต้นประโยค

ตัวอย่างเช่น

………………………………………………(ธันวา, มปพ.) กรณีไม่ทราบปีที่ตีพิมพ์

………………………………………………(นิรนาม, 2547) กรณีไม่ทราบผู้แต่ง

………………………………………………(สุกัญญา, 2539)

………………………………………………(สินชัย และนวลจันทร์, 2530)

………………………………………………(สาโรช และคณะ, 2521)

……………………………(อุทัย และคณะ, 2533 ข ; สาโรช และเยาวมาลย์, 2528)

……………………………(Thunwa, eds.) กรณีไม่ทราบปีที่ตีพิมพ์

……………………………(Anonymous, 2004) กรณีไม่ทราบผู้แต่งชาวต่างประเทศ

……………………………(Coon, 1971)

……………………………(Fox and Vevers, 1960)

……………………………(Banday et al., 1992)

……………………(Coon, 1971 ; Fox and Vevers, 1960 ; Banday et al., 1992)

 

ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงท้ายประโยค

การเขียนอ้างอิงแบบเชื่อมต่อ โดยใช้รูปแบบ …..………………สอดคล้อง กับ ชื่อ (พ.ศ.

หรือ ค.ศ.) หรือ ขัดแย้งกับ ชื่อ (พ.ศ. หรือ ค.ศ.) การเขียนอ้างอิงแบบเชื่อมต่อนี้ เป็นการผสมการเขียนอ้างอิงต้นประโยค และการเขียนอ้างอิงท้ายประโยค โดยรูปแบบการเชื่อมประโยค จะคล้ายกับรูปแบบการเขียนอ้างอิง ทั้ง ชื่อ และ พ.ศ. หรือ ค.ศ. ที่ตีพิมพ์ ตัวอย่างเช่น

สุกัญญา (2539) พบว่า…………………….สอดคล้องกับรายงานของ Fox and vevers (1960) ที่เสนอว่า…………………………………………… แต่ขัดแข้งกับ Banday et al. (1992) โดยอธิบายว่า…………………………………………………………………………………………………………………………….

จากการศึกษาปัญหาดังกล่าว………………………………………………(Coon, 1971 ; Fox and Vevers, 1960 ; Bandan et al., 1992)

 

 

ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงแบบเชื่อมต่อ

 

 

การใช้เครื่องหมายวรรคตอน

เครื่องหมายมหัพภาค (.)

ใช้เมื่อเขียนย่อ ชื่อผู้แต่งชาวต่างประเทศ คำที่ย่อ และเมื่อจบแต่ละข้อความ

เครื่องหมายจุลภาค (,)

ใช้คั่นระหว่าง ชื่อ – สกุล ผู้แต่งชาวไทย และ ชื่อผู้แต่งชาวต่างประเทศ โดยคั่นผู้แต่ง

มากกว่า 1 คน ใช้คั่นสำนักพิมพ์ และปีที่พิมพ์

เครื่องหมายอัฒภาค (;)

ใช้เมื่อในข้อความนั้น มีการใช้เครื่องหมายจุลภาค

เครื่องหมายมหัพภาคคู่ (:)

ใช้คั่นสถานที่พิมพ์ ชื่อสำนักพิมพ์ ปีที่ หรือ เล่มที่ของวารสาร

การเว้นระยะการพิมพ์หลังเครื่องหมายวรรค

เครื่องหมายมหัพภาค (.) เว้น 2 ระยะ

เครื่องหมายจุลภาค (,) เว้น 1 ระยะ

เครื่องหมายอัฒภาค (;) เว้น 1 ระยะ

เครื่องหมายมหัพภาคคู่ (:) เว้น 1 ระยะ

หมายเลขบันทึก: 399989เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2010 19:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 12:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท