การดูแลหญิงตั้งครรภ์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่น


ภาคีเครือข่าย แก้ปัญหาทารกน้ำหนักน้อย

    การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ดดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่นเพื่อลดอัตราการเกิดทารกน้ำหนักน้อย  โรงพยาบาลศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

          โดยใช้กระบวนการการจัดการความรู้            ( knowledge management )

     ปัญหา / ความเป็นมา

     - ข้อมูลทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ตำบลศรีสงคราม ปี 2551 , 2552   =  9.36 , 11.81 %
     -  การกระจายงบประมาณหลักประกันสุขภาพและอำนาจลงสู่ท้องถิ่น
     -  ผลกระทบด้านสุขภาพในทารกน้ำหนักน้อย
     -  บทบาทการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพมารดาทารก
     -  นโยบายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ชาติฉบับที 10 ( 2550 - 2554 ) กำหนดเป้าหมายทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย = 7 %
     -  อำเภอศรีสงครามเป็นพืนที่นำร่องที่จะสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพมารดาทารก

    วัตถุประสงค์

     - เพื่อให้ชุมชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพมารดาตั้งครรภ์

     - เพื่อให้อัตราการทารกแรกเกิดนำ้หนักน้อยตำบลศรีสงครามมีแนวโน้มลดลง

      การศึกษา/ การดำเนินงาน

      ขั้นเตรียมการ

   1. ประชุมชี้แจงสร้้างความเข้าใจคณะทำงานด้านอนามัยและเด็กและผู้เกี่ยวข้อง

   2. พัฒนาฐานข้อมูลอนามัยแม่และเด็กตำบลศรีสงครามเชื่อมโยงกับเป้าหมาย วิเคราะห์ปัญหาน้ำหนักทารกแรกเกิด ผลงานย้อนหลัง 2 ปี นำเสนอต่อกลุ่มประชาคมภาคีเครือข่าย

   3. ทบทวนวรรณกรรม ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

   4 . จัดประชุมประชาคมร่วมภาคีเครือข่ายและคณะทำงานด้านสุขภาพ

   ขั้นตอนการดำเนิงาน

1. ประชุมกำหนดขอบเขตการดำเนิน เป้าหมาย

2. ศึกษาข้อมูลหญิงตั้งครรภ์และคลอด จาก ม.ค.53 - ส.ค.53

3. จัดเวทีประชาคมเรียนรู้งานอนามัยแม่และเด็กตำบลศรีสงคราม

4. กำหนดแนวคิดที่ต้องการการศึกษาร่วมกับภาคีเครือข่าย

5. โครงการเฝ้าระวังแก้ปัญหาทารกนำ้้หนักน้อยกว่า 2500 กรัมตำบลศรีสงคราม

วิธีการดำเนินงาน

1.1 ประชุมสร้างความเข้าใจคณะทำงานด้านอนามัยแม่และเด็ก ทบทวนบทบาทหน้าที่และกำหนดแผนการทำงานร่วมกัน

1.2 พัฒนาฐานข้อมูลอนามัยแม่และเด็กตำบลศรีสงครามเชื่อมโยงกับเป้าหมาย เพื่อนำเสนอข้อมูลต่อเวทีประชาคม

1.3  วิเคราะห์ปัญหาน้ำหนักแรกคลอดของทารก  โดยศึกษาผลงานย้อนหลัง  2  ปี  จากข้อมูลทุติยภูมิและสมุดจดรายงานการคลอด  รวมถึงการทบทวนวรรณกรรม  และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

            1.4 การกำหนดหัวข้อเรื่อง  วัตถุประสงค์  และกรอบแนวคิดที่ต้องการศึกษาและดำเนินงาน

1.5 จัดเวทีประชาคมเรียนรู้งานอนามัยแม่และเด็กตำบลศรีสงคราม โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แกนนำสุขภาพชุมชน หญิงตั้งครรภ์ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำท้องถิ่น ชมรมสายใยรักครอบครัวประจำหมู่บ้าน หญิงวัยเจริญพันธุ์ ผู้นำครอบครัว

                1.6 นำเสนอข้อมูลข้อมูลต่อเวทีประชาคมเพื่อค้นหาปัญหา สาเหตุ ผู้เกี่ยวข้อง ผลกระทบ ที่เกิดขึ้นในชุมชนอย่างแท้จริง

                1.7 กำหนดแผนงานโครงการ/กิจกรรมการดำเนินงาน

                -  โครงการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า  2,500 กรัม โดยกระบวนการกลุ่มและอาหารเสริมโปรตีนในหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงในเขตตำบลศรีสงคราม

           - รณรงค์พาแม่ไปฝากท้อง ลูกในท้องสมบูรณ์

           - ให้ความรู้แกนนำสุขภาพครอบครัว ผู้นำชุมชน

           - ค้นหาหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน

           -ให้ความรู้แกนนำสุขภาพครอบครัว ผู้นำชุมชน

           -  ค้นหาหญิงตั้งครรภ์ในชุมชนโดย อสม. ผู้นำชุมชน

           -  กระตุ้นหญิงตั้งครรภ์ในชุมชนไปฝากครรภ์ก่อน12สัปดาห์ โดยจัดให้มีค่าพาหะนะผู้ที่พาไปฝาก และหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์เร็ว ฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ โดย อสม. ผู้นำชุมชน

           -  ใช้แบบคัดกรองความเสี่ยง14 ข้อ(คู่มืออนามัยแม่และเด็ก จังหวัดนครพนม) ในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงต่อการการคลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม 

           -  จัดอาหารเสริมหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะทุพโภชนาการ หรือ  ยากจน

          -  จัดตั้งคลินิคให้คำปรึกษาหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงและติดตามภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์โดยการตรวจ Ultra sound ประเมินน้ำหนักทารกทุก  1 เดือน

      -  จัดทำแบบบันทึกข้อมูลหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงต่อการคลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

       -  จัดตั้งกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน “เพื่อนช่วยเพื่อน พี่ช่วยน้อง” ให้ดูแลตนเองได้ถูกต้อง

      -   สนับสนุนงบประมาณจาก อปท.,อบต.อย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์

          

   ผลการศึกษา

  1. จากการศึกษาพบว่าการประชาคมในชุมชน  พบปัญหาของหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดน้ำหนักน้อยกว่า  2,500 กรัม  เกิดจากการมีความรู้ไม่เพียงพอ ของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวในการดูแลสุขภาพ  โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20 ปี ภาวะเครียด ฐานะเศรษฐกิจ การได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสม การประกอบอาชีพของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว  เช่น   การทำเกษตรกรรมตามฤดูกาล  การทำนา การกรีดยาง ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลต่อสุขภาพและ น้ำหนักทารกในครรภ์โดยตรง รวมทั้งการกระตุ้นให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด
  2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งในส่วนของเทศบาล, อบต. มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายแผนงาน และสนับสนุนงบประมาณ
  3. อัตราการคลอดทารกน้ำหนักน้อยลดลง จาก  9.37  %  , 11.81 %  เป็น 7.06 % (มารดาคลอดทั้งหมดจำนวน  85 ราย คลอดน้ำหนักน้อย 6 ราย )

          สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ

                จากผลการศึกษาพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มบุคลากรเท่านั้น การมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพมารดาทำให้อัตราทารกน้ำหนักน้อยลดลง แต่ยังสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ( 2550- 2554 )ซึ่งกำหนดเป้าหมายทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยไว้ไม่เกินร้อยละ 7

พัฒนาการบันทึกและเก็บข้อมูลข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการคลอดน้ำหนักน้อยและการวิเคราะห์ข้อมูลแยกกลุ่ม ทั้งกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่ไม่พบความเสี่ยงตามแบบคัดกรอง ซึ่งจะเป็นโอกาสพัฒนาในการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบที่ทำให้ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า  2,500 กรัม  ในเขตตำบลศรีสงครามต่อไป

 

ประโยชน์

                รูปแบบการดำเนินงานการแก้ปัญหาการให้บริการดูแลสุขภาพมารดาทารกทางด้านสุขภาพเท่านั้น การมี องค์กรท้องถิ่น ชุมชน และครอบครัวเป็นผู้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพมารดาทารก  ทำให้เกิดคุณค่าของการบูรณาการด้านการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน  ซึ่งภาระด้านการดูแลสุขภาพประชาชนไม่จำกัดอยู่ที่งบประมาณ  และบุคลากรทางด้านสาธารณสุขเท่านั้น  การศึกษาการดำเนินงานในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก  อปท. ชุมชน อสม. หญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

  

 

    

หมายเลขบันทึก: 399914เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2010 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

"แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ( 2550- 2554 )ซึ่งกำหนดเป้าหมายทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยไว้ไม่เกินร้อยละ 7"

ไม่ทราบว่าจะหาแหล่งอ้างอิง (reference) จากที่ไหนได้บ้างค่ะ เพราะต้องการนำมาใช้มากแต่หาอ้างอิงไม่เจอจริงๆค่ะทั้งในแผนพัฒนาฉบับที่ 10 หรือแผนนโยบายสาธารณสุข ฉบับท่ี 10

เป็นเป้าหมายของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่ทำแผนล้ออกมาจาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท