shukur2003


บุคลิกภาพของผู้รู้จะต้องมีภาพสะท้อนของบรรดาศาสดาทั้งหลาย ทรัพย์สินเงินทอง ลาภยศสรรเสริญ จะต้องไม่เป็นตัวบั่นทอนการนำเสนอสัจธรรมสู่มวลชน หรือสู่สังคม การสงบเสงี่ยมและเจียมตัว และอยู่อย่างพอเพียง พึงใจต่อความเมตตาปรานีของอัลลอฮฺ และที่สำคัญที่สุดของภาระหน้าที่ของอุลามาอฺ หรือโต๊ะครู นั้นคือ การรับใช้มนุษย์และสังคม ตลอดจนรับผิดชอบสังคม ในความดี ความชั่วที่เกิดขึ้น
 รำลึก  237 ปี ัยดาวุด อัลฟะฏอนีย์: ปราชญ์ปัตตานีแห่งอาเซียนเรียบเรียงโดยอ.อับดุชชะกูร์ บิน าฟิอีย์ ดินอะ( อับดุลสุโก ดินอะ  )[email protected]09-7359279ผช.ผจก.ร.ร.จริรยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลาด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีกรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนามุฮัมมัดและละผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน                  ในสังคมมุสลิม   ผู้นำศาสนา หรือตามภาษาพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า โต๊ะครู ซึ่งมาจากภาษามลายูกลางว่า ตวนฆูรู หรืออาจมาจากคำว่า 'คุรุ' หรือ 'ครู' นั้นเอง แต่ในภาษาอาหรับ หรือในภาษาที่ชาวมุสลิมทั่วไปอาจเรียกอย่างยกย่องว่าอาลิม(ผู้รู้ 1คนเป็นเอกพจน์)หรือ อุละมาอฺ(ผู้รู้ หลายคนเป็นพหูพจน์) โดยมีรากศัพท์ ผันมาจาก อิลมฺ คือความรู้ โต๊ะครู หรือ อาลิมและอุลามาอฺ จึงให้ความหมายถึง ผู้รู้และบรรดาผู้รู้ ในที่นี้คือรู้ในศาสตร์ของอิสลาม หรืออิสลามศึกษานั้นเอง ในขณะผู้รู้หลายคนมีความรู้ที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงรู้ในเรื่องศาสนาเท่านั้น แต่หมายถึงรู้เรื่องอิสลามที่เกี่ยวข้องศาสตร์อื่นๆอีกด้วย การแพทย์  ดาราศาสตร์ การเมือง และสังคม                          ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กล่าวถึงความประเสริฐของบรรดาอุลามะอฺ  ว่าเปรียบเสมือนผู้รับมรดกของบรรดานบี (ศาสดาทั้งหลาย)                          บุคลิกภาพของผู้รู้จะต้องมีภาพสะท้อนของบรรดาศาสดาทั้งหลาย ทรัพย์สินเงินทอง ลาภยศสรรเสริญ จะต้องไม่เป็นตัวบั่นทอนการนำเสนอสัจธรรมสู่มวลชน หรือสู่สังคม การสงบเสงี่ยมและเจียมตัว และอยู่อย่างพอเพียง พึงใจต่อความเมตตาปรานีของอัลลอฮฺ และที่สำคัญที่สุดของภาระหน้าที่ของอุลามาอฺ หรือโต๊ะครู นั้นคือ การรับใช้มนุษย์และสังคม ตลอดจนรับผิดชอบสังคม ในความดี ความชั่วที่เกิดขึ้น                         ตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา อุลมาอฺในภาคใต้มีบทบาทในสังคมมาก   ในการการชี้นำความถูกต้องให้กับสังคมและ ในบรรดาอุลามาอฺภาคใต้ที่มีอิทธิพลต่อบรรดาอุลามาอฺด้วยกันและชุมชนมุสลิมภาคใต้และประเทศอาเซียนคือ  ัยดาวุด อัลฟะฏอนีย์เพราะท่านเป็นทั้งครูผู้สอนและแต่งตำราอิสลามศึกษาเกือบ100เล่ม และหนังสือของท่านยังเป็นหนังสือเรียนในหลักสูตรอิสลามศึกษาในสถาบันปอเนาะและเป็นหนังสืออ้างอิงในสถาบันการศึกษาอิสลามในกลุ่มประเทศอาเซียน

ประะวัติโดยสังเขป

ัยดาวุด อัลฟะฏอนีย์ มีชื่อเต็มว่าหะยีวันดาวุด บินวันอับดุลลอฮฺ บินวันอิดริส อัลยาวีย์  อัลฟะฏอนีย์อัลมลายูวีย์  เกิดวันที่ 1 มุฮัรรอม ปีฮ.ศ. 1184 ซึ่งตรงกับวันที่ 7 พฤษภาคม คศ.1769 หรือพ.ศ.2312 ณ บ้านปาเร็ต คลองกรือเซะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีมีบิดาชื่อวันอับดุลลอฮฺ บินวันอิดริส มารดาชื่อวันฟาฏิมะฮฺท่านสิ้นชีพวันที่22 เดือนรอญับ ปีฮ.ศฺ1263 ซึ่งตรงกับวันที่ 8 กรกฎาคม  ค.ศ.1847 หรือพ.ศ.2390รวมอายุ 78 ปี

การศึกษา

แรกเริ่มท่านศึกษาหาความรู้ด้านอิสลามศึกษากับพ่อและลุงของท่านคือชัยคฺศอฟียุดดีนเป็นเวลา 5 ปีที่ปัตตานี  หลังจากนั้น เมื่อท่านอายุ 16ปี ท่านเดินทางไปศึกษาต่อ ณ อาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซียเป็นเวลา 2 ปี  หลังจากนั้นเมื่อท่านอายุครบ 18 ปีท่านเดินทางไปศึกษาต่อ ณ เมืองมักกะฮฺ เป็นเวลา 30 ปี และเดินไปศึกษาต่ออีก 5 ปี ณ เมืองมะดีนะฮฺ ประเทศซาอุดิอารเบีย

บทบาทด้านวิชาการและสังคม

 ในขณะที่ท่านอยู่มักกะฮ 30 ปีระหว่างเรียนหนังสือท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถของท่าน สอนหนังสือในมัสยิดอัลหะรอม รวมทั้งแต่งและแปลตำราต่างๆมากมายเกือบ 100 เล่มมีทั้งภาษามลายูอักษรยาวีและอาหรับ  ตำราที่ได้รับการยอมรับและยังเป็นตำราที่สอนอยู่ในสถาบันปอเนาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้และประเทศาเซี่ยนเช่น1. หนังสือKifayatulmuhtaj1-                              2. Idhahullubab2-                             إيضاح اللباب{9 ربيع الأول  1224هـ3. Ghayatultaghrib3-                             غايةالتغريب{ 5 صفر1226 هـ}4. Nahjulraghib4-نهج الراغب {1226 هـ}5. Bulughulmuram5-بلوغ المرام { ربيع الأول1227 هـ }6. Ghayatulmuram6-غاية المرام {5 ذوالقعدة1229 هـ}7.Addaruthamin7. الدرالثمين {17 شوال 1232 هـ}8.Khasfulghimmah8-كشف الغمة{20 ربيع الأول1238 هـ}9. Jamulfawaid9-جمع الفوائد{27 جمادالأول1239 هـ}10. Kanzulminan10-كنزالمنن{23ربيع الثاني1240 هـ}11.Minhajabidin11-منهاج العابدين {15 جماد الثاني1240 هـ}12.Maniyatulmusoli12-منيةالمصلي{15ذوالحجة1242 هـ}13. Hidayatulmutaallim13-هداية المتعلم {12 جمادالثاني1244 هـ}14.Agdatuljawahir14-عقدةالجواهر {24صفر 1245 هـ}15.Wardulzawahir15-وردالزواهر  {9 رجب 1245 هـ}16.Fathulminan16-فتح المنان{ 16 رمضان1249 هـ}17.Muzakaratulikhwan17-مذاكرةالإخوان {25 رمضان 1249 هـ}18.Jawahirussuniah18-جواهرالسنية {16 جمادالأول1252 هـ}19.Sulamubtadi19-سلم المبتدي{13 رجب 1252 هـ }20. Furuulmasail20-فروع المسائل  {1254-1257 هـ}21. Albahjatulussuniah21- البهجة السنية {16 صفر1258 هـ}22.Albahjatulwardiah22- البهجة الوردية  { 1 رمضان 1258 هـ}23.Albahjatulmardhiah23-البهجة المرضية  {14 شوال 1259 هـ}  وبعض المؤلفات التي لم تذكر تاريخ التأليف منها24.Bughyatuttullab24-بغية الطلاب 25.Dhiyatulmurid25-ضياء المريد26. Asoid wazabaih26- الصيدوالذبائح27.Irshadulathfal27-إرشادالأطفال نامبتدئين في عقائدالدين28. Ishrunnusifatillahiah28-عشرون الصفات الإلهية29.Siratunnabi Yusuf29-سيرة النبي يوسف عليه السلام30.Hikaturrijalassolihin min Baniisrail30- حكاية الرجال الصالحين من بني إسرإئيل31. Bashairrilikhwan31-بشائرالإخوان32. Bab Nikah32-باب النكاح33. Risalatussail33-رسالة السائل34.Jihayatuttuktub 34-جهاية التكتب35.Alkurbat ilallah35-القربة الى الله 36.Risalah tataalak Bikalimatuliman36-رسالة تتعلق بكلمة الإيمان37.Bidayatulhidayah37-بداية الهداية 38.Tambihulghafilin38-تنبيه الغافلين 39. Bayanulahkam39-بيان الأحكام40.Tuhfaturaghibin40-تحفةالراغبين 

 

   การสอนหนังสือของท่านก็จะมีนักเรียนนักศึกษาจากประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย  สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปินส์ กัมพูชา นักศึกษาเหล่านั้นส่วนหนึ่งกลับประเทศของตนได้มาเปิดสถาบันการศึกษา เป็นผู้นำชุมชน และใช้ความรู้ความสามารถอบรม สั่งสอนชุมชนของตนต่อๆกันมาจวบจนปัจจุบันไม่เพียงแต่ท่านมีผลงานทางวิชาการเท่านั้นแต่ด้วยความเป็นคนที่มีภาวะผู้นำสูงในช่วงทำพิธีฮัจญ์นั้นท่านยังอุทิศเวลาของท่านบริการ ดูแลผู้ที่ไปทำฮัจญ์จากประเทศไทยและอาเซียน                            นี่คือประวัติและบทบาทของท่านโดยสังเขปซึ่งสอดคล้องกับวจนะของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ที่ได้กล่าวถึงความประเสริฐของบรรดาอุลามะอฺ  ว่าเปรียบเสมือนผู้รับมรดกของบรรดานบี (ศาสดาทั้งหลาย) หรือได้กล่าวเปรียบเทียบฐานะภาพของอุลามะอฺ ที่สูงส่งกว่า นักพรต นักบำเพ็ญตน ปลีกวิเวก อุปมาดั่งดวงจันทร์วันเพ็ญที่ทอแสงเจิดจ้าโดดเด่นกว่าดวงดาวทั้งหลาย และสอดคล้องกับคำกล่าวของ คอลีฟะห์ (คาหลิบ) ท่านที่ ๔ แห่งอิสลามคือ ท่านอาลี บินอบีฎอลิบ (ริยัลลอฮุอันฮฺ) ได้ถูกตั้งคำถามจากสหายคนหนึ่งว่า "ใครคือผู้ที่ดีที่สุดในงานสร้างของพระผู้เป็นเจ้าภายหลังท่านศาสดา" ท่านอาลีได้ตอบว่า "นักปราชญ์ หรือผู้รู้ทางศาสนาเมื่อเขาเที่ยงธรรม"                      วันนี้สังคมมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้และอาเซียนเป็นหนี้บุญคุณท่านดังนั้นการรำลึกถึงวันเกิดและชีวประวัติของชัยคฺดาวุด  (ถึงแม้หลายคนอาจจะไม่รู้)น่าจะทำให้มุสลิมใต้รู้สึกปลาบปลื้มปิติยินดีและภูมิใจในตัวท่านที่เป็นคนปัตตานีและชายแดนใต้   การรำลึกถึงการมาของปราชญ์ของอาเซียนที่มาพร้อมกับรูปแบบการนำเสนอหลักธรรม คำสอน และแบบฉบับอันดีงามในการดำเนินชีวิตตามพระบัญชาของอัลลอฮเจ้า มา เป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิตของมุสลิมใต้และอาเซียนเป็นสิ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์ยิ่ง                                       ที่สำคัญสำหรับนักวิจัยทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยควรนำชีวประวัติและผลงานของท่านโดยเฉพาะตำราเก่าๆของท่านซึ่งจะเกิดคุณูประการต่อชนรุ่นหลังต่อไปในอนาคต

หมายเหตุเรียบเรียงจาก

1.      อูลามาอ์เบอรซาร็ปัตตานี เขียนโดย อะห์หมัด ฟัตฮี2.      เอกสารการสัมมนาเรื่องแนวคิดและอิทธิพลของัยดาวุด อัลฟะฏอนีย์ ในอาเซียน จัดโดยมหาวิทยาลัย มอ. ปัตตานี 2/06/2541 3.      เค้าโครงวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่องแนวคิดและอิทธิพลของัยดาวุด อัลฟะฏอนีย์กับการสอนวิชาหลักศรัทธาในจังหวัดชายแดนใต้ โดยอับดุลสุโก ดินอะ4.      ผู้นำศาสนาหรือโต๊ะครูชายแดนใต้ เขียนโดย จอกอ. เนชั่นสุดสัปดาห์    
คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรมศึกษา
หมายเลขบันทึก: 39942เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 12:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท