บันทึกองค์ความรู้ลุงเคียน ริเป็ก พ่อเฒ่าวัย ๗๐ ปี


จากการบูรณาการของหน่วยงานทำให้ผู้เขียนได้ข้อมูลที่น่าสนใจของคุณพรทิพย์ เมืองมาน้อย มาเล่าในแบบของพัฒนาชุมชน เพราะบังเอิญบุคคลเป้าหมายเราเป็นคนคนเดียวกันคือลุงเคี่ยน ริเป็ก ที่เป็นเครื่อข่ายการเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตามเนื้อเรื่องเชิญติดตามเลยครับ

เนื้อเรื่อง : เป็นการเล่าเรื่องถึง ความเป็นมาเหตุการณ์ และวิธีการปฏิบัติงานในเรื่องนั้นๆ อย่างไรบ้าง สะท้อนการทำงานของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ในการปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน โดยย่อ

พ่ออุ้ยเคี่ยน ลิเป็ก เกิดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2483 ปัจจุบันอายุ 70 ปี อยู่บ้านเลขที่ 25 หมู่ที่ 5 บ้านสันไทรงาม ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อาศัยอยู่กับภรรยา มีอาชีพทำนา ปัจจุบันไม่สามารถทำนาได้เพราะร่างการชรา จึงให้คนในหมู่บ้านทำนารับจ้าง พ่ออุ้ยเคี่ยนเป็นคนที่มีภูมิปัญญาด้านการจักสานเครื่องใช้ในครัวเรือนทุกชนิด ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ทุกวันนี่พ่ออุ้ยจะสาน กระบุง ตระกล้า สุ่มไก่ ทำกระบวย ไม้กวาด ฯลฯ เพื่อใช้ในคร้วเรือนและขายภายในหมู่บ้าน พ่ออุ้ยเคี่ยนยังปลูกพืชผักสวนครัวเอาไว้บริโภคเอง เป็นการลดค่าใช้จ่ายและได้ทานผักที่ปลอดสารพิษ นอกจากนั้นพ่ออุ้ยเคี่ยนยังเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองขายภายในหมู่บ้านเป็นรายได้เสริม รายได้ประมาณเดือนละ 1,000 2,000 บาท ระยะแรก พ่ออุ้ยเคี่ยนเลี้ยงไก่ไม่กี่ตัว แต่พอนานเข้า ไก่ออกลูกเพิ่มมากขึ้น และไปทำลายผักสวนครัว อุ้ยเคี่ยนเลยหาวิธีเลี้ยงไก่ไว้ในกรงเหมือน นก เหมือนสุนัข โดยการเอาไม้ไผ่มาสานขัดแตะธรรมดา ขนาด ประมาณ 60 X 80 ซม. แล้วนำมาประกอบกันเป็นกรงทั้งสี่ด้าน พื้นกรงก็สานให้ถี่หน่อย ทำประตูสำหรับใส่อาหาร ใส่น้ำไว้ช่องหนึ่ง กรงหนึ่งสามารถใส่ลูกไก่ประมาณ 10 ตัว พอไก่โตก็สามารถขนายใส่กรงอื่นต่อไป ขนาดกรงก็อาจะจะเพิ่มขนาดก็ได้ แต่สำหรับพ่ออุ้ยร่างกายไม่ค่อยแข็งแรงก็เอาขนาดพอดี พอยกไหว และสามารถใช้พื้นที่ไม่มากนัก และง่ายต่อการดูแลรักษา 

 

อุ้ยเคี่ยนยังสามารถเอาหญ้า และผักกระถินที่อยู่ในสวนเป็นอาหารของไก่พ่ออุ้ยได้เป็นอย่างดี ทำให้ไก่โตเร็ว และเป็นไก่ที่สะอาด ไม่ต้องลงไปเขี่ยดิน ไม่ติดเชื้อ และไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรค

บันทึกขุมความรู้(Knowledge Assets): นำเหตุการณ์ ประเด็น สำคัญในเนื้อเรื่องมาถอดเป็นขุมความรู้ 

พ่ออุ้ยเคียนได้ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ความพอประมาณ คือเลี้ยงไว้บริโภคภายในครัวเรือน ที่เหลือก็ขายในหมู่บ้าน ความมีเหตุผล เนื่องจากพ่ออุ้ยเคียนเป็นครอบครัวที่อยู่ในชนบทวิถีของการบริโภคก็จะทานอาหารพื้นเมืองที่ผลิตเองในครัวเรือน การมีภูมิคุ้มกัน สามารถมีแหล่งอาหารปลอดภัย ไว้บริโภคในครอบครัวได้ตลอดเวลา เหมือน 7 eleven ในครัวเรือน บนเงื่อนไขของความรู้ /คุณธรรม 

1. ความรู้ด้านภูมิปัญญาการจักสาน 

2. ความรู้เรื่องการหาอาหารพื้นบ้านสำหรับไก่ เช่น ปลูกหญ้า ปลูกกระถิน ใช้ลำเข้าที่ได้จากการสีข้าว 

3. ความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่พื้นเมือง พ่ออุ้ยมีความรู้จากประสบการณ์ว่า ในฤดูฝนจะไม่ให้ไก่ฟักไข่เป็นตัว ช่วงเดือน สิงหาคม - กันยายน เนื่องจากเลี้ยงต่อการติดโรค

4. มีรายได้เสริมจากการขายในท้องถิ่น 

แก่นความรู้(Core Competency) : นำขุมความรู้มาสกัดเป็นแก่นความรู้

ถึงพ่ออุ้ยเคี่ยนจะอายุ 70 ปี แต่ก็ยังสามารถดำรงชีพได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเป็นภาระของลูกหลาน ดำรงชีวิตแบบพอเพียง

กลยุทธ์ในการทำงาน : นำแก่นความรู้มากำหนดเป็นกลยุทธ์ในการทำงาน

อุ้ยเคียนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต โดยยึดหลักการปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน

กฎระเบียบ/แนวคิด/ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง

1. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

2. หลักการจัดการความรู้(KM = Knowledge Management) ในฐานะบทบาทพัฒนากร ต้องสวมบทบาทคุณเอื้อ

3. ทฤษฎีการจัดการความรู้(KM) มาสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่การปฏิบัติจริง

ชื่อผู้บันทึกความรู้

นางพรทิพย์ เมืองมาน้อย นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย Tel.0-5395-3500

คลิกดูภาพประกอบกิจกรรมของลุงเคี่ยน เพิ่มอีกครับ

 

หมายเลขบันทึก: 399293เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2010 05:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 11:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรื่องพ่ออุ้ยน่าสนใจมาก ภูมิปัญญาเช่นนี้ลูกหลานเรียนรู้ได้อย่างเป็นรูปธรรม

  • ดีจังเลยครับ
  • ที่มีการถอบบทเรียนแบบนี้
  • ความรู้จะไม่ได้สูญหายไป
  • ขอบคุณมากครับ
  • มาเขียนบ่อยๆๆนะครับ
  • เอาบ้านน้ำทรัพย์มาฝากครับ
  • http://gotoknow.org/blog/yahoo/390171
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท