พระอาจารย์ …… อาจารย์พระ….. ควรเลือกใช้คำไหนดี ?


เรากำลังใช้ราชาศัพท์ อย่างไม่เหมาะสม

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ กระแสแห่งการสนใจธรรม ของผู้คนในสังคมไทยเป็นไปอย่างกว้างขวาง มีการเปิดคอร์สฝึกอบรมเจริญวิปัสสนากรรมฐาน กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในวัด สำนักสงฆ์ สำนักชี รวมถึงสำนักของฆราวาส บางสำนักผู้ต้องการเข้าคอร์สอบรมต้องจองคิวกันเป็นปี ๆ ก็มี

หนังสือธรรม ซึ่งก็มีทั้งข้อเขียนของพระสงฆ์และฆราวาส จากที่เคยถูกจัดไว้ในมุมอับของร้านหนังสือ กลายเป็นหนังสือติดอันดับขายดีโชว์หราอยู่หน้าร้านดังทั้งหลาย นัยว่าน่าจะเป็นยุคกึงพุทธกาลอย่างแท้จริง นับว่าเป็นสิ่งที่ควรอนุโมทนาอย่างยิ่ง
และสิ่งที่มักจะได้ยินจนชินหูหรือเพราะเรียกกันจนติดปาก คือการเรียกขานฉายาของพระภิกษุ หรือพระสงฆ์ ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้หรือทำหน้าที่ในการสอนว่า พระอาจารย์…..

การใช้คำว่า พระอาจารย์ นำหน้าฉายาของพระสงฆ์ นั้นมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร มาช่วยกันพิจารณาดู

พระอาจารย์ เป็น คำประกอบกันขึ้นจากคำว่า พระ และ อาจารย์ ซึ่งเป็นคำนาม
คำว่า อาจารย์ ตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมาย หมายถึง ผู้สั่งสอนวิชาความรู้; คําที่ใช้เรียกนําหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงความยกย่องว่ามีความรู้ในทางใดทางหนึ่ง

ส่วนการเติมคำว่าพระนำหน้าคำนามทั้งหลายนั้น มีวัตถุประสงค์หรือเพื่อใช้ในกรณีของการต้องการเปลี่ยนคำนามสามัญหรือคำราชาศัพท์ที่ไม่สมบูรณ์ ให้เป็นคำราชาศัพท์ (ที่สมบูรณ์)

ตัวอย่างการเปลี่ยนคำราชาศัพท์ที่ไม่สมบูรณ์และคำสามัญ ให้เป็นคำราชาศัพท์

เช่น กรณีคำราชาศัพท์ไม่สมบูรณ์   บัญชร เปลี่ยนเป็นคำว่า พระบัญชร
                                              สหาย เปลี่ยนเป็น พระสหาย เป็นต้น

กรณีคำนามสามัญ                       เก้าอี้ เป็น พระเก้าอี้ 
                                               แท่น เป็น พระแท่น

เช่นกัน คำว่า อาจารย์ ซึ่งหมายถึงผู้ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ หรือทำการสอน
แต่หากถวายความรู้พระราชาหรือพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อเปลี่ยนเป็นคำราชาศัพท์ก็เปลี่ยนเป็น พระอาจารย์

ดังนั้น คำว่าพระอาจารย์ ในความหมายที่แท้จริงจึงอาจเป็นพระภิกษุ ฆราวาสหรือสามัญชน ก็ได้ หากแต่ได้ทำหน้าที่ ถวายความรู้พระราชาหรือพระบรมวงศานุวงศ์

หากพิจารณาด้วยเหตุผลอย่างนี้

การเรียกพระภิกษุ หรือ พระสงฆ์ ซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่สอนหรือถวายความรู้พระราชา หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ว่า พระอาจารย์….. จึงไม่น่าจะถูกต้อง


แล้วเราควรเรียกว่าอย่างไรกันดี …
ในความเห็นของผู้เขียน กรณีที่ท่านมีสมณศักดิ์ ก็เรียกตามสมณศักดิ์ของท่าน เช่น พระครู….
พระเทพ…. หรือกรณีบ่งบอกถึงคุณวุฒิของท่าน เช่นพระมหา… เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม
สำหรับพวกเราชาวไทย แม้เราใช้เพียงคำว่า พระ นำหน้า ย่อมเป็นคำเคารพยกย่องเชิดชู ท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสงฆ์ เป็นหนึ่งในพระรัตนตรัยที่เราชาวพุทธทั้งหลายให้ความเคารพอย่างยิ่งแล้ว แต่หากยังอยากจะเชิดชูท่านเป็นพิเศษในฐานะเป็นครูบาอาจารย์ด้วย ก็อาจจะใช้คำว่า อาจารย์พระ……. น่าจะเหมาะสมกว่านะครับ

ทั้งหมดเป็นเพียงข้อสังเกตของผู้เขียนที่สอบทานความรู้จากหลาย ๆแหล่ง และหวังว่าคงมีคำตอบโดยตรงจากทางราชบัณฑิตฯ หรือผู้รู้ทั้งหลายได้ช่วยกันพิจารณาและกำหนดเป็นบรรทัดฐานที่ถูกต้องกันต่อไปนะครับ

คำสำคัญ (Tags): #ธรรม#พระอาจารย์
หมายเลขบันทึก: 399256เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2010 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบพระคุณ ครูหยุย มากครับ ที่ร่วมแสดงความคิดเห็น

ผมเห็นด้วยครับกับครูหยุย ครับ

และครูหยุยมีข้อคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ กับการใช้คำว่าพระอาจารย์..... นำหน้าฉายาของพระ ครับ

นายทรงศักดิ์ เงินเมือง

ครูประถม ชาวบ้าน นักเรียนเรียกครูครูมัธยม ชาวบ้าน นักเรียนเรียกอาจารย์พระมาสอนนักเรียนในโรงเรียนคือครูพระสอนศิลธรรม หรือพระมีหน้าที่เป็นครูสอนพระเณรในโรงเรียนปริยัติธรรม น่าจะแทนตนเองว่า ครูพระ…. ถ้าคิดว่าสอนระดับประถมหรือคิดว่าสอนระดับมัธม น่าจะแทนตนเองว่า อาจารย์พระ…….เช่นเดียวกับครู เช่น ครูนิตยาเช่นเดียวกับอาจารย์ อาจารย์สมชายแต่ปัจจุบันเขาเรียกครูนำหน้าชื่อทั้งประถมมัธยม เพราะไม่มีตำแหน่งอาจารย์แล้ว ตำแหน่งอาจารย์จะสอนระดับอุดมศึกษา หรือมหาวิทยาลัย เพาะฉะนั้น พระที่ทำหน้าที่สอน น่าจะแทนตนเองว่า ครูพระ…….หรืออาจารย์พระ……._ไม่ใช่พระอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท