ไม่ติดยึดคำว่าวิชาการแต่ในห้องเรียน


        วันนี้มีโอกาสได้รับการทาบทามให้เป็นหนึ่งในฐานะนักวิชาการ ซึ่งมีทั้งจากภาครัฐ (ม.มหิดล) เอกชน (ม.อิสลามยะลา) ทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค (ม.ทักษิณ) ช่วยสะท้อนมุมมองและภาพสะท้อนงานบูรณาการพัฒนาพื้นที่พิเศษ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกอย่างผ่านพ้นด้วยดีครับ (อัลฮัมดุลิลละฮฺ)

         หลังจากเสร็จสิ้นเวทีดังกล่าวโจทย์ท้าทายที่ได้รับ คือ ในฐานะนักวิชาการจะร่วมผลักดันการทำงานของนักวิชาการในพื้นที่กับภาคประชาคม และเครือข่ายต่างๆในพื้นที่ (ผู้นำเยาวชน ผู้นำศาสนา และองค์กรภาคประชาชนต่างๆ) ให้ทำงานสอดรับปรับประสานการพัฒนาพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไร นักวิชาการจะอยู่จุดไหนของพื้นที่ที่มากกว่าการผลิตอักษรผ่านแว่นที่มองอย่างมีชีวิตมิใช่แค่ขีดๆเขียนๆเรื่องราวพื้นที่ตามอำเภอใจ จะทำอย่างไรให้องค์ความรู้ทางวิชาการไม่ถูกแช่แข็งอยู่ในห้องเรียน

         สิ้นเสียงการสะท้อนมุมมองได้รับการทาบทามจากอาจารย์ท่านนึงที่สนใจเรื่องวิสาหกิจชุมชนและนับเป็นนักวิสาหกิจชุมชนมือหนึ่งของเมืองไทยอย่างท่าน อ.จำนงค์ แรกพินิจ จากมหาวิทยาลัยทักษิณ ขับเคลื่อนงานที่ท่านอยากทำมานานและมองหาคนร่วมงานมานานแล้วเพราะท่านเคยได้รับทุนวิจัยจากภาครัฐในการขับเคลื่อนเรื่องนี้แต่ท่านรู้สึกไม่ค่อยมีความสุขกับคนทำงาน กับการทำงานดังกล่าวจึงอยากสานต่อและโจทย์ท้าทายก็คือว่าท่านสนใจ "การสร้างวิสาหกิจชุมชนด้วยวิถีอิสลาม" งานนี้ผมมองว่าเป็นงานใหญ่สำหรับผมครับ แต่ผมก็ไม่ได้ปฏิเสธท่านครับในการร่วมงานเพราะผมเชื่อว่าองค์ความรู้เรื่องเหล่านี้ ม.อิสลามยะลา ของผมน่าจะมีคำตอบในการร่วมขับเคลื่อนได้เพราะท่านบอกว่าท่านมีต้นทุนทางวิสาหกิจชุมชน นั่งอ่านงานแปลของอาจารย์ท่านนึงเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์อิสลาม ท่านยังงง (ไม่น่าแปลกหรอกครับที่ท่านงงเพราะมันเป็นงานที่เขาแปลมาอีกที อิอิ) สิง่ที่ท่านขาดคือองค์ความรู้ทางศาสนาอิสลามเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว (งานนี้เพื่อนผองน้องพี่เตรียมตัวดีๆครับ อิอิ เพราะท่านคงต้องทำหน้าที่สานต่อแล้วครับผมคงทำได้เพียงแค่นี้ครับ อิอิ)

       มุมสะท้อนอีกมุมที่เป็นสิ่งน่าคิดร่วมกันในเวทีวันนี้คือสิ่งที่เป็นคำพูดของ ผศ.เกษม  กุลประดิษฐ์  รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คือ ท่านรู้สึกดีที่ได้มาร่วมเวทีนี้และได้พูดคุยกับนักวิชาการต่างๆ ท่านมองว่าแม้เราจะต่างกันบ้างในเรื่องวิถีคิดแต่ท่านมองเห็นจุดร่วมในเป้าหมายเดียวกันในฐานะนักวิชาการ คือ การเป็นนักวิชาการที่เป็นมากกว่านักวิชาการ สิ่งที่ท่านทิ้งท้ายในการพูดคุยกับเสียงเล็กๆก่อนเดินทางกลับก็คือว่า "เราคงได้ร่วมงานกันในเร็วๆนี้"  อัลฮัมดุลิลละฮฺ

        ขอเพียงเราเป็นคนธรรมดาแต่เป็นส่วนหนึ่งที่มีค่าในสังคม (ด้วยความตั้งมั่นในเจตนา) ผมเชื่อครับว่าเสียงเล็กๆเสียงหนึ่งของเราจะเป็นหนึ่งเสียงในการขับเคลื่อนสังคมได้แม้อาจจะต้องใช้เวลาในการพิสูจน์สำหรับบางคน บางองค์กร บางพื้นที่ก็ตาม อย่างน้อยๆขอแค่วันนี้เราไม่ติดยึดกับบทบาทหน้าที่ของคำว่าวิชาการแค่ในห้องเรียน (วัลลอฮฺอะลัม)

       ด้วยความหวังและดุอาอฺ...

 

หมายเลขบันทึก: 399255เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2010 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อ่านดูแล้วทำให้นึกถึงบันทึกที่เพิ่งเขียนไปเมื่อบ่าย ๆ ...

หากทุกคนมองที่ "เป้าหมาย" ร่วมกัน แม้วิธีคิดหรือแนวทางการปฏิบัติอาจแตกต่างกันบ้าง...

แต่ความ "สำเร็จ" ย่อมเกิดขึ้นได้สักวันนะครับ...

ขอบคุณมากครับ

Ico32

Mr.Direct

เห็นด้วยครับกับการตอกย้ำความคิดนี้ครับ

หากทุกคนมองที่ "เป้าหมาย" ร่วมกัน แม้วิธีคิดหรือแนวทางการปฏิบัติอาจแตกต่างกันบ้าง...

แต่ความ "สำเร็จ" ย่อมเกิดขึ้นได้สักวันนะครับ...

มาชม

มาร่วมเชียร์ให้งานนี้ดำเนินไปด้วยดีมีผลต่อสังคมส่วนรวมนะครับผม...

ยังสบายดีอยู่นะครับ...

ขอบคุณมากครับอาจารย์ (ดร.อุทัย)

Ico32

umi

กำลังใจและความรู้สึกดีๆเป็นแรงใจให้ก้าวเดินต่อไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท