แป้นพิมพ์:การพัฒนากล้ามเนื้อเล็กของเด็กอนุบาล


กล้ามเนื้อเล็ก,แป้นพิมพ์

หลังจากห่างหายไปนาน เพราะมัวแต่ไปจัดระบบเว็บไซต์ของโรงเรียน และของศูนย์เครือข่าย ได้เวลากลับมาสังคมแห่งการเรียนรู้อีกครั้ง วันนี้มีไอเดียมาถามทุกคนว่า คุณจะนำแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์เก่าๆมาใช้ในการพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก และบูรณาการการสอนพยัญชนะอย่างไร.....

          การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก เป็นการส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเล็ก การประสานความสัมพันธ์ของมือและตา เป็นการพัฒนาการเคลื่อนไหวของข้อต่อส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งมีแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนากล้ามเนื้อเล็กได้อย่างหลากหลาย เช่น การจัดกิจกรรมให้เด็กได้เล่นเครื่องเล่นเกมสัมผัส ประเภทเกมต่อภาพ การฝึกช่วยตนเองในการแต่งกาย หยิบจับช้อนส้อม การใช้สีเทียน การร้อยลูกปัด เป็นต้น เท่าที่ประสบการณ์อันน้อยนิดของผู้เขียน ซึ่งเดิมได้คลุกคลีอยู่กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาเป็นส่วนมาก ครั้นได้มีโอกาสได้มาเป็นผู้บริหารโรงเรียนในระดับประถมศึกษา พบว่าตนเองมีความด้อยในเรื่องอนุบาลเป็นอันมาก จึงได้หันมาศึกษาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กอนุบาลเพิ่มขึ้น พบว่าโรงเรียนส่วนใหญ่จะจัดกิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อเล็กอยู่ 2 กิจกรรมหลัก คือ 1)การร้อยลูกปัด 2)การใช้สีเทียน เมื่อมีการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง เมื่อกลางปี 2552 มีโอกาสได้รับการแนะนำดีๆเป็นการส่วนตัวจากคณะกรรมการประเมินว่า ...ผอ.ลองบูรณาการการพัฒนาการเด็กอนุบาลในเรื่องกล้ามเนื้อเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการการอ่านของเด็กดูเป็นไร หาสิ่งเหลือใช้ไกล้ตัวมาใช้ นอกเหนือจากการใช้สีเทียนและร้อยลูกปัด...ก็น้อมรับคำแนะนำด้วยความยินดี....เวลาผ่านไปนานพอดู...วันหนึ่งช่วงพักเที่ยงได้สังเกตุเห็นเด็กอนุบาลกลุ่มหนึ่งมุงดูและเล่นที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยความอยากรู้ อยากเห็น อยากทดลองของเด็ก ทำให้เด็กเหล่านั้นเคาะแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์เล่นโดยไม่รู้จักตัวอักษรอะไรเลย(เด็กเข้าใหม่) เลยแว้บความคิดไปถึงคำแนะนำ ของคณะกรรมการประเมินภายนอกรอบสองท่านนั้นอีกครั้ง ด้วยความไม่แน่ใจ ได้นำความคิดนี้ในสมองนี้ไปสอบถามครูที่รับผิดชอบชั้นอนุบาลว่า การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กมีวิธีการอย่างไรบ้าง ได้รับคำตอบพอสรุปได้ว่า เป็นการพัฒนาความสัมพันธืของการเคลื่อนไหวกับสายตา และพัฒนาในกลุ่มของข้อต่อของนิ้วมือเป็นหลัก เลยแนะนำให้ครูผู้สอนลองคิดหาวิธีการนำแป้นพิมพ์เก่าๆมาให้ได้เด็กได้เล่น แล้วบูรณาการเข้ากับการสอนพยัชนะไทยและการอ่านเบื้องต้นด้วย ..ซึ่งครูท่านนั้นได้รับปากไปดำเนินการให้

สรุปขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1.ครูแนะนำให้นักเรียนได้รู้จักกับแป้นพิมพ์
2.ให้นักเรียนได้มีโอกาสให้นักเรียนได้สัมผัสแป้นพิมพ์อย่างอิสระ ครูคอยตอบคำถามเด็ก
3.ครูเริ่มต้นแนะนำให้นักเรียนได้รู้จักกับตัวอักษร "ก" พร้อมบอกว่าอยู่ตรงส่วนใดของแป้นพิมพ์
4.ครูแนะนำให้นักเรียนได้รู้จัก อักษรตัวต่อไป "ฟ" "ห" "ด" "เครื่องหมายเอก" "สระอา" "ส" "ว"
5.ครูพูดคุย และให้นักเรียนปฏิบัติตามคำสั้งของครู โดยการใช้นิ้วกดแป้นพิมพ์ตามคำบอก
6.แนะนำหลักการวางมือบนแป้นพิมพ์ และหลักการพิมพ์เบื้องต้น
7.ฝึกจนนักเรียนคล่อง(ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นการพิมพ์แบบสัมผัส การจิ้มก็ถือว่าใช้ได้)
8.ให้นักเรียนฝึกทำบนคอมพิวเตอร์จริง

หมายเหตุ กิจกรรมนี้อาจปรับเปลี่ยนไปตามความสนใจของเด็กและพัฒนาการของเด็ก
             และอาจประยุกต์ใช้กับการแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของเด็กด้วย

หมายเลขบันทึก: 399221เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2010 17:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นวัตกรรมการศึกษาชิ้นนี้น่าสนใจทีเดียวครับ ;)

จะทะยอยเขียนลงเรื่อยๆครับ...ฝากเข้าเยี่ยมชมที่ http://www.nakhum.com ด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท