ระเบียบราชการ


กรอบการจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน

กรอบการจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน

งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ทำให้หน่วยงานของรัฐได้รับข้อมูลทางการเงินและการจัดการที่บ่งบอกถึงผลผลิต (Outputs - สิ่งของและบริการ) ที่จัดทำโดยส่วนงานนั้นๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการได้มาซึ่งผลผลิตนั้น และความเชื่อมโยงของผลผลิตและผลลัพธ์ (Outcoms -ผลที่ตามมา ผลกระทบและผลสำเร็จ) ที่รัฐบาลต้องการ ดดยแนวทางนี้การตัดสินใจในการจัดสรรทรัพยากรจึงอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลด้านผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกันกับวัตถุประสงค์ของนโยบาย

เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลภายใต้งบประมาณที่จำกัด จำเป็นต้องดำเนินการเงื่อนไขการจัดการทางการเงินซึ่งเรียกว่า มาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 ด้าน (Hurdles) ดังนี้

  1. การวางแผนงบประมาณ (Budget Planing)

การจัดงบประมาณของประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในชาตินั้น ส่วนราชการจำเป็นต้องดำเนินการในสิ่งที่เป็นพันธกิจหลักของหน่วยงาน เพื่อสนองตอบต่อเป้าหมายขององค์กรแลบะเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการเป็นสิ่งแรกก็คือ การจัดแผนกลยุทธ์ เพื่อนำกลยุทธ์ที่ได้ไปใช้ในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงคต์ที่วางไว้ และจะต้องได้ผลผลิตและผลลัพธ์จากการดำเนินงานคืออะไร จะใช้สิ่งใดเป็ฯจตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน

กลยุทธที่ได้จากการดำเนินการจัดทำแผนกลยุทธ์ดังกล่าว จะต้องนำมาแปลงสู่แผนการดำเนินงานหรือกลยุทธ์ในการปฏิบัติงาน พร้อมจัดทำนโยบายใช้จ่ายในแต่ละแผนงาน งาน/โครงการ ตามประเภทค่าใช้จ่ายที่กำหนด และครอบคลุมแหล่งเงิบงบประมาณ รวมถึงการประมาณการค่าใช้จ่ายล่วงหน้าสำหรับการดำเนินงานอีก 3 ปีงบประมาณ เพื่อเป็นการประกันได้ว่าหากสถานการณ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หน่วยงานจะสามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องและทำให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้

  1. การคำนวนต้นทุนผลผลิด (Output Costing)

ต้นทุนการผลิต เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับการจัดทำ และบริหารงบประมาณเพราะต้นทุนผลผลิตเป็นตัวที่แสดงถึงราคาของผลผลิตที่รัฐบาลจะต้องจัดซื้อจากหน่วยงานเป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งในการวัดประสิทธภาพในการดำเนินงาน รวมถึงประโยชน์ในการพิจารณาทบทวนการดำเนินงานของหน่วยงานว่า งาน/โครงการดังกล่าวจะดำเนินการต่อไปหรือหยุดการดำเนินการหากดำเนินงานไม่มีประสิทธิฟลและประสิทธิภาพ

ดังนั้น ในส่วนราชการจำเป็นต้องจัดวางระบบในการคิดต้นทุนผลผลิตที่เหมาะสมและสามารถแสดงผลได้รวดเร็ว เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการดำเนินงานและการติดตามตรวจสอบนอกจากนั้นจะต้องมีระบบการบริหารต้นทุนที่จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

  1. การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง(Procurement Management)

กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดการประหยัดในการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน และจะมีผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนของการผลิต กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่ดี โปร่งใส ยุติธรรม และตรวจสอบได้ จะช่วยลดการสูญเสียงบประมาณ ดังนั้ส่วนราชการจะต้องจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่ดี มีแผนในการจัดซื้อจัดจ้างที่จะบ่งบอกว่าจะจัดซื้อจัดจ้างพัสดุชนิดไหน จำนวนเท่าไร ในเวลาใด และจะจัดอย่างไร เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงานได้ทันเวลา มีปริมาณ คุณภาพ มีราคาที่เหมาะสมและสมประโยชน์ในการใช้

  1. การบริหารทางการเงินและควบคุมงบประมาณ (Financial Mangement and Budget Control)

การควบคุมงบประมาณเป็นกลไกที่จะเป็นสำหรับการประกันว่า ความคล่องตัวทางการงบประมาณที่ส่วนราชการได้รับ (จากการกระจายอำนาจและผ่อนคลายการควบคุม) จากหน่วยงานกลางนั้น จะไม่นำไปสู่การกระจายงบประมาณที่ไม่เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลดังนั้น ภานในส่วนราชการแต่ละระดับจะต้องมีมาตรฐานในการควบคุมงบประมาณ รวมถึงการกำหนดความรับปิดชอบในเรื่องการบัญชีและการเงิน

รายการทางบัญชี (Chat of accout) จะต้องแสดงถึงรายการที่จำเป็นเหมาะสมเพื่อประโยชน์ในการควบคุมงบประมาณ และคำนวณต้นทุนต่อหน่วย (Unit Cost) สำหรับการรายงานผลการดำเนินงาน รวมถึงมีระบบการอนุมัติ ตรวจสอบ เช็คกระทบยอด และการกบันทึกเพื่อควบคุมการใช้จ่ายเงินงบประมาณ

  1. การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน (Financial and Performance Reporting)

การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน และส่วนหนึ่งของกระบวนการติดตามและประเมินผล เป็นการแสดงความโปร่งใสของการใช้จ่ายเงิน ประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการปฏิบัติ เป็นเครื่องมือที่ใช้กำกับการดำเนินงานขององค์กรต่าง ๆ เพื่อจะบ่งชี้ถึงผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายในแต่ละช่วงแวลา รวมถึงเป็นข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ในการตัดสินใจของรัฐบาลว่าควรจะดำเนินกิจกรรมหรือมีหน่วยงานนั้นต่อไปหรือไม่อย่างไร

  1. การบริหารสินทรัพย์ (Asset Management)

สินทรัพย์ นับเป็นปัจจับสำคัญยิ่งในการดำเนินงานของทุกองค์กร หากองค์กรมีการใช้สินทรัพย์ที่ไม่คุ้มค่าหรือไม่มีประสิทธิภาพ ก็จะเป็นผลให้มีต้นทุนในการดำเนินการสูงกว่าที่ควรจะเป็น สาเหุทั่วไปของการสิ้นเปลืองงบประมาณอันเนื่องมาจากการใช้สินทรัพย์ ได้แก่ ไม่มีการาบำรุงรักษาสินทรัพย์ ความสูญหาย การจัดซื้อสินทรัพย์ใหม่ในจณะที่าอนทรัพย์เดิมยังสามารถใช้งานได้ การขาดความชัดเจนของกฏระเบียบในการขายสินทรัพย์เดิมไม่ก่อให้เกิดผลผลิต รวมถึงการขาดการบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้บังเกิดผลผระโยชน์สูงสุด ดังนั้น องค์กรภาครัฐจึงจำเป็นต้องมีการบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิดสัมฤทธิผล และมีการจัดซื้อสินทรัพย์ใหม่เท่าที่จะเป็นอย่างแท้จริง

  1. การตรวจสอบภายใน (Internal Audit)

การปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณ จากงบประมาณแบบแผนงานไปสู่ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน จะมีการลดบทบาทของหน่วยงานกลางที่เคยทำหน้าที่ในการควบคุมการดำเนินงานส่วนราชการ และให้ส่วนราชการมีความคล่งตัวในการบิรหารงบประมาณมากขึ้นในขณะเดียวกันอาจจะส่งผลให้มีการใช้งบประมาณอย่างไม่มีประสิทธิภาพได้ ดังนั้น การตรวจสอบภายใน จึงถือเป็นกลไกที่สำคัญในการควบคุมการใช้งบประมาณให้เป็นไปในทางที่ถูกต้องและมีสัมฤทธิ์ผล

ในส่วนของกระทรวงศึกษานั้น สำนักงบประมาณได้ตกที่จะให้สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ และกรมสามัญศึกษา เป้นหน่วยงานนำร่องปรับปนรุงระบบการจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ซึ่งได้ลงนามในข้อตกลงดังกล่าวตั้งแต่เดือนกันยายน 2542 ที่ผ่านมา และสืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และกรมสามัญศึกษานั้น เป็นหน่วยงานใหญ่มีโรงเรียนในสังกัดเป้ฯจำนวนมาก ประกอบกับระบบงบประมษรแบบมุ่งเน้นผลงานนั้นเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ดังนั้น การที่จะเปลี่ยนแหลงระบบงบประมาณดังกล่าวกับหน่วยงานขนาดใหญ่เช่นนี้ ไปพร้อมๆ กันทุกจุดของหน่วยงานในสังกัด ก็อาจเกิดความล้มเหลวได้ ยุทธศาสตร์ที่นำมาใช้ก็คือจะมีการทดลองระบบการจัดการงบประมาณที่มุ่งเน้นผลงานกับกลุ่มตัวอย่างจำนวนหนึ่งก่อน เมื่อได้ผลเป็นที่น่าพอใจแล้วจึงค่อยขยายผลในโอกาสต่อไป

ในการทดลองใช้ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานในครั้งนี้ จะแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมการ ระยะทดลอง และระยะขยายผลทดลอง ซึ่งแผนการดำเนินงานฉบับนี้จะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้มองเห็นภาพตลอดแนวของการดำเนินงานรวมทั้งงบประมาณที่จะใช้ในแต่ละกิจกรรม รวมไปถึงสิ่งที่จะได้รับหรือหลการดำเนินงานแต่ละช่วง โดยมีความเชื่อว่าหากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้รู้และเข้าใจในสิ่งที่จะเนินการตรงกันตลอดแนวแล้วก็ถือว่าเป็นปัจจัยเอื้อประการหนึ่งที่จะส่อให้เกิดความสำเร็จตามต้องการ

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 399037เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2010 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท