shukur2003


ต่อการศึกษาชายแดนใต้

my URL http://gotoknow.org/blog/shukur2003/post

3.  ทำความรู้จัก 'ปอเนาะ
รากศัพท์ของคำว่า "ปอเนาะ" เป็นคำภาษามลายูปัตตานีเพี้ยนมาจากภาษาอาหรับว่า FUNDOK อ่านว่าฟุนโด๊ก แปลว่า กระท่อม ที่พัก หรือโรงแรม
ความหมายในที่นี้หมายถึง "สำนักศึกษาเล่าเรียนวิชาการศาสนาอิสลาม"
สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ฉบับทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) สงขลา ฉบับ พ.ศ.๒๕๒๙ เล่ม ๗ ระบุความเป็นมาว่า เชื่อกันว่าปอเนาะเกิดขึ้นในประเทศอียิปต์ แล้วแพร่มาสู่เอเชียที่ประเทศมาเลเซียก่อน ต่อมาจึงแพร่เข้าสู่เส้นทางใต้ของประเทศไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเริ่มที่ปัตตานีเป็นแห่งแรก แล้วขยายไปสู่ท้องถิ่นที่มีชาวไทยมุสลิมทั้งในภาคใต้และภาคกลาง"ปอเนาะ" ถือเป็นการศึกษาเพื่อชุมชนแบบพึ่งตนเอง เกิดที่ปัตตานีเมื่อ ๒๐๐ ปีมาแล้ว โดยปอเนาะแรกคือ บืดนังดายอ ใกล้ๆ ต.สะนอ, อ.ยะรัง, จังหวัดปัตตานีข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) เขตการศึกษา ๒ (อดีต) ระบุว่า กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศระเบียบกระทรวงฯ ว่าด้วยการปรับปรุงส่งเสริมปอเนาะ ออกมาเมื่อปี ๒๕๐๔ สาระสำคัญคือ ให้ปอเนาะยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนต่อทางราชการต่อมาในปี ๒๕๐๘ รัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรีให้ปอเนาะที่ขึ้นทะเบียนแล้ว แปรสภาพเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม ให้ปรับปรุงการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐาน ให้มีหลักสูตรการสอน มีชั้นเรียน โต๊ะ เก้าอี้ กระดานดำ มีระยะจบการศึกษาที่แน่นอน และให้เปิดสอนวิชาสามัญด้วย. ทางราชการจะช่วยเหลือส่งเสริมโดยการให้เงินอุดหนุน ส่งครูไปช่วยสอนวิชาสามัญ และผ่อนปรนในเรื่องคุณสมบัติบางประการของเจ้าของ ผู้จัดการ ครูใหญ่ และครูผู้สอน โดยไม่ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พ.ศ.๒๔๙๗ อย่างเคร่งครัดปี ๒๕๑๐ คณะรัฐมนตรีมีมติให้เร่งรัดปอเนาะที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งหมด ให้มาขอแปรสภาพจากปอเนาะเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม ให้เสร็จสิ้นภายใน ๑๕ มิถุนายน ๒๕๑๔ ไม่เช่นนั้นให้ถือว่าปอเนาะนั้นล้มเลิกไป และหลังจากนั้นห้ามก่อตั้งปอเนาะขึ้นมาอีก หากจะตั้งต้องเปิดสอนในรูปแบบของโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลามเท่านั้นถึงปี ๒๕๑๔ มีปอเนาะจำนวนมากถึง ๔๒๖ แห่ง มายื่นความจำนงขอแปรสภาพกับทางการ แต่บางแห่งที่เคยขึ้นทะเบียนด้วยความจำยอม เนื่องจากถูกบีบจากทางการ ถูกข่มขู่จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็ไม่ยอมแปรสภาพ อีกบางส่วนยอมแปรสภาพจากปอเนาะไปสู่ระบบโรงเรียน แต่สอนเฉพาะวิชาศาสนาเท่านั้น ตามหลักสูตรและแผนการสอนที่โรงเรียนปอเนาะแห่งนั้นๆ กำหนดขึ้นเอง และนอกจากนี้ยังมีปอเนาะแห่งใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลาการศึกษาของมุสลิมจึงแบ่งออกเป็นสองรูปแบบ คือ "ปอเนาะ" อันเป็นรูปแบบการศึกษาดั้งเดิมของท้องถิ่นกับการศึกษาในระบบ "โรงเรียน" ที่เรียกกันติดปากว่า โรงเรียนปอเนาะ ซึ่งมีการแบ่งชั้นเรียน มีชุดเครื่องแบบ มีโต๊ะเก้าอี้นั่งเรียน มีการนับชั้น และกำหนดระยะจบการศึกษา และโรงเรียนปอเนาะยังแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ สอนทั้งวิชาสามัญและศาสนา กับสอนเฉพาะวิชาศาสนาเพียงอย่างเดียวในปี ๒๕๒๖ ชื่อโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลามถูกรัฐบาลเปลี่ยนเป็น โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เพื่อสอดคล้องตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ และออกระเบียบการให้เงินอุดหนุนแก่โรงเรียนเอกชนฯ ที่สอนวิชาสามัญควบคู่วิชาศาสนาอิสลาม ฉบับแก้ไขครั้งล่าสุดออกมาเมื่อปี ๒๕๔๕ ให้เงินอุดหนุนแก่โรงเรียนที่ได้มาตรฐานตามมาตรา ๑๕ (๑) ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เต็ม ส่วนโรงเรียนที่อยู่ในระยะเตรียมความพร้อม และโรงเรียนที่เพิ่งจดทะเบียนหลังวันออกระเบียบให้เงินอุดหนุน ๖๐ เปอร์เซ็นต์ แต่สำหรับโรงเรียนที่สอนเฉพาะวิชาศาสนา จะไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล เงื่อนไขนี้สร้างความน้อยเนื้อต่ำใจให้แก่ปอเนาะหลายแห่งปอเนาะที่ผ่านการแปรสภาพเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับ กระทั่งปัจจุบัน การบริหารและการดำเนินกิจการของโรงเรียนเป็นไปอย่างมีระบบ บุคลากรได้รับการพัฒนาอบรม อาคารสถานที่มั่นคงถาวรและได้รับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาดั่งโรงเรียนสามัญทั่วประเทศไทยในด้านหลักสูตร ได้นำเอาหลักสูตรสามัญศึกษาของโรงเรียนมัธยมต้น และมัธยมปลายมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ มีโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมากมายเช่น ธรรมวิทยามูลนิธิ, พัฒนาวิทยา, จ.ยะลา. ดารุสสลาม, อัตตัรกียะห์, จ.นราธิวาส. ดรุณวิยา, บำรุงอิสลาม, จ. ปัตตานี เป็นต้น. ซึ่งนักเรียนสามารถเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในประเทศทุกสาขาวิชา และต่างประเทศในหลายมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย ออสเตรเลีย อังกฤษ และสหรัฐในหลักสูตรสามัญและโลกอาหรับในหลักสูตรศาสนา. บางโรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่อนุบาล-มัธยมปลาย

ส่วนหลักสูตรศาสนาอิสลามได้แบ่งชั้นเรียนเป็น ๑๐ ชั้นปี ได้แก่ หลักสูตรอิสลามศึกษาตอนต้น (- อิบติดาอียะฮฺ ปีที่ ๑-๔ -) หลักสูตรอิสลามศึกษาตอนกลาง (- มุตาวัซซีเตาะฮฺ ปีที่ ๕-๗) และหลักสูตรอิสลามศึกษาตอนปลาย (- ซานาวียะฮฺ ปีที่ ๘-๑๐) มาตรฐานของโรงเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน ทำให้โรงเรียนปอเนาะได้รับความสนใจมาก เพราะนักเรียนมีความรู้ทั่งศาสนาและสามัญ ดั่งสโลแกนของบางโรงที่กล่าวว่า "ความรู้ทางโลกปราศจากศาสนา โลกจะสงบสุขได้อย่างไร"
สำหรับปอเนาะที่สอนเฉพาะศาสนาอิสลามอย่างเดียว
 
ปอเนาะประเภทนี้ เป็นสถาบันที่สอนศาสนาและวัฒนธรรมอิสลามแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป ทั้งนี้โดยมีผู้ที่มีความรู้ทางด้านศาสนาอิสลาม และต้องมีภาวะเป็นผู้นำของชุมชนที่เรียกว่า`ตุวันคูรู ในภาษามลายูหรือ "โต๊ะครู" และโต๊ะครูในที่นี้ คือ เจ้าของปอเนาะด้วย การจัดตั้งปอเนาะเป็นไปตามความศรัทธาของชุมชน ที่ต้องการให้มีสถาบันการสอนศาสนาอิสลาม ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมอันดีงามตามหลักศาสนาอิสลามแก่ เยาวชนมุสลิม โดยมีโต๊ะครูซึ่งจะเป็นทั้งผู้สอนและผู้จัดการปอเนาะ การเรียนการสอนในปอเนาะ จะเน้นการเรียนรู้หลักศรัทธา, คัมภีร์อัลกุรอาน, อรรถาธิบายอัลกุรอาน, วจนะศาสดา, กฏหมายอิสลาม, มารยาทอิสลาม และมารยาทกับต่างศาสนิก, ภาษาอาหรับ, สำนวนโวหารอาหรับ, ตรรกศาสตร์, ปรัชญาอิสลาม, ดาราศาสตร์, โดยศึกษาจากตำราที่เป็นภาษาอาหรับ หรือ "ภาษามลายูอักษรยาวี" ซึ่งเรียกว่า "กีตาบยาวี" โดยตำราทั้งสองภาษา ใช้สำนวนภาษาของคนสมัยก่อน (คนสมัยนี้อ่านแล้วยากแก่การเข้าใจ ต้องเรียนกับโต๊ะครูหรือผ่านการศึกษาระบบปอเนาะอย่างเดียวเท่านั้นจึงจะเข้าใจ)ในส่วนของโต๊ะครูปอเนาะแต่ละคนนั้น จะมีความรู้ ความถนัด รวมทั้งวิธีการถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนที่แตกต่างกัน รูปแบบ ช่วงชั้น ช่วงเวลา หลักสูตรและการวัดผลที่แน่นอน อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของโต๊ะครู มีทั้งโต๊ะครูสอนเองหรือลูกศิษย์ที่โต๊ะครูเห็นว่า สามารถช่วยสอนแทนได้ในบางวิชา ทั้งนี้โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ. ในส่วนของผู้เรียน สามารถเรียนได้ตลอดชีวิต หรือจนกว่าผู้เรียนจะขอลาออกไปประกอบอาชีพ หรือในกรณีโต๊ะครูพิจารณาแล้วว่ามีความรู้ เพียงพอแล้ว ผู้มาเรียนปอเนาะจะต้องเป็นผู้ที่ผู้ปกครองนำมาฝากไว้กับโต๊ะครู และต้องอยู่ ในบ้านที่เป็นกระท่อมหรือปอเนาะ ซึ่งจะตั้งเรียงรายอยู่ในบริเวณบ้านของโต๊ะครู หรือบ้าน ที่โต๊ะครูกำหนดให้อยู่ ผู้เรียนจะต้องหาอาหารและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง เฉลี่ยคนละ 30-50 บาทต่อวัน ในปอเนาะบางแห่งมีคนชราและผู้ยากไร้ อยู่ด้วยมีผู้เรียนหลากหลายกลุ่มอายุปะปนกัน ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และคนชรา การเรียนการสอนจะแยกกันเด็ดขาดระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย ผู้เรียนปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด การแต่งกายถูกต้องมิดชิดตามหลักศาสนานักเรียนที่มาเรียนในปอเนาะจะมีทั้งที่จบชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย มหาวิทยาลัย บางคนเรียนหลักสูตรปอเนาะในเวลากลางคืนและหลังรุ่งสางส่วนกลางวันหากเป็นนักเรียนก็จะไปโรงเรียนที่เขาสังกัด หากเป็นผู้ใหญ่กลางวันจะทำงาน (เพราะฉะนั้นการบรรจุการสอนวิชาสามัญเป็นภาษาไทยจึงไม่จำเป็น)การจัดตั้งปอเนาะใช่ว่าใครคิดจะตั้งก็ตั้งได้ ผู้ก่อตั้งจะต้องมีความรู้ทางศาสนาชั้นสูง มีความตั้งใจจริง มีจิตใจบริสุทธิ์ และตั้งมั่นในความเสียสละอย่างแรงกล้าการสร้างปอเนาะ ทีละหมาด สาธารณูปโภคต่างได้รับการช่วยเหลือจากผู้มีจิตศรัทธาในชุมชนและนอกชุมชนการเติบโตของปอเนาะขึ้นอยู่กับชื่อเสียงของโต๊ะครูเป็นสำคัญ โต๊ะครูที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ประชาชนให้การยอมรับ มักจะมีผู้มาสมัครเป็นลูกศิษย์เป็นจำนวนมากเช่นปอเนาะดาลอที่ปัตตานี ปอเนาะจะมีขนาดเล็ก หรือใหญ่ ขึ้นอยู่กับสถานภาพและความรู้ ความสามารถของผู้เป็นเจ้าของดังได้กล่าวแล้วการดำรงอยู่ของปอเนาะ ขึ้นอยู่กับความเลื่อมใสศรัทธาของผู้ปกครองนักเรียน ฉะนั้นเมื่อโต๊ะครูถึงแก่กรรม และไม่มีทายาทสืบต่อ หรือประชาชนเสื่อมความนิยม ก็จะล้มเลิกกิจการไปเอง จึงมักพบเห็นปอเนาะร้างมีปรากฏอยู่ทั่วไปการเรียนในปอเนาะไม่ใช่เรียนเพื่อรับปริญญา หรือศึกษาต่อในระบบโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยทั้งในหรือต่างประเทศ การเรียนการสอนในปอเนาะไม่ใช่เพื่อประกอบอาชีพแต่การเรียนการสอนในปอเนาะคือการทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจหลักคำสอนของศาสนาอิสลามหลักคำสอนของศาสนาอิสลามในปอเนาะมีทั้งพื้นฐานความรู้ทั่วไปที่ทุกคนจะต้องรู้และนำไปปฏิบัติ ในขณะเดียวกันมีหลักคำสอนสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนเป็นถึงระดับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ(อิสลามศึกษา)การถือกำเนิดปอเนาะในภาคใต้นั้นมิใช่เพื่อสนองอารมณ์ หรือธุรกิจแต่จริงๆแล้วเพื่อสนองหลักการศึกษาศาสนาอิสลามเพราะอิสลามสอนให้มนุษย์มีการศึกษาตลอดชีวิตและเก่ง ดี มีสุข ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ ปี พ.ศ.2542 (โปรดดู พรบ.การศึกษา 2542 หมวดที่1-4)
มุสลิมที่ดีต้องศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา และปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาอย่างเคร่งครัด ดังปรัชญาของอิสลามที่ว่า "จงศึกษาตั้งแต่อยู่ในเปลจนถึงหลุมฝังศพ" หรือ "ผู้มีความรู้ มีหน้าที่สอนผู้ที่ไม่รู้" หรือ "ผู้ที่ดีเลิศ คือผู้ที่เรียนและสอนกุรฺอาน" ดังนั้น ปอเนาะจึงเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นแหล่งเผยแผ่ศาสนาในคราวเดียวกัน
ในอดีตปราชญ์อิสลามระดับอาเซียนถือกำเนิดจากระบบปอเนาะในจังหวัดชายแดนใต้เช่น เชคดาวุด เชคอะห์มัด จนถึงโต๊ะครูอาเยาะเดร์ สะกัม (โปรดดู หนังสือ อูลามาอ์เบอร็ซาร็ปัตตานี เขียนโดย อะห์หมัด ฟัตฮี) ด้วยจุดเด่นของปอเนาะดังกล่าวทำให้การศึกษาอิสลามระบบปอเนาะใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ดีที่สุดในประเทศไทยและกลุ่มอาเซียนด้วยกัน จึงทำให้มีมุสลิมจากภาคอื่นๆ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย กัมพูชาและเวียดนามมาศึกษาเล่าเรียนที่นี่หากรัฐคำนึงถึงจุดเด่นข้อนี้และช่วยเหลือพัฒนาอย่างถูกต้องไม่แน่ประเทศไทยสามารถเป็นศูนย์กลางอิสลามศึกษาในระบบปอเนาะระดับอาเซียน อันจะดึงเม็ดเงินจากเพื่อนบ้านได้ในที่สุด(ผู้ว่าซีอีโอ 3 จังหวัดซึ่งมีงบนับร้อยล้าน น่าจะทำปอเนาะนานาชาติในฝันแข่งกับการท่องเที่ยวดูว่า ใครจะนำเงินตราต่างประเทศมากกว่ากัน)
อ. อาหมัด เบ็ญอาหลีผู้ครำวอดวงการศึกษา และทำงานนื้นที่มานาน (อดีตผู้ตรวจราชการ สพท.นราธิวาส เขต ๒ ปัจจุบันรองผู้นวยการ สพท.สงขลา เขต ๒) เคยเสนอว่า ในเมื่อปอเนาะเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ของชุมชน การใช้ปอเนาะเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงกลไกภาครัฐสู่ภาคประชาชน จึงเป็นทางเลือกที่ไม่ควรมองข้าม
เพื่อให้การบริหารจัดการปอเนาะได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน และสอดคล้องกับนโยบายพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลควรมีแนวทางดำเนินการ ดังนี้๑. จดทะเบียนปอเนาะที่เหลืออยู่ทุกแห่ง ให้เข้าสู่ระบบที่ถูกต้อง เพื่อความสะดวกในการพัฒนาและดูแลอย่างใกล้ชิด

๒. ควรให้เงินอุดหนุนเป็นค่าตอบแทนแก่โต๊ะครู และครูสอนศาสนาตามความเหมาะสม เนื่องจากบุคคลเหล่านี้มีความรับผิดชอบสูง ทั้งด้านการจัดการเรียนการสอนและการอบรมจริยธรรม

๓. ควรให้การสนับสนุนด้านอาคารสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้นักเรียน และครุภัณฑ์ที่จำเป็นพร้อม ทั้งห้องสมุด เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้เรียน

๔. สนับสนุนสื่อการสอนประเภทต่างๆ

๕. ควรให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องร่วมกันบูรณาการการพัฒนาปอเนาะในด้านต่างๆ ดังนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ดูแลด้านการศึกษาและงานอาชีพ, กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้การสงเคราะห์คนชราและผู้ยากไร้, กระทรวงสาธารณสุข ดูแลด้านสุขภาพอนามัย, และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ส่งเสริมด้านการกีฬาและนันทนาการ
แต่เมื่อ "ปอเนาะ" ถูกมองในแง่ร้ายและเสนอให้ยกเลิกสถาบันปอเนาะที่สอนเฉพาะศาสนา และบังคับให้เปิดเป็นโรงเรียนสอนศาสนาเอกชน บรรจุการสอนวิชาสามัญเป็นภาษาไทยควบคู่ไปกับวิชาศาสนา เพราะเยาวชนที่ไม่รู้วิชาสามัญ ทำให้ไม่สามารถศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ เป็นการเข้าใจบริบท บทบาท ภารกิจของปอเนาะที่มีต่อชุมชนที่ไม่น่าถูกต้องนัก  4. เปรียบเทียบการศึกษาในวัดและสถาบันปอเนาะกับโรงเรียน[1]
          อันที่จริง การจัดการศึกษาในสถาบันปอเนาะและวัดเป็นระบบการศึกษาอีกอย่างหนึ่งซึ่งไม่ใช่การศึกษาระบบโรงเรียน อันเป็นระบบการศึกษาที่เกิดขึ้นเพื่อรับใช้การผลิตในระบบอุตสาหกรรมและตะวันตกจะเห็นได้ว่าหากจะสังเกตข้อบกพร่องในระบบโรงเรียนหลายอย่าง และพรบ.การศึกษา 2542 ได้พยายามปฏิรูประบบโรงเรียนเพื่อแก้ไขความบกพร่องนั้น น่าประหลาดที่ว่าหลายอย่างที่เป็นเป้าหมายของการปฏิรูประบบโรงเรียนนั้น กลับไปตรงกับการจัดการศึกษาระบบปอเนาะและวัดน่าเสียดายที่การศึกษาระบบวัดของไทยถูกละเลย อันเป็นผลมาจากการปฏิรูปการศึกษาแบบตะวันตกทุกฝีเก้าจึงเป็นเหตุให้หลายคนโดยเฉพาะเด็กสมัยใหม่  ผู้บริหารที่จบทฤษฎีการศึกษาจากตะวันตกหลายคน ไม่เข้าใจและมองข้ามการศึกษาระบบวัดและปอเนาะ หรือพยายามอธิบายระบบการศึกษาแบบนี้อย่างผิดฝาผิดตัว ด้วยการถือการศึกษาระบบโรงเรียนเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบเช่น เมื่อไม่รู้จะเทียบการศึกษาในปอเนาะเท่ากับมาตรฐานอะไรในระบบโรงเรียน ก็มักจะเทียบกับโรงเรียนประถมหรืออย่างเก่งก็มัธยมต้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว โต๊ะปาเก (ผู้เรียนในปอเนาะ) ล้วนจบชั้นประถมศึกษามาแล้ว บางรายอาจจบปริญญาตรีแล้วด้วยซ้ำ เพราะปอเนาะ "สอนศาสนา" จากความรู้ขั้นพื้นฐานไปจนกระดับสูง ชนิดที่ผู้จบการศึกษาแล้วอาจกลายเป็นอุลามะ (ปราชญ์หรือผู้รู้ทางศาสนา) ได้เลย ขึ้นอยู่กับว่าบาบอ (โต๊ะครูผู้ดำเนินกิจการปอเนาะ) จะมีความรู้สูงมากเท่าไรในระบบโรงเรียนที่แยกวิชาศาสนากับสามัญ หรือไม่สามารถบูรณาการวิชาศาสนากับสามัญจะมอง ศาสนาก็เป็นเพียงวิชาหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าคิดแบบปอเนาะหรือวัด ศาสนาเป็นทุกวิชา ความรู้ใดๆ ก็ตามย่อมมีขึ้นหรือถูกใช้เพื่อเป้าหมายบั้นปลายทางศาสนาทั้งสิ้น เช่น ดำรงชุมชนมุสลิมให้มีสันติสุข หรือถ้าเป็นวัดก็จะทำให้มองเห็นพระไตรลักษณ์ได้แจ่มชัดขึ้นความเป็นจริงความรู้ทางศาสนาสำหรับมุสลิมหรือพุทธไม่ได้มีไว้ไปสอบข้อสอบแห่งชาติ  โอเน็ต หรือเอเน็ต  แต่มีเพื่อนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน  แหล่งการเรียนรู้ของชุมชนที่นักการศึกษาระดับปริญญาเอกจากตะวันตกพยายามสร้าง มหาวิทยาลัยหรือในที่ต่างๆของสถาบันการศึกษาที่มีตึก  มีคณะ มีห้องสมุด มีหอพักและบ้านพักของอาจารย์ นั้นและมีรั้วล้อมรอบ ทำได้แค่กายภาพเท่านั้นแต่   ไม่มีความสัมพันธ์อะไรกันเลย   ในขณะปอเนาะเริ่มขึ้นจากโต๊ะครูผู้มีความรู้เปิดบ้านสอน หากเป็นผู้มีความรู้ลูกศิษย์ลูกหาก็เพิ่มมากขึ้น จนต้องสร้าง  ศาลาโถงใหญ่"หรือบาลาเซาะห์ในภาษามลายูปัตตานี"  ไว้หน้าเรือน เพื่อใช้สอนและประกอบศาสนกิจบางอย่าง ส่วนลูกศิษย์ลูกหา(โต๊ะปาแก)ซึ่งมักเดินทางมาจากที่ไกลๆ ก็จะมาสร้างกระท่อมอยู่แวดล้อมโต๊ะครู เมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้วก็ยกกระท่อมนั้นเป็นสมบัติของปอเนาะ เพื่อศิษย์รุ่นหลังจะได้ใช้ต่อไปปอเนาะจะแบ่งบริเวณระหว่างศิษย์หญิงชาย บางครั้งมีบริเวณพิเศษสำหรับโต๊ะปาเกที่มีครอบครัวแล้วการเรียนปอเนาะไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน การสอนศาสนาไม่ใช่การหารายได้ โต๊ะครูอาจมีเรือกสวนไร่นาของตนเอง พอยังชีพได้ ไม่มีใครรวยขึ้นมาจากการทำปอเนาะ ส่วนศิษย์ต้องรับผิดชอบการอยู่กินของตนเอง รายที่ทางบ้านไม่มีเงินส่งเสีย ก็อาจหารายได้อื่นๆ จุนเจือตัวเองไปด้วย เช่นรับจ้างกรีดยาง เป็นต้นรายได้เล็กน้อยอีกหนทางหนึ่งของโต๊ะครูก็คือ ได้รับเงินบริจาคจากชุมชน  (เปรียบเทียบกับการตักบาตรและการทำบุญที่วัดของชาวบ้าน) ในขณะที่พรบ. การศึกษา 2542 กำลังบังคับให้รัฐเปิดโอกาสการศึกษาแก่ทุกคน ปอเนาะเป็นอีกระบบหนึ่งที่เปิดโอกาสให้คนอยากเรียนได้เรียนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นลูกของคนรวยหรือยากจน  ลูกนายดอเลาะหรือทักษิณ  ลูกแมะนะหรือคุณหญิงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและเกื้อกูลกันของโต๊ะปาเก, การปฏิบัติต่อโต๊ะครูและมามา (ภรรยาของโต๊ะครู), การเข้าไปมีส่วนร่วมในพิธีกรรมและกิจกรรมของชุมชนที่ปอเนาะตั้งอยู่, การทำมาหากิน, การครองเรือน (ในกรณีที่โต๊ะปาเกมีครอบครัวแล้ว), การมีวินัยทั้งในทางกาย, วาจา, ใจ ตามระเบียบของปอเนาะ ฯลฯ ทั้งหมดนี้ล้วนมีส่วนสร้าง "บัณฑิต" ที่แท้จริงออกมาจากปอเนาะเพียงแค่เขาไม่เรียกบัณฑิตและรับปริญญาเท่านั้นเองอีกด้านหนึ่งของการศึกษาระบบปอเนาะก็คือ มีการศึกษาต่อเนื่องในระบบ การเรียนรู้เป็นสิ่งจำเป็นต้องเกิดขึ้นทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นช่วงวัเรียน หรือช่วงการปฏิบัติงาน นั่นคือ ในระบบ นอกระบบ หรือตามอัธยาศัย ให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long learning) ท่านนบีมุฮัมมัด ศ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้พจนารถว่าจงศึกษาตั้งแต่ในเปล จนถึงหลุมฝังศพจงแสวงหาวิชาความรู้ ถึงแม้จะห่างไกลถึงประเทศจีนก็ตามโดยเฉพาะคนที่ต้องการเป็นอุลามะที่รู้ศาสนาลึกซึ้ง เพราะเขาจะย้ายปอเนาะไปหาโต๊ะครูที่เก่งในทางที่เขาสนใจไปได้เรื่อยๆ ไม่ต่างจาก "สำนัก" ของระบบการศึกษาในวัดต่างๆ เมื่อสมัยโบราณ ศิษย์สามารถเสาะหาอาจารย์ดีๆ ได้เรื่อยไปจนกว่าจะพอใจ ส่วนใหญ่อาจารย์เก่าก็เป็นผู้ฝากฝังให้ไปหาครูดีคนใหม่นั่นเอง5. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการศึกษาเพื่อชุมชนอย่างยั่งยืน        5.1 การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนและคุณภาพการศึกษา            5.1.1 การศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งพุทธ มุสลิมควรคำนึง องค์แระกอบ 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ การศึกษาศาสนา  วัฒนธรรม วิชาการด้านสามัญ  ภาษาแต่จะต้องสามารถนำมาบูรณาการได้และส่งเสริมให้ทุกโรงเรียนเปิดสอนหลักสูตรอิสามศึกษาและพุทธศึกษา5.1.2  การเทียบโอนและเทียบวุฒิ                ควรสนับสนุนให้ทุกคนได้เรียนศาสนาให้มีความรู้ในระดับพื้นฐานเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต หรือจะเรียนให้ถึงระดับผู้เชี่ยวชาญในสถาบันปอเนาะหรือ  วัดและสามารถเทียบโอนการเรียนศาสนาและวิชาสามัญโดยควรทำหลักเกณฑ์เทียบโอนอย่างเป็นรูปธรรมและควรเทียบคุณวุฒิผู้สำเร็จการศึกษาต่างประเทศเพื่อศึกษาต่อยอดภายในประเทศหรือทำงานในประเทศในสาขาที่ตัวเองถนัดเพราะมีผู้มีความรู้สาขาต่างๆมากมายแต่ขาดโอกาสทำงานในประเทศอันเนื่องมาจากขาดคุณวุฒิ.5.2             การพัฒนาสถานศึกษาของรัฐ             ควรทำให้โรงเรียนของรัฐเป็นฐานการฟื้นฟูระบบโรงเรียนแบบพหุศาสนิกให้มีความพร้อมด้วยคุณภาพทางการศึกษาทุกด้านโดยเฉพาะด้านวิชาการแต่สามารถนำหลักศาสนามาบูรณาการกับวิถีชีวิตและอยู่ร่วมกับต่างศาสนิกได้อันเนื่องมาจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามโดยเฉพาะระดับมัธยมศึกษานักเรียนทั้งหมดเป็นมุสลิมทำให้การแยกตัวของสังคมมากขึ้นในขณะที่โรงเรียนของรัฐมิได้สนองการเรียนรู้ตามวิถีที่ชุมชนต้องการดังนั้นหากโรงเรียนของรัฐเองจะต้องปรับหลักสูตรการเรียนให้สนองความต้องการของชุมชนด้วยเพราะในแง่วิชาการโรงเรียนเอกชนปัจจุบันไม่ได้น้อยหน้าโรงเรียนของรัฐถึงแม้งบปะมาณการจัดการศึกษาของรัฐจะมากกว่า           ในขณะเดียวกันควรส่งเสริมให้มีความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาของรัฐกับชุมชน  มัสยิด เช่นชุมชนใดต้องการจัดการเรียนศาสนาระดับตาดีกา  เรียนอัลกุรอาน ซึ่งมีสถานที่ไม่พอ สามารถใช้อาคารเรียนของโรงเรียนที่ว่างในตอนเย็นและเสาร์-อาทิตย์จัดการศึกษาและสามารถนำความรู้ดังกล่าวมาเทียบโอนในวิชาศาสนาของโรงเรียนได้เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีและสามารถประหยัดงบประมาณของรัฐและชุมชนได้มาก5.3             การสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนทั้งระบบ            ด้วยความหลากหลายในรูปแบบการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้และความหลากหลายในมาตรฐานการสนับสนุนที่ต่างกัน  ทำให้ดูว่ารัฐไม่มีความเสมอภาคในการสนับสนุน            โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่เปิดสอนทั้งศาสนาและสามัญที่แม้ว่าจะดูว่าได้รับการสนับสนุนมากที่สุดแต่สนับการศึกษาดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานการสอนวิชาสามัญ  ในขณะที่โรงเรียนต้องรับภาระบุคลาครูด้านศาสนาด้วยเช่นกัน  (จำนวนเท่ากับครูสามัญ) ดังนั้นสภาพความเป็นจริงจึงเกิดสภาพการบริหารจัดการภายในของผู้บริหารที่ต้องเกลี่ยค่าตอบแทน            ส่วนสถาบันปอเนาะที่สอนศาสนาอย่างเดียวหรือวัดที่สอนศาสนาอย่างเดียวเช่นกันอยู่ในสภาพที่ถูกทอดทิ้งทั่งๆที่จัดการศึกษาเช่นกัน       วิทยาลัยอิสลามศึกษายะลาถึงแม้จะให้บริการการศึกษาเพื่อสาธารณกุศลแต่ต้องตกอยู่ในสภาพของกลุ่มธุรกิจการศึกษาและรัฐไม่สามารถให้การอุดหนุนอย่างเต็มที่ซึ่งทำให้ผู้บริหารต้องขอรับการสนับสนุด้านการจัดการศึกษาส่วนใหญ่จากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศตะวันออกกลาง   ในสภาพปัญหาอุปสรรคดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งทีภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการควรจัดทำวิจัยเพื่อกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ในการปฏิรูประบบการสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนใหม่5.4             การพัฒนาอาชีพและการศึกษานอกโรงเรียน              ควรต้องตระหนักว่าสภาพปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือเด็กเรียนไปแล้วไม่มีงานทำ  การเรียนสายอาชีพไม่เป็นที่นิยม อันเนื่องมาจากในวิทยาลัยอาชีพต่างๆมีวิถีชีวิตที่ไม่สอดคล้องกับหลักการศาสนาทำให้ผู้ปกครองไม่สนับสนุนส่งบุตรหลานเรียนกัน  ดังนั้นจะต้องปฏิรูปหลักสูตรหารเรียนอาชีพให้สอดคล้องวิถีชีวิตชุมชน หรืออาจร่วมกับสถาบันปอเนาะ&
คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรมศึกษา
หมายเลขบันทึก: 39897เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 18:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท