สรุปจากประสบการณ์ ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์


มาอัพเดทข้อมูลอาการของแม่ครับ หลังจากบันทึกล่าสุดเมื่อเกือบ 3 ปีที่แล้ว

สรุปอาการโดยรวมคือ

  • เรื่องความจำที่แย่ลงเรื่อยๆ จนตอนนี้แทบจะจำอะไรไม่ได้
  • การควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายทำได้ลำบาก เดินเหินไม่คล่อง ทรงตัวไม่ค่อยได้
  • การพูด ซึ่ง ผมสรุปว่า ท่านฟังเข้าใจได้บ้าง คือสมองอาจคิดได้ แต่พูด แสดงออกมาไม่ได้ เช่นบางครั้งผมบอกให้ปรบมือ ท่านก็ยังทำได้บ้าง ฟังเพลงท่านก็ยังโยกไปตามเพลงได้บ้าง
  • การขับถ่าย ไม่สามารถควบคุมได้ ช่วงแรกผู้ดูแลอาจกำหนดตารางเวลาในการเข้าห้องน้ำ แต่ช่วงหลังๆ ก็เริ่มไม่แน่นอน ทำให้ผู้ดูแลต้องพาผู้ป่วยเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น กันไว้ก่อน
  • มีพฤติกรรมแปลกๆ เช่น การใ้ช้มือถูเข่าตลอดเวลา หรือ เกาส่วนต่างๆจนเป็นแผล

ซึ่งจากที่กล่าวมานั้นเป็นอาการเฉพาะของแม่ผมเท่านั้น ผู้ป่วยแต่ละรายก็จะมีพฤติกรรม หรืออาการต่างๆ แตกต่างกันไป

จากประสบการณ์ดูแลผู้ป่วย(กรณีแม่ของผม) สรุปได้ว่า

  • ยาที่ดีที่สุดคือ เสียงหัวเราะและรอยยิ้มของผู้ป่วย ผู้ดูแลจะต้องพูดคุยในเรื่องที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดี รู้สึกสบายใจ หายห่วง หรือ เรื่องตลก ให้บ่อยที่สุด ซึ่งกรณีผมคือ พยายามพูดคุยทุกๆชั่วโมง ต้องคิดมุขตลกๆใหม่ๆ แล้วจำไว้ใช้ซ้ำไปซ้ำมา ที่สำคัญคือทำยังไงก็ได้ให้ผู้ป่วยหัวเราะ ตลอดทั้งวัน
  • การออกกำลังกาย โดยการเดินทุกเช้า-เย็น การขยับตัว แกว่งแขน หลังทานอาหาร

สองสิ่งนี้ำสำคัญมากครับ ผมพิสูจน์มาแล้ว จากการที่ผมดูแลผู้ป่วยตลอดวัน เป็นเวลากว่า 3 เดือน อาการของแม่ทรงตัว แต่หลังจากที่ผมไปเรียนที่กรุงเทพ 1 เดือน กลับบ้านไปพบว่าอาการแม่ทรุดลง อย่างผิดหูผิดตา คือ เวลาขับถ่ายเปลี่ยน ,กล้ามเนื้ออ่อนแรง เดินไ่ม่คล่อง ,หัวเราะน้อยลง, มีอาการแปลกๆเกิดขึ้นมาทันที เพราะกรณีของแม่ผม ท่านเป็นคนเครียดง่าย กังวลง่าย ดังนั้นถ้าปล่อยให้ท่านอยู่คนเดียว ท่านก็จะคิดอะไรไปเลยเถิด จนส่งผลกับสุขภาพอย่างชัดเจน

แต่การที่จะมีคนใกล้ชิด ที่เข้าใจผู้ป่วย ที่รู้จุดที่จะทำให้ท่านหัวเราะ ทำให้ท่านความสุขนั้น ให้มาดูแลผู้ป่วยตลอดเวลา เป็นไปได้ยากในชีวิตจริง เพราะต่างก็มีหน้าที่การงานที่ต้องทำ เงินก็ไม่สามารถจ้างพยาบาลคนใดให้มาทำหน้าที่ตรงนี้ได้อย่างสมบูรณ์ ...มันจึงเป็นเรื่องยากจริงๆ

ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีพฤติกรรม นิสัยที่แตกต่างกันไป ดังนั้นผู้ดูแลจะค้นหาวิธีดูแลที่เหมาะสมให้เจอ หมอคนไหนๆก็แนะนำไม่ได้ ยาใดๆก็ไม่สามารถบรรเทาอาการของผู้ป่วยในระดับนี้ได้ มีแต่ทำให้แย่ลงเท่านั้น อาการของผู้ป่วยจะดีจะร้ายจึงขึ้นอยู่กับผู้ดูแลเท่านั้น

คำสำคัญ (Tags): #alzheimer#อัลไซเมอร์
หมายเลขบันทึก: 398961เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2010 22:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท