shukur2003


การสร้างหรือปฏิรูปกระบวนการวัฒนธรรมการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้เพื่อดำรงค์อัตลักษณ์และปรับปรนพัฒนาอย่างเท่าทันและสมสมัย
17/07/49เรียน ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช ที่เคารพ                          หลังจากผู้เขียนได้ดูวีดิทัศน์ร่วมกับเพื่อน ทั้ง12 คน เรื่อง การจัดการความรู้ในเครือข่ายเกษตรกร จังหวัดพิจิตรและการจัดการความรู้ในโรงพยาบาลบ้านตากเพื่อนำมาอภิปรายในหัวข้อการสร้างหรือปฏิรูปกระบวนการวัฒนธรรมการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้เพื่อดำรงค์อัตลักษณ์และปรับปรนพัฒนาอย่างเท่าทันและสมสมัยนั้นผู้เขียนรวมทั้งเพื่อนๆได้แบ่งกัน 6 กลุ่ม กลุ่มละ 2 คน ตีความหัวข้อดังกล่าวออกเป็นกลุ่มละหัวข้อ โดยใช้ผังความคิดเชิงระบบ คือกล่าวคือ1.       Input2.        process การสร้างหรือปกิรูปกระบวนการวัฒนธรรมการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้3.       out put and outcome4.       การสังเคราะห์และวิเคราะห์  (swot)5.       ปรับปรนการพัฒนาอย่างเท่าทันและสมสมัย6.       ดำรงอัตลักณ์ความเป็นเกษตรกร จังหวัดพิจิตรและข้าราชการโรงพยาบาลบ้านตาก                     ซึ่งแต่ละคนก็ได้นำเสนอในหัวข้อที่ตัวเองเข้าใจโดยมีเพื่อนๆและอาจารย์ร่วมอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสนอแนะถึงแม้ว่าการส่งแผนดังกล่าวทั้ง 12 คน จะส่งเพียง 1 แผ่นซึ่งอาจจะผิดความคาดหมายของอาจารย์แต่อย่างไรก็แล้วแต่แต่ละคนก็ได้แสดงความสามารถตีความกระบวนการเรียนรู้ถูกบ้างผิดบ้างแต่สำหรับผู้เขียนเองมองการอภิปรายในวันนี้มีประโยชน์มากและอยากแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมดังนี้ 1.                        ปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากเกษตรกรได้ใช้สารเคมีในการปลูกและกำจัดศัตรูพืชเป็นปัญหาที่ซับซ้อน การสร้างหรือปฏิรูปกระบวนการวัฒนธรรมการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้เพื่อดำรงค์อัตลักษณ์และปรับปรนพัฒนาอย่างเท่าทันและสมสมัย   การแก้ปัญหาดังกล่าวจึงต้องอาศัยความรู้และความร่วมมือจากทุกคนทุกฝ่าย  การจัดการกระบวนการเรียนรู้ทั้ง 2 แห่งเป็นการบูรณาการทำงานเป็นทีม ทั้งภาครัฐระดับนโยบาย และปฏิบัติคอยเป็นคุณอำนวย  คุณเอื้อให้กับคุณกิจคือชาวบ้าน เกษตรกร หรือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล แต่ก่อนปฏิบัติควรทำอบรมด้านการจัดการความรู้จัดให้แก่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตรและแกนนำเกษตรกร เป็นสิ่งสำคัญซึ่งเจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งสามารถนำเทคนิควิธีการด้านการจัดการความรู้ชุดธารปัญญาไปใช้ในการทำงาน แปลงเป็นแผนงานการพัฒนาสถานบริการทั้งจังหวัด ใช้ในการเตรียมเจ้าหน้าที่ทุกระดับ โดยไม่ทำให้ภาระงานเพิ่มขึ้น และสอดคล้องกับการทำงานของทีมพัฒนาคุณภาพหลังจากนั้นหารือร่วมกับปราชญ์ชาวบ้านถึงแผนงานในระยะต่อไปหลังจากชาวบ้านได้รู้ว่ามีความรู้ดีๆ อยู่ในกลุ่มเพื่อนๆ แล้ว จึงได้จัดกลุ่มความสามารถของปราชญ์ชาวบ้าน เกิดเป็นชุมชนนักปฏิบัติขึ้นมารวมแต่ การฝึกอบรมเป็นเพียงจุดเริ่มต้น เป็นกิจกรรมเพื่อทำความรู้จักการจัดการความรู้ ถ้าไม่เกิดกิจกรรมต่อเนื่อง คือการดำเนินการจริง ที่เป็นการดำเนินการจัดการความรู้ในงานประจำ การลงทุนลงแรงลงเวลาในการจัดการฝึกอบรมก็จะสูญเปล่า ดังนั้นการฝึกอบรมต้องไม่ใช่กิจกรรมที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดในตัวของมันเอง ต้องเป็นกิจกรรมที่มีการออกแบบหรือวางแผนให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนดำเนินการจัดการความรู้ในภาพรวม                       การจัดความรู้ที่ดีเองควรมีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ อย่างเครือข่ายเกษตรกร จังหวัดพิจิตรมซึ่ง ได้เชื่อมโยงกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน, ชมรมเกษตรธรรมชาติ, สำนักงานเกษตรอำเภอ, นายอำเภอ, ในลักษณะที่ต่างฝายต่างได้ประโยชน์  2. การจัดการความรู้ทั้ง 2 แห่ง เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้นไม่สามารถนำมาใช้กับที่อื่นทุกระเบียบนิ้ว แต่จะต้องดูสถานการณ์ สถานที่และเวลาและปรับให้เหมาะสมด้วยและ การจัดการความรู้ที่เรียกภาษาอังกฤษ Knowledge  Management (KM)สามารถนำหลักดังกล่าวมาจัดการในเรื่องดังต่อไปนี้เช่น การจัดการเวลา  (TM) การจัดการชุมชน (CM)  การจัดการอิเล็คทรอนิค(EM) การจัดการวัฒนธรรม(CM)   การจัดการเศรษฐกิจ(ECM)หรือการจัดการสังคมมุสลิมตามวิถีอิสลามMMI=Muslim Management of Islamic Way เป็นต้นที่สำคัญการจัดการความรู้ให้เชื่อมโยงกับภาควิชาการด้วย เพื่อให้เกิดการทำวิจัยต่อยอดความรู้ของชาวบ้านหรือชุมชน     นี่คือความคิดเห็นและสิ่งที่ได้รับส่วนหนึ่งจากการได้ร่วมเรียนรู้และรับฟังจากอาจารย์                                                            ด้วยจิตคารวะ                                                         อับดุลสุโก  ดินอะ

                                                             ศิษย์

เพิ่มเติมการเรียนรู้ใน3 จังหวัดภาคใต้และปอเนาะ

ข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เรียบเรียงโดยอ.อับดุชชะกูร์ บิน าฟิอีย์ ดินอะ( อับดุลสุโก ดินอะ  )[email protected]09-7359279ผช.ผจก.ร.ร.จริรยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลาด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีกรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนามุฮัมมัดและละผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่านการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมวลมนุษยชาติ เพราะการศึกษาเปรียบเสมือนดวงประทีปส่องนำชีวิต เป็นประตูของความสำเร็จ และเป็นกุญแจแห่งอารยธรรม ดังนั้นจึงไม่มีประชาชาติใดในโลกอันกว้างใหญ่นี้ที่ปฏิเสธความสำคัญของการศึกษา เพราะต่างตระหนักดีว่า พวกเขามิอาจจะดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุขหากปราศจากการศึกษา ความจริงการศึกษานั้นไม่เพียงแต่จะมีความจำเป็นต่อมนุษย์เท่านั้น หากแต่ยังมีความสำคัญทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสรรพสิ่งทั้งมวลไม่ว่า สัตว์  สิ่งของรวมทั้งจักวาลด้วยเพราะอันเนื่องมาจากการศึกษาของมนุษย์นี้แหละทำให้โลกนี้สงบสุขหรือเกิดความหายนะ อัลลอฮฺได้ดำรัสความว่า ความเสียหายได้เกิดขึ้นทั้งบนบกและในน้ำเป็นผลจากน้ำมือของมนุษย์ เพื่อพระองค์จะให้พวกเขาได้ลิ้มรสในบางส่วนที่พวกเขาได้ก่อไว้ โดยหวังที่จะให้พวกเขากลับเนื้อกลับตัว (30 : 41)สำหรับการศึกษาชายแดนใต้นั้นในการแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาในสถานการณ์ความไม่สงบที่กำลังยกระดับความรุนแรงอยู่อย่างต่อเนื่องในขณะนี้นั้น จำเป็นที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานการจัดการศึกษาในพื้นที่ จะต้องใช้สติ และความรอบคอบในการจัดการกับปัญหามากเป็นพิเศษและต้องเข้าใจ เข้าถึงวิถีชีวิตของคนในพื้นที่.ดังนั้นหากการจัดการศึกษาที่ไม่สดคล้องกับวิถีชีวิต-วัฒนธรรมอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่เป็นรากเหง้าของปัญหาไม่สงบในพื้นที่ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น           ดังนั้นหากต้องการการจัดการศึกษาในพื้นที่ให้ประสบความสำเร็จทั้งผู้จัดในนามของรัฐและผู้รับบริการในนามของประชาชนพื้นที่ควรพิจารณาประเด็นดังต่อไปนี้1.                 ข้อมูลด้านการจัดการศึกษา[1]     สำหรับข้อมูลการจัดการศึกษานั้นผู้เขียนขอแบ่งการจัดการศึกษา 3 จังหวัดชายแดนใต้ออกเป็น 2  ระบบ1.1                        สถานศึกษาในระบบ มีสถานศึกษา 1,202 แห่ง มีนักเรียนทั้งสิ้น 503,236 คน  สามารถแบ่งได้ 5 ประเภท1.1.1                 สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( อนุบาล-  มัธยมศึกษาปีที่6 )  เป็นของรัฐ 925 แห่งมีนักเรียนทั้งสิ้น 321,977 คนส่วนใหญ่เป็นการศึกษาภาคบังคับ( ประถมศึกษาปีที่6) ของเอกชน 172 แห่งแต่เป็นที่น่าสังเกตว่าเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่สอนศาสนาควบคู่สามัญ ถึง126 แห่ง(ส่วนใหญ่ในระดับมัธยมศึกษา) และที่อยู่ภายใต้องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น 32 แห่ง(เป็นการศึกษาภาคบังคับระดับประถมศึกษาปีที่6เช่นกัน)1.1.2                 สถาบันอาชีวศึกษา ของรัฐ 13 แห่งมีนักเรียน 17,331 คน และของเอกชน 4 แห่งมีนักเรียน 2,325 คน1.1.3                 วิทยาลัยชุมชน 3 แห่งนักเรียน 4024 คน  1.1.4                 สถาบันอุดมศึกษา  4 แห่ง มีนักศึกษา ทั้งสิ้น 1,5424 คน 1.1.5                 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แบ่งออกเป็นแผนกสามัญศึกษา 2 แห่งมีผู้เรียน 101 คน แผนกธรรม 43 แห่งมีผู้เรียน 596 คนและแผนกบาลี 4 แห่งมีผู้เรียน 57 คน 2.1                        สถานศึกษานอกระบบซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้2.1.1     สถาบันศึกษาปอเนาะ  303 แห่ง(ที่จดทะเบียน ) มีผู้เรียนทั้งสิ้นประมาณ  17,890 คน (อาจจะมีคนที่เรียนสถานบันในระบบมาอาศัยและเรียนด้วยในเวลาว่างจากการเรียนในระบบและคนที่ทำงานแล้วเรียนด้วยหลังจากเวลาทำงาน)2.1.2     ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามประจำมัสยิดสำหรับผู้ใหญ่และศูนย์ อบรมศาสนาอิสลามประจำมัสยิดสำหรับเด็กเรียกว่าตาดีกา  1,605 แห่ง มีนักเรียนทั้งสิ้น 168,242 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนประถมศึกษาของรัฐ และศุนย์อบรมเด็ก่อนเกณฑ์แระจำมัสยิด 130  แห่ง มีนักเรียน 7,428 คน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 238 แห่งมีนักเรียน 9478 คน 2.1.3     ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์  6 แห่ง มีนักเรียน 1,216 คน 2.1.4     ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน มี 36 แห่งมีนักเรียน 11,2194 คน2.1.5      ศูนย์การเรียนอัลกุรานตามบ้านของปราชญ์อัลกุรอานและศูนย์ท่องจำอัลกุรอาน2.                 การบูรณาการการศึกษาสามัญ- ศาสนา  จากข้อมูลการจัดการศึกษาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การศึกษา ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆมากโดยเฉพาะในประเด็นการให้สำคัญกับการศึกษาด้านศาสนาตั้งแต่เล็กถึงแม้ภาครัฐจะจัดการศึกษาอิสลามศึกษาบ้างในโรงเรียนของรัฐระดับประถมศึกษาแต่เด็กดังกล่าวยังไปเรียนศาสนาหลักสูตรเข้มข้นวันเสาร์อาทิตย์ในศูนย์อบรมศาสนาอิสลามประจำมัสยิดหรือตาดีกาทั้ง  1,605 และเรียนอัลกุรอานตอนเย็นหลังเลิกเรียนตามศูนย์การเรียนอัลกุรานตามบ้านของปราชญ์อัลกุรอาน ในขณะเดียวกันเด็กมุสลิมส่วนใหญ่เมื่อจบประถมศึกษาปีที่6 จะเข้าเรียนศาสนาและสามัญในรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามซึ่งมีมากกว่า 120  แห่ง ในขณะนักเรียนไทยพุทธจะเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนของรัฐ           เมื่อนักเรียนมุสลิมจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะแยกย้ายออกไปศึกษา ตามที่ต่างๆบางคนหากต้องการความรู้เพิ่มเติม ด้านสามัญก็จะเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยในประเทศหรือต่างประเทศเช่นมาเลเซีย ด้านอาชีพก็จะเรียนต่อวิทยาลัยชุมชน อาชีวศึกษา  สำหรับผู้ที่ต้องการมีความรู้ด้านศาสนาเพิ่มขึ้นก็จะเรียนในสถาบันเดิมหรือต่างสถาบันในระดับชั้น10 เพื่อนำประกาศนียบัตรชั้น10  ดังกล่าวไปต่อด้านศาสนาที่ตะวันออกกลาง มาเลเซียและอินโดนีเซีย แต่สำหรับบางคนเรียนต่อในสถาบันปอเนาะโดยเฉพาะสถาบันปอเนาะที่มีปราชญ์อิสลามศึกษาหรือโต๊ะครูดังเช่นปอเนาะดาลอ  ปอเนาะโต๊ะยง หรือปอเนาะเลาะสาเงาะ3.  ทำความรู้จัก 'ปอเนาะ
รากศัพท์ของคำว่า "ปอเนาะ" เป็นคำภาษามลายูปัตตานีเพี้ยนมาจากภาษาอาหรับว่า FUNDOK อ่านว่าฟุนโด๊ก แปลว่า กระท่อม ที่พัก หรือโรงแรม
ความหมายในที่นี้หมายถึง "สำนักศึกษาเล่าเรียนวิชาการศาสนาอิสลาม"
สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ฉบับทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) สงขลา ฉบับ พ.ศ.๒๕๒๙ เล่ม ๗ ระบุความเป็นมาว่า เชื่อกันว่าปอเนาะเกิดขึ้นในประเทศอียิปต์ แล้วแพร่มาสู่เอเชียที่ประเทศมาเลเซียก่อน ต่อมาจึงแพร่เข้าสู่เส้นทางใต้ของประเทศไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเริ่มที่ปัตตานีเป็นแห่งแรก แล้วขยายไปสู่ท้องถิ่นที่มีชาวไทยมุสลิมทั้งในภาคใต้และภาคกลาง"ปอเนาะ" ถือเป็นการศึกษาเพื่อชุมชนแบบพึ่งตนเอง เกิดที่ปัตตานีเมื่อ ๒๐๐ ปีมาแล้ว โดยปอเนาะแรกคือ บืดนังดายอ ใกล้ๆ ต.สะนอ, อ.ยะรัง, จังหวัดปัตตานีข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) เขตการศึกษา ๒ (อดีต) ระบุว่า กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศระเบียบกระทรวงฯ ว่าด้วยการปรับปรุงส่งเสริมปอเนาะ ออกมาเมื่อปี ๒๕๐๔ สาระสำคัญคือ ให้ปอเนาะยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนต่อทางราชการต่อมาในปี ๒๕๐๘ รัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรีให้ปอเนาะที่ขึ้นทะเบียนแล้ว แปรสภาพเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม ให้ปรับปรุงการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐาน ให้มีหลักสูตรการสอน มีชั้นเรียน โต๊ะ เก้าอี้ กระดานดำ มีระยะจบการศึกษาที่แน่นอน และให้เปิดสอนวิชาสามัญด้วย. ทางราชการจะช่วยเหลือส่งเสริมโดยการให้เงินอุดหนุน ส่งครูไปช่วยสอนวิชาสามัญ และผ่อนปรนในเรื่องคุณสมบัติบางประการของเจ้าของ ผู้จัดการ ครูใหญ่ และครูผู้สอน โดยไม่ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พ.ศ.๒๔๙๗ อย่างเคร่งครัดปี ๒๕๑๐ คณะรัฐมนตรีมีมติให้เร่งรัดปอเนาะที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งหมด ให้มาขอแปรสภาพจากปอเนาะเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม ให้เสร็จสิ้นภายใน ๑๕ มิถุนายน ๒๕๑๔ ไม่เช่นนั้นให้ถือว่าปอเนาะนั้นล้มเลิกไป และหลังจากนั้นห้ามก่อตั้งปอเนาะขึ้นมาอีก หากจะตั้งต้องเปิดสอนในรูปแบบของโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลามเท่านั้นถึงปี ๒๕๑๔ มีปอเนาะจำนวนมากถึง ๔๒๖ แห่ง มายื่นความจำนงขอแปรสภาพกับทางการ แต่บางแห่งที่เคยขึ้นทะเบียนด้วยความจำยอม เนื่องจากถูกบีบจากทางการ ถูกข่มขู่จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็ไม่ยอมแปรสภาพ อีกบางส่วนยอมแปรสภาพจากปอเนาะไปสู่ระบบโรงเรียน แต่สอนเฉพาะวิชาศาสนาเท่านั้น ตามหลักสูตรและแผนการสอนที่โรงเรียนปอเนาะแห่งนั้นๆ กำหนดขึ้นเอง และนอกจากนี้ยังมีปอเนาะแห่งใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลาการศึกษาของมุสลิมจึงแบ่งออกเป็นสองรูปแบบ คือ "ปอเนาะ" อันเป็นรูปแบบการศึกษาดั้งเดิมของท้องถิ่นกับการศึกษาในระบบ "โรงเรียน" ที่เรียกกันติดปากว่า โรงเรียนปอเนาะ ซึ่งมีการแบ่งชั้นเรียน มีชุดเครื่องแบบ มีโต๊ะเก้าอี้นั่งเรียน มีการนับชั้น และกำหนดระยะจบการศึกษา และโรงเรียนปอเนาะยังแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ สอนทั้งวิชาสามัญและศาสนา กับสอนเฉพาะวิชาศาสนาเพียงอย่างเดียวในปี ๒๕๒๖ ชื่อโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลามถูกรัฐบาลเปลี่ยนเป็น โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เพื่อสอดคล้องตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ และออกระเบียบการให้เงินอุดหนุนแก่โรงเรียนเอกชนฯ ที่สอนวิชาสามัญควบคู่วิชาศาสนาอิสลาม ฉบับแก้ไขครั้งล่าสุดออกมาเมื่อปี ๒๕๔๕ ให้เงินอุดหนุนแก่โรงเรียนที่ได้มาตรฐานตามมาตรา ๑๕ (๑) ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เต็ม ส่วนโรงเรียนที่อยู่ในระยะเตรียมความพร้อม และโรงเรียนที่เพิ่งจดทะเบียนหลังวันออกระเบียบให้เงินอุดหนุน ๖๐ เปอร์เซ็นต์ แต่สำหรับโรงเรียนที่สอนเฉพาะวิชาศาสนา จะไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล เงื่อนไขนี้สร้างความน้อยเนื้อต่ำใจให้แก่ปอเนาะหลายแห่งปอเนาะที่ผ่านการแปรสภาพเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับ กระทั่งปัจจุบัน การบริหารและการดำเนินกิจการของโรงเรียนเป็นไปอย่างมีระบบ บุคลากรได้รับการพัฒนาอบรม อาคารสถานที่มั่นคงถาวรและได้รับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาดั่งโรงเรียนสามัญทั่วประเทศไทยในด้านหลักสูตร ได้นำเอาหลักสูตรสามัญศึกษาของโรงเรียนมัธยมต้น และมัธยมปลายมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ มีโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมากมายเช่น ธรรมวิทยามูลนิธิ, พัฒนาวิทยา, จ.ยะลา. ดารุสสลาม, อัตตัรกียะห์, จ.นราธิวาส. ดรุณวิยา, บำรุงอิสลาม, จ. ปัตตานี เป็นต้น. ซึ่งนักเรียนสามารถเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในประเทศทุกสาขาวิชา และต่างประเทศในหลายมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย ออสเตรเลีย อังกฤษ และสหรัฐในหลักสูตรสามัญและโลกอาหรับในหลักสูตรศาสนา. บางโรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่อนุบาล-มัธยมปลาย

ส่วนหลักสูตรศาสนาอิสลามได้แบ่งชั้นเรียนเป็น ๑๐ ชั้นปี ได้แก่ หลักสูตรอิสลามศึกษาตอนต้น (- อิบติดาอียะฮฺ ปีที่ ๑-๔ -) หลักสูตรอิสลามศึกษาตอนกลาง (- มุตาวัซซีเตาะฮฺ ปีที่ ๕-๗) และหลักสูตรอิสลามศึกษาตอนปลาย (- ซานาวียะฮฺ ปีที่ ๘-๑๐) มาตรฐานของโรงเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน ทำให้โรงเรียนปอเนาะได้รับความสนใจมาก เพราะนักเรียนมีความรู้ทั่งศาสนาและสามัญ ดั่งสโลแกนของบางโรงที่กล่าวว่า "ความรู้ทางโลกปราศจากศาสนา โลกจะสงบสุขได้อย่างไร"
สำหรับปอเนาะที่สอนเฉพาะศาสนาอิสลามอย่างเดียว
 
ปอเนาะประเภทนี้ เป็นสถาบันที่สอนศาสนาและวัฒนธรรมอิสลามแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป ทั้งนี้โดยมีผู้ที่มีความรู้ทางด้านศาสนาอิสลาม และต้องมีภาวะเป็นผู้นำของชุมชนที่เรียกว่า`ตุวันคูรู ในภาษามลายูหรือ "โต๊ะครู" และโต๊ะครูในที่นี้ คือ เจ้าของปอเนาะด้วย การจัดตั้งปอเนาะเป็นไปตามความศรัทธาของชุมชน ที่ต้องการให้มีสถาบันการสอนศาสนาอิสลาม ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมอันดีงามตามหลักศาสนาอิสลามแก่ เยาวชนมุสลิม โดยมีโต๊ะครูซึ่งจะเป็นทั้งผู้สอนและผู้จัดการปอเนาะ การเรียนการสอนในปอเนาะ จะเน้นการเรียนรู้หลักศรัทธา, คัมภีร์อัลกุรอาน, อรรถาธิบายอัลกุรอาน, วจนะศาสดา, กฏหมายอิสลาม, มารยาทอิสลาม และมารยาทกับต่างศาสนิก, ภาษาอาหรับ, สำนวนโวหารอาหรับ, ตรรกศาสตร์, ปรัชญาอิสลาม, ดาราศาสตร์, โดยศึกษาจากตำราที่เป็นภาษาอาหรับ หรือ "ภาษามลายูอักษรยาวี" ซึ่งเรียกว่า "กีตาบยาวี" โดยตำราทั้งสองภาษา ใช้สำนวนภาษาของคนสมัยก่อน (คนสมัยนี้อ่านแล้วยากแก่การเข้าใจ ต้องเรียนกับโต๊ะครูหรือผ่านการศึกษาระบบปอเนาะอย่างเดียวเท่านั้นจึงจะเข้าใจ)ในส่วนของโต๊ะครูปอเนาะแต่ละคนนั้น จะมีความรู้ ความถนัด รวมทั้งวิธีการถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนที่แตกต่างกัน รูปแบบ ช่วงชั้น ช่วงเวลา หลักสูตรและการวัดผลที่แน่นอน อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของโต๊ะครู มีทั้งโต๊ะครูสอนเองหรือลูกศิษย์ที่โต๊ะครูเห็นว่า สามารถช่วยสอนแทนได้ในบางวิชา ทั้งนี้โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ. ในส่วนของผู้เรียน สามารถเรียนได้ตลอดชีวิต หรือจนกว่าผู้เรียนจะขอลาออกไปประกอบอาชีพ หรือในกรณีโต๊ะครูพิจารณาแล้วว่ามีความรู้ เพียงพอแล้ว ผู้มาเรียนปอเนาะจะต้องเป็นผู้ที่ผู้ปกครองนำมาฝากไว้กับโต๊ะครู และต้องอยู่ ในบ้านที่เป็นกระท่อมหรือปอเนาะ ซึ่งจะตั้งเรียงรายอยู่ในบริเวณบ้านของโต๊ะครู หรือบ้าน ที่โต๊ะครูกำหนดให้อยู่ ผู้เรียนจะต้องหาอาหารและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง เฉลี่ยคนละ 30-50 บาทต่อวัน ในปอเนาะบางแห่งมีคนชราและผู้ยากไร้ อยู่ด้วยมีผู้เรียนหลากหลายกลุ่มอายุปะปนกัน ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และคนชรา การเรียนการสอนจะแยกกันเด็ดขาดระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย ผู้เรียนปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด การแต่งกายถูกต้องมิดชิดตามหลักศาสนานักเรียนที่มาเรียนในปอเนาะจ
คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรมศึกษา
หมายเลขบันทึก: 39896เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 18:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท