น้ำเสียจากการทำยางแผ่นของชาวใต้ทำให้หายเหม็นได้แถมมีก๊าซใช้


บันทึกนี้นั่งบันทึกบริเวณงาน.....หมู่บ้านจัดการน้ำเสียจากการทำยางแผ่นด้วยระบบก๊าซชีวภาพ ณ ชุมบ้านบ้านหัวคู หมู่ที่ 9 ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

เมื่อวาน 26 กันยายน ผมได้รับโทรศัพท์จากน้องน้อย (คุณจารีย์) นักวิชาการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช ว่าวันนี้ขอเชิญพี่ไปร่วมงาน......มีผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (นายสุรเชษฐ์ แวอาแซ) จะมาดูงาน หมู่บ้านจัดการน้ำเสียจากการทำยางแผ่นด้วยระบบก๊าซชีวภาพ ณ ชุมบ้านบ้านหัวคู หมู่ที่ 9 ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช  ผมก็ตอบรับทันทีว่าจะไปร่วมงาน

เช้านี้หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจส่วนตัวก็รีบออกจากบ้านพักที่ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ด้วยพาหนะคู่ใจคู่กาย ถึงสถานที่จัดงาน ได้รับการต้อนรับจากเจ้าของบ้านโดยเฉพาะน้องน้อย กำลังวุ่นอยู่กับการจัดเตรียมต้อนรับคณะฯ

สิ่งที่ประทับใจมาก ก็คือเห็นรั้วบ้านที่มีการปลูกต้นไม้ "ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก" มีถังก๊าซ ถังหมักวางอยู่ประตูบ้าน มีป้าย "บ้านนี้ใช้ก๊าซหุงต้มจากวัสดุเหลือใช้" อยู่ข้างบ้าน  ผมไม่มีรายละเอียดมากเกี่ยวกับความเป็นมาของงานวันนี้เท่าที่ควร แต่สนใจคำที่น้องน้อยบอกว่าเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้น้ำเสียจากการทำยาแผ่น ก็สนใจและมาร่วมงาน......

เมื่อรู้ว่าต้นตอของจุดเริ่มต้นมาจาก ดร.อุษา อ้นทอง ผมก็ใช้ความรู้ที่มีอยู่ทันทีหยิบคอมพิวเตอร์ ค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตทันที ทำให้รู้ความเป็นมาของงานนี้อย่างละเอียดจากเว็บไซด์นี้ครับ http://www.energygreenhealth.com/viewnews.php?newsid=997 เชิญอ่านได้ครับ ขณะนี้ผมไม่มีเวลานำภาพกิจกรรมให้ดู ค่อยนำมาให้ชมตอนต่อไปครับ

หมายเลขบันทึก: 398731เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2010 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท