ทบทวน


ทบทวนความรู้

ทบทวนความรู้วิชาภาคเช้า 100 ข้อ

1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มีกี่หมวด กี่มาตรา

  1. 9 หมวด 78 มาตรา
  2. 9 หมวด 87 มาตรา
  3. 9 หมวด 78 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล
  4. 9 หมวด 87 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล

 

2. ข้อใดคือความหมายของคำว่า การศึกษา ที่ถูกต้องที่สุด

  1. กระบวน การเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลโดยการถ่ายทอดความรู้การฝึกการอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรมการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการการสร้าง องค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุน ให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
  2. กระบวน การเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
  3. กระบวน การเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้าง องค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
  4. กระบวน การเรียนรู้เพื่อความเจริญของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

 

3. การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง

  1. การศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
  2. การศึกษาก่อนอุดมศึกษา
  3. การศึกษาภาคบังคับ
  4. การศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย

 

4. ข้อใดไม่ถูกต้องตามความหมายของคำว่า สถานศึกษา ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

  1. สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
  2. ศูนย์การเรียน
  3. วิทยาลัยชุมชน
  4. สถานพัฒนาเด็กเล็ก

 

5. ข้อใด ไม่จัดอยู่ในหมวด บุคลากรทางการศึกษา

  1. รองผู้อำนวยการโรงเรียน
  2. นักการภารโรง
  3. ครูอัตราจ้าง
  4. เจ้าหน้าที่พัสดุ

 

6. ใครมีอำนาจ ออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

  1. นายกรัฐมนตรี
  2. รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
  3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  4. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

 

7. ข้อใดสำคัญที่สุด

  1. ความมุ่งหมายและหลักการ
  2. โครงสร้างการจัดการศึกษา
  3. แนวทางการจัดการศึกษา
  4. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา

 

8. คำว่า “ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ทั้งร่าง กาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้” มาจากหมวดใดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

  1. หมวด 4
  2. หมวด 3
  3. หมวด 2
  4. หมวด 1

 

9. ข้อใดไม่ใช่หลักการจัดการศึกษา

  1. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
  2. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
  3. การพัฒนาสาระและคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
  4. เป็นหลักการทุกข้อ

 

10. การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการจัดการศึกษา มีกี่ข้อ

  1. 4 ข้อ
  2. 5 ข้อ
  3. 6 ข้อ
  4. 8 ข้อ

 

11. ข้อใดไม่ถูกต้องตาม การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการจัดการศึกษา

  1. การกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประเมินคุณภาพการศึกษา
  2. การส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
  3. เอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
  4. ถูกต้องทุกข้อ

 

12. ข้อใด คือ การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ

  1. จัดตามศักยภาพที่เหมาะสมกับความสามารถ
  2. จัดตามอัธยาศัยที่เหมาะสมกับความสามารถ
  3. จัดตามรูปแบบที่เหมาะสมกับความสามารถ
  4. จัดเท่าเทียมผู้อื่นที่เหมาะสมกับความสามารถ

 

13. คำว่า “ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด” มาจากหมวดใดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

  1. หมวด 1
  2. หมวด 2
  3. หมวด 3
  4. หมวด 4

 

14. การกำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำสาระหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตราใด

  1. มาตรา 25
  2. มาตรา 26
  3. มาตรา 27
  4. มาตรา 28

 

15. ข้อใดเป็นลักษณะของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  1. สมบูรณ์แบบ
  2. ครบช่วงชั้น
  3. หลากหลาย
  4. มาตรฐาน

 

16. ข้อใดไม่ใช่ องค์คณะบุคคลในรูปแบบสภา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

  1. สภาการศึกษา
  2. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  3. คณะกรรมการการอาชีวศึกษา
  4. คณะกรรมการการศาสนาและวัฒนธรรม

 

17. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็น

  1. นิติบุคคล
  2. องค์การมหาชน
  3. องค์กรเอกชน
  4. หน่วยงานในกำกับของรัฐ

 

18. ข้อใดถูกต้อง เกี่ยวกับการประเมินผลคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่ง

  1. ประเมินทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย
  2. ประเมินอย่างน้อยทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย
  3. ประเมินทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งแรก
  4. ประเมินอย่างต่ำทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย

 

19. ข้อใดหมายถึง “การศึกษาภาคบังคับ”

  1. การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึง ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  2. การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึง ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ
  3. การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึง ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาก่อนอุดมศึกษา
  4. การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึง ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาในระบบ

 

20. การกำหนดให้มีการศึกษาภาคบังคับ อยู่ในมาตราใดของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

  1. มาตรา 15
  2. มาตรา 16
  3. มาตรา 17
  4. มาตรา 18

 

21. การแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการส่งเด็กเข้าเรียนเป็นหนังสือให้ผู้ปกครองของ เด็กทราบก่อนเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา มีกำหนดระยะเวลาเท่าใด

  1. ภายใน 1 ปี
  2. ไม่น้อยกว่า 1 ปี
  3. ภายใน 1 ภาคเรียน
  4. ไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน

 

22. สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผัน ให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้ในกรณีใด

  1. ตามคำสั่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  2. ตามระเบียบที่สถานศึกษากำหนด
  3. ตามคำร้องขอของผู้ปกครองเด็ก
  4. ตามมติคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

23. ผู้ปกครองไม่ส่งเด็กเข้าเรียนตามการศึกษาภาคบังคับ มีโทษอย่างไร

ปรับ 1000 บาท

  1. ปรับไม่ต่ำกว่า 1000 บาท
  2. ปรับไม่เกิน 1000 บาท
  3. ปรับไม่น้อยกว่า 1000 บาท

 

24. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ประกาศใช้เมื่อใด

  1. 6 กรกฎาคม 2546
  2. 7 กรกฎาคม 2546
  3. 8 กรกฎาคม 2546
  4. 9 กรกฎาคม 2546

 

25. ข้อใดไม่ใช่การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง

  1. สำนักงานปลัดกระทรวง
  2. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
  3. สำนักงานนายกรัฐมนตรี
  4. เป็นการจัดระเบียบส่วนกลางทุกข้อ

 

26. วิทยาลัยชุมชนสังกัดส่วนราชการใด

  1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  2. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  3. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
  4. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

 

27. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์สังกัดหน่วยงานใด

  1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  2. สำนักงานการศึกษาพิเศษ
  3. สำนักงานการศึกษานอกโรงเรียน
  4. องค์การบริหารส่วนจังหวัด

 

28. การจัดระเบียบเขตพื้นที่การศึกษาให้จัดทำเป็นกฎหมายใด

  1. ประกาศกระทรวงโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา
  2. ประกาศกระทรวงโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  3. กฎกระทรวงโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  4. กฎกระทรวงโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา

 

29. การจัดระเบียบสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้จัดทำเป็นกฎหมายใด

  1. ประกาศสำนักเขตพื้นที่การศึกษา
  2. ประกาศคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
  3. ระเบียบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  4. ระเบียบคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

 

30. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวไว้ในมาตราใดของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546

  1. มาตรา 36
  2. มาตรา 37
  3. มาตรา 38
  4. มาตรา 39

 

31. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษาตามมาตรา 39 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546

  1. บริหารกิจการของสถานศึกษา
  2. การจัดทำนิติกรรมสัญญาในราชการของสถานศึกษา
  3. ปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัด
  4. เป็นอำนาจและหน้าที่ทุกข้อ

 

32. เรื่องใดไม่ได้กำหนดไว้ในการมอบอำนาจ

  1. การบริหารงบประมาณ
  2. การพิจารณาความดีความชอบ
  3. การกำหนดอัตราตำแหน่ง
  4. การดำเนินการทางวินัย

 

33. การรักษาราชการแทน กล่าวไว้ในหมวดใดของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546

  1. หมวด 2
  2. หมวด 3
  3. หมวด 4
  4. หมวด 5

 

34. การกระจายอำนาจการจัดการศึกษา กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตราใด

  1. มาตรา 37
  2. มาตรา 38
  3. มาตรา 39
  4. มาตรา 40

 

35. ข้อใดไม่ใช่ การกระจายอำนาจตามข้อ34

  1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  2. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
  3. อกคศ เขตพื้นที่การศึกษา
  4. สถานศึกษา

 

36. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มีกี่มาตรา

  1. 8 มาตรา
  2. 9 มาตรา
  3. 10 มาตรา
  4. 11 มาตรา

 

37. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ยกเลิก/แก้ไข พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กี่มาตรา (คำถามยากไหมครับ)

  1. 8 มาตรา
  2. 9 มาตรา
  3. 10 มาตรา
  4. 11 มาตรา

 

38. พระราชบัญญัติ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ประกาศใช้เมื่อใด

  1. 11 มิถุนายน 2546
  2. 12 มิถุนายน 2546
  3. 13 มิถุนายน 2546
  4. 14 มิถุนายน 2546

 

39. ใครไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

  1. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
  2. คุรุสภา
  3. คณะกรรมการคุรุสภา
  4. คณะกรรมการ สกสค.

 

40. ประธานคณะกรรมการคุรุสภา มาจาก

  1. คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ
  2. รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ
  3. คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากกรรมการ
  4. รัฐมนตรีแต่งตั้งจากกรรมการ

 

41. คณะกรรมการคุรุสภามีทั้งหมดกี่คน

  1. 15 คน
  2. 17 คน
  3. 23 คน
  4. 39 คน

 

42. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีทั้งหมดกี่คน

  1. 15 คน
  2. 17 คน
  3. 23 คน
  4. 39 คน

 

43. คณะกรรมส่งเสริมสวัสดิภาพและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามีกี่คน

  1. 15 คน
  2. 17 คน
  3. 23 คน
  4. 39 คน

 

44. ใครเป็น ประธานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิภาพและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

  1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  2. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
  3. เลขาธิการคุรุสภา
  4. ผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง

 

45. คุรุสภามีวัตถุประสงค์ คือ

  1. กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู
  2. กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพครู
  3. ส่งเสริมการวิจัยเกี่ยวกับวิชาชีพครู
  4. ถูกทุกข้อ

 

46. อัตราค่าธรรมเนียมการขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา คือ

  1. 200 บาท
  2. 300 บาท
  3. 400 บาท
  4. 500 บาท

 

47. อัตราค่าต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา คือ

  1. 200 บาท
  2. 300 บาท
  3. 400 บาท
  4. 500 บาท

 

48. อัตราค่าหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา คือ

  1. 200 บาท
  2. 300 บาท
  3. 400 บาท
  4. 500 บาท

 

49. อัตราค่าหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา คือ

  1. 200 บาท
  2. 300 บาท
  3. 400 บาท
  4. 500 บาท

 

50. อัตราค่าใบแทนใบอนุญาต คือ

  1. 200 บาท
  2. 300 บาท
  3. 400 บาท
  4. 500 บาท

 

51. คณะกรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครู มีคุณสมบัติ คือ

  1. สอนมาไม่น้อยกว่า 10 ปี
  2. ดำรงตำแหน่งอาจารย์ 3
  3. มีวิทยฐานะชำนาญการขึ้นไป
  4. ถูกทุกข้อ

 

52. ใครคือ ประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ

  1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  2. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
  3. รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุรุสภา
  4. คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุรุสภา

 

53. ผู้ประสงค์ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้ยื่นต่อผู้ใคร

  1. ประธานคณะกรรมการคุรุสภา
  2. ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
  3. เลขาธิการคุรุสภา
  4. ประธาน ส.ก.ส.ค.

 

54. ถ้าคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออกใบอนุญาตให้ ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อใคร

  1. คณะกรรมการคุรุสภา
  2. ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
  3. เลขาธิการคุรุสภา
  4. รัฐมนตรี

 

55. ข้อใดไม่ใช่มาตรฐานวิชาชีพ

  1. มาตรฐานการปฏิบัติตน
  2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน
  3. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
  4. มาตรฐานตำแหน่งและประสบการณ์วิชาชีพ

 

56. การประกอบวิชาชีพครูโดยไม่ได้รับใบอนุญาตต้องได้รับโทษ คือ

  1. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
  2. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
  3. จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
  4. จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

 

57. การประกอบอาชีพครูในระหว่างพักใบอนุญาตต้องได้รับโทษ คือ

  1. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
  2. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
  3. จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
  4. จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

 

58. การยื่นต่อใบอนุญาต ต้องดำเนินการเมื่อใด

  1. ก่อนวันที่ใบอนุญาตหมดอายุไม่น้อยกว่า 180 วัน
  2. ก่อนวันที่ใบอนุญาตหมดอายุไม่น้อยกว่า 90 วัน
  3. ก่อนวันที่ใบอนุญาตหมดอายุไม่น้อยกว่า 30 วัน
  4. ก่อนวันที่ใบอนุญาตหมดอายุไม่น้อยกว่า 15 วัน

 

59. พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ประกาศใช้เมื่อใด

  1. 21 ธันวาคม 2547
  2. 22 ธันวาคม 2547
  3. 23 ธันวาคม 2547
  4. 24 ธันวาคม 2547

 

60. ผู้รับสนองพระราชโองการ พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 คือ

  1. นายวิษณุ เครืองาม
  2. พ.ต.ท.ทักษิน ชินวัตร
  3. นายบรรหาร ศิลปอาชา
  4. พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ

 

61. พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มีกี่หมวดกี่มาตรา

  1. 9 หมวด 140 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล
  2. 9 หมวด 78 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล
  3. 9 หมวด 82 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล
  4. 9 หมวด 150 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล

 

62. ข้อใดไม่ใช่บุคลากรทางการศึกษาตามพรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547

  1. ข้าราชการครู
  2. ผู้บริหารการศึกษา
  3. ผู้บริหารสถานศึกษา
  4. เป็นบุคลากรทางการศึกษาทั้ง 3 ข้อ

 

63. ก.ค.ศ. ตามพรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มีกี่คน

  1. 9 คน
  2. 15 คน
  3. 21 คน
  4. 28 คน

 

64. ใครเป็นผู้กำหนดเวลาการทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา

  1. สำนักนายกรัฐมนตรี
  2. คณะรัฐมนตรี
  3. ก.ค.ศ.
  4. สำนักงานข้าราชการพลเรือน

 

65. ใครมีหน้าที่ ดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

  1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  2. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
  3. อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
  4. กลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

 

66. ใครเป็นผู้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งตำแหน่งที่มี วิทยะฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ

  1. เลขาธิการ สพฐ.
  2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  3. นายกรัฐมนตรี
  4. ปลัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ

 

67. ใครคือ ประธานกรรมการในการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

  1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  2. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
  3. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  4. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับแต่งตั้ง

 

68. การพ้นจากไปรับราชการทหาร แล้ว มีความประสงค์จะเข้ากลับเข้ารับราชการครูต้องยื่นเรื่องภายในกี่วันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร

  1. 60 วัน
  2. 90 วัน
  3. 120 วัน
  4. 180 วัน

 

69. ใครเป็นผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนครูชำนาญการ

  1. ผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา
  2. ผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยความเห็นชอบ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา
  3. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา
  4. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยความเห็นชอบ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา

 

70. ข้อใดไม่ใช่ กรรมการโดยตำแหน่ง ใน ก.ค.ศ. ตามกฎหมายปัจจุบัน

  1. เลขาธิการข้าราชการพลเรือน
  2. ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
  3. เลขาธิการ ก.ค.ศ.
  4. เลขาธิการสภาการศึกษา

 

71. ข้อใดไม่ใช่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ใน ก.ค.ศ.

  1. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล
  2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการจัดการ
  3. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารธุรกิจ
  4. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารรัฐศาสตร์

 

72. ใครเป็นผู้จัดทำทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา

  1. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
  2. อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
  3. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  4. กลุ่มงานบริหารบุคคล

 

73. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กำหนดอำนาจและหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาไว้ในมาตราใด

  1. มาตรา 39
  2. มาตรา 27
  3. มาตรา 53
  4. มาตรา 22

 

74. ใครเป็นประธานคณะกรรมการสรรหาอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา

  1. เลขาธิการ สพฐ.
  2. ประธาน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
  3. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  4. ผู้ว่าราชการจังหวัด

 

75. ผู้ใดสามารถสอบแข่งขันเป็นข้าราชการครูได้

  1. นาย ง. อายุ 20 ปี เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  2. นาย ค. อายุ 19 ปี เพิ่งจบปริญญาตรี มีวุฒิครู
  3. นาย ข. อายุ 20 ปี เคยทุจริตในการสอบเข้าทำงานในมหาวิทยาลัยหอการค้า
  4. นาย ก. อายุ 20 ปี เคยถูกปลดออกจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

 

76. มาตรา 38 ข (2) ใน พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 คือใคร

  1. รองผู้อำนวยการโรงเรียน
  2. ผู้อำนวยการโรงเรียน
  3. รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  4. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

 

77. พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ไม่ได้กล่าวถึงคณะบุคคลใด

  1. คณะกรรมการสถานศึกษา
  2. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
  3. ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาใน กคศ.
  4. กล่าวถึงทุกคณะ

 

78. พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับเมื่อใด

  1. 11 กุมภาพันธ์ 2551
  2. 20 กุมภาพันธ์ 2551
  3. 21 กุมภาพันธ์ 2551
  4. 23กุมภาพันธ์ 2551

 

79. พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2551 มีกี่มาตรา

  1. 7 มาตรา
  2. 9 มาตรา
  3. 17 มาตรา
  4. 19 มาตรา

 

80. พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2551 กำหนดตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา ไว้กี่ตำแหน่ง

  1. 4 ตำแหน่ง
  2. 5 ตำแหน่ง
  3. 6 ตำแหน่ง
  4. 7 ตำแหน่ง

 

81. ข้อใดคือ ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

  1. ดูหมิ่นผู้เรียนอย่างร้ายแรง
  2. ศาลสั่งจำคุกคดีประมาท
  3. คัดลอกผลงานทางวิชาการ
  4. ผิดวินัยร้ายแรงทุกข้อ

 

82. ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ กล่าวไว้ในมาตราใดของพรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547

  1. มาตรา 98
  2. มาตรา 99
  3. มาตรา 100
  4. มาตรา 101

 

83. ใครเป็น หัวหน้าสำนักงานลูกเสือจังหวัด

  1. ผู้ว่าราชการจังหวัด
  2. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต ๑
  3. ผู้ว่าฯแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ
  4. ผู้ว่าฯสรรหาจากผู้อำนวยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัด

 

84. ใครเป็นเลขานุการ คณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา

  1. หัวหน้ากลุ่มส่งเสริม
  2. ศึกษานิเทศก์
  3. รองผอ.เขตที่ได้รับมอบหมาย
  4. ผู้อำนวยการสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

 

85. ใครมีสิทธิ์ได้รับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดี ชั้นพิเศษ

  1. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่หนึ่ง
  2. อุปการคุณช่วยเหลือกิจการลูกเสืออย่างต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
  3. ช่วยชีวิตผู้ตกอยู่ในอันตรายโดยตนเองได้ประสบอันตราย
  4. ข้อ 1 และ ข้อ 2

 

86. ข้อใดคือโทษของการแต่งเครื่องแบบลูกเสือ หรือประดับเครื่องหมายลูกเสือโดยไม่มีสิทธิ

  1. จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
  2. จำคุกไม่เกินหนึงปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
  3. จำคุกไม่เกินสองเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
  4. จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

 

87. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มีกี่หมวดกี่มาตรา

  1. 7 หมวด 50 มาตรา
  2. 7 หมวด 53 มาตรา
  3. 9 หมวด 50 มาตรา
  4. 9 หมวด 53 มาตรา

 

88. ข้อใดสำคัญที่สุดใน การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

  1. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
  2. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
  3. เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน
  4. ประชาชนได้รับการอำนวยการความสะดวกและตอบสนองความต้องการ

 

89. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2544 กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐจะให้หรือรับของขวัญ ในจำนวนเท่าใดไม่ได้

  1. 3,000 บาท
  2. เกิน 3,000 บาท
  3. 5,000 บาท
  4. เกิน 5,000 บาท

 

90. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ (ฉบับ2) พ.ศ. 2530 กำหนดให้รถราชการต้องมีตราเครื่องหมายของส่วนราชการในขนาดเท่าใด

  1. ตรากว้างหรือยาวไม่น้อยกว่า 18 เซนติเมตร ตัวอักษรสูงไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร
  2. ตรากว้างหรือยาวไม่น้อยกว่า 18 เซนติเมตร ตัวอักษรสูงไม่น้อยกว่า 7 เซนติเมตร
  3. ตรากว้างหรือยาวไม่น้อยกว่า 18 นิ้ว ตัวอักษรสูงไม่น้อยกว่า 5 นิ้ว
  4. ตรากว้างหรือยาวไม่น้อยกว่า 18 นิ้ว ตัวอักษรสูงไม่น้อยกว่า 7 นิ้ว

 

91. สถานศึกษาต้องรายงานจำนวนเด็กในเกณฑ์บังคับที่เข้ามาเรียนประจำ ในช่วงเวลาใด

  1. สัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายน
  2. วันทำการแรกของเดือนมิถุนายน
  3. สัปดาห์แรกของภาคเรียนที่ 1
  4. วันทำการแรกของภาคเรียนที่ 1

 

92. ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประชาสัมพันธ์และการให้ข่าวทางราชการ พ.ศ.2548 ใครเป็นผู้ประชาสัมพันธ์ หรือให้ข่าวการปฏิบัติงานของกระทรวงศึกษาธิการ

  1. สำนักงานรัฐมนตรี
  2. รัฐมนตรี
  3. สำนักงานปลัดกระทรวง
  4. ปลัดกระทรวง

 

93. กรณีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีความเห็นให้รวมสถานศึกษา สิ่งใดที่ต้องดำเนินการเป็นอันดับแรก

  1. จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน
  2. แจ้งสถานศึกษาที่จะรวมกัน
  3. จัดทำแผนการรวมสถานศึกษา
  4. เสนอแผนการรวมสถานศึกษา โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

94. สถานศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่จะต้องอยู่ห่างจากสถานศึกษาประเภทเดียวกัน ที่ตั้งอยู่เดิมไม่น้อยกว่ากี่กิโลเมตร ตามเส้นทางคมนาคม

  1. 3 กิโลเมตร
  2. 4 กิโลเมตร
  3. 5 กิโลเมตร
  4. 6 กิโลเมตร

 

95. สถานที่ที่จะจัดตั้งสถานศึกษาต้องเป็นที่ดินที่มีหลักฐานอนุญาตให้ใช้ ตามประเภทของที่ดินอย่างถูกต้อง จำนวนไม่น้อยกว่ากี่ไร่

  1. 20 ไร่
  2. 25 ไร่
  3. 30 ไร่
  4. 35 ไร่

 

96. การจัดตั้งสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นใหม่ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550 จะต้องมีจำนวนนักเรียนในแต่ละชั้นไม่น้อยกว่ากี่คนมาเข้าเรียน

  1. 80 คน
  2. 70 คน
  3. 60 คน
  4. 50 คน

 

97. การจัดตั้งสถานศึกษาระดับประถมศึกษาขึ้นใหม่ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550 จะต้องมีจำนวนนักเรียนในแต่ละรายอายุไม่น้อยกว่ากี่คนมาเข้าเรียน

  1. 20 คน
  2. 25 คน
  3. 30 คน
  4. 25 คน

 

98. ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่ออาคาร ห้อง หรืออุปกรณ์ของสถานศึกษา พ.ศ.2547 ผู้ประสงค์จะจารึกตั้งชื่ออาคารเรียน ต้องบริจาคทรัพย์สร้างอาคารดังกล่าวในอัตราร้อยละเท่าใด

บริจาคเพียงคนเดียว

  1. ร้อยละ 80 ขึ้นไป
  2. ร้อยละ 60 ขึ้นไป
  3. ร้อยละ 50 ขึ้นไป

 

99. ข้อใดไม่ใช่ อำนาจและหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548”

  1. ประสานงานกับผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่น
  2. สอบ ถามครู อาจารย์ หรือหัวหน้าสถานศึกษา เกี่ยวกับความประพฤติ การศึกษา นิสัยและสติปัญญาของนักเรียนหรือนักศึกษาที่ฝ่าฝืนกฎกระทรวงว่าด้วยความ ประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา หรือระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษา
  3. เรียก ผู้ปกครองมาว่ากล่าวตักเตือนหรือทำทัณฑ์บนว่าจะปกครองดูแลมิให้นักเรียนหรือ นักศึกษาฝ่าฝืนกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา หรือระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาอีก
  4. เป็นอำนาจและหน้าที่ทุกข้อ

 

100. การสอบคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ตรงกับMASLOW ขั้นใด

  1. ขั้นที่ 2
  2. ขั้นที่ 3
  3. ขั้นที่ 4
  4. ขั้นที่ 5

 

คะแนนที่ได้ =

คำตอบที่ถูกต้อง

 

คำสำคัญ (Tags): #วิชาการ
หมายเลขบันทึก: 398695เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2010 05:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท