ครูกับวิชาชีพชั้นสูง


ครูกับวิชาชีพชั้นสูง

ครู  กับวิชาชีพชั้นสูง

                ก่อนอื่นที่จะเข้าใจคำว่าว่า  “ครู” กับวิชาชีพชั้นสูง เกี่ยวข้องกันอย่างไรเราต้องทำความเข้าใจแต่ละคำก่อนว่าแต่ละคำเกี่ยวข้องกันและมีความสัมพันธ์กันอย่างไรจึงมี คำว่า ครู กับวิชาชีพชั้นสูง

 วิชาชีพ ( Profession )                                                                                                                                                            คือการประกอบอาชีพเป็นการปฏิบัติหน้าที่การงานในสังคมในสังคมที่มีความซับซ้อนในรูปแบบของการประกอบอาชีพก็ซับซ้อนด้วย จึงมีการบัญญัติศัพท์เพื่อใช้ตามลักษณะที่แตกต่างกันไป                                                                                            เช่น   งาน        ( Job ) คือ สิ่งหรือภารกิจที่ต้องทำต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นคราวๆ            การงาน  ( Work )  คือภารกิจ ที่ต้องทำอยู่อย่างเสมอ อาจมีหลายอย่างที่ทำเป็นประจำ                                                                                                 อาชีพ    ( Career ) คือ งานที่ทำเป็นประจำเพื่อหาเลี้ยงชีพเป็นภารกิจที่ต้องทำเพื่อหาเลี้ยงชีพ                                                                                            วิชาชีพ  ( Profession) คือเป็นอาชีพแต่ต้องเป็นอาชีพที่ต้องใช้วิชาความรู้ที่ได้ฝึกฝนมาเป็นอย่างดีและเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ                                                                                                                                                                        พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒                                                                                                           วิชาชีพคือวิชาที่จะนำไปประกอบอาชีพ เช่นวิชาแพทย์  วิชาช่างไม้ เป็นอาชีพที่ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญที่ฝึกฝนโดยเฉพาะซึ่งมีข้อกำหนดคุณลักษณะบางประการที่ทำให้วิชาชีพต่างจากอาชีพทั่วไป

                วิชาชีพชั้นสูง                                                                                                                                                                                       วิชาชีพเป็นการอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญ หากเอาคำว่าชั้นสูงไปต่อท้ายเป็น วิชาชีพชั้นสูง แปลง่ายๆ คือ ต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญที่มากยิ่งขึ้นไปอีกเข้าขั้นเชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษคือมีความเป็นมืออาชีพในด้านนั้นๆโดยเฉพาะ 

 

ครู / อาจารย์ ( Teachers )

   คำว่า  ครู มีรากศัพท์มาจาก >  ภาษาบาลี คือ ครุ  แปลว่า เคารพ  หนัก สูง                                                                                                                            >   ภาษาสันสกฤต คือ  หนัก   ใหญ่                                                                                                                                                    >   รวมแล้ว  คือ  ผู้มีความหนักแน่น   ผู้ควรศิษย์  ควรเคารพ  ผู้สั่งสอน

 

วิชาชีพครู

                พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒) ๒๕๔๕                                                                       ครู คือ บุคลากรวิชาชีพ ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ  ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน                                                                                                                      พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พุทธศักราช ๒๕๔๖                                                                                           ครูคือ บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้นการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา ที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน

         วิชาชีพครู ถือว่าเป็น  วิชาชีพชั้นสูง ดังที่ศาสตราจารย์วิจิตร  ศรีสอ้าน ได้สรุปคุณลักษณะวิชาชีพเพื่อเป็นเกณฑ์พิจารณาวิชาชีพครูไว้ ๖ ประการ                                                                                                                                                       ๑.วิชาชีพชั้นสูงจะต้องมีการบริการที่ให้แก่สังคมที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงและจำเป็น                                                       อาชีพครู ใช้กิจกรรมการสอนเป็นกิจกรรมทางปัญญาการออกแบวิธีการถ่ายทอดความรู้วัฒนธรรมทักษะและความรู้ให้กับเยาวชนครูต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ แห่งวิชาชีพอันเป็นวิชาการเฉพาะด้านละต้องใช้สติปัญญาในการถ่ายทอดความรู้แต่ละสิ่งละอย่างให้กับศิษย์                                                                                                                                ๒.สมาชิกของวิชาชีพชั้นสูงจะต้องใช้วิธีการแห่งปัญญาในการให้บริการ                                               อาชีพครูเป็นอาชีพที่ให้บริการแก่สังคมในด้านการถ่ายทอดทักษะทางสังคมค่านิยมตลอดจนวิชาการต่างๆ ให้แก่สังคมตามที่สังคมพึงประสงค์เป็นการให้บริการที่เฉพาะสาขาวิชาที่ต่างจากวิชาชีพอื่น                                                                           ๓.สมาชิกของวิชาชีพชั้นสูงจะต้องได้รับการอบรมให้มีความรู้กว้างขวาง ลึกซึ้งโดยใช้ระยะเวลานานพอสมควร    อาชีพครูก็ต้องใช้เวลาเล่าเรียนและฝึกฝนในสถาบันสถานศึกษาและต้องใช้เวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๔ ปีจึงจะสำเร็จการศึกษาออกไปทำการสอนได้                                                                                                                                          ๔.สมาชิกของวิชาชีพชั้นสูงจะต้องมีเสรีภาพในการใช้วิชาชีพตามมาตรฐานของวิชาชีพ                                                                ในการประกอบวิชาชีพครูนั้นผู้ประกอบวิชาชีพมีเอกสิทธ์ในการตกลงใจและตัดสินใจที่จะใช้ความรู้ในการแก้ปัญหาการสอนแต่ละครั้งแต่ละวิชา ครูย่อมมีเอกสิทธิ์ ที่จะกำหนดวิธีการสอนและกิจกรรมการสอนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดในหลักสูตร                                                                                                                         ๕.วิชาชีพชั้นสูงจะต้องมีจรรยาบรรณ                                                                                                                                                           วิชาชีพครูก็มีจรรยาบรรณ ซึ่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๐ มาตรฐานการปฏิบัติตน ให้กำหนดไว้ว่าเป็นข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณต่อประกอบด้วย   จรรยาบรรณต่อตนเอง  จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ และจรรยาบรรณต่อสังคม                                                                                                                                                                         ๖.วิชาชีพชั้นสูงจะต้องมีสถาบันวิชาชีพเป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์ จรรโลงมาตรฐานของวิชาชีพ

                                ปัจจุบันพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้กำหนดสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คุรุสภา  เป็น  สภาวิชาชีพครู            

 

ครู กับวิชาชีพชั้นสูง 

                หลังจากที่ได้รู้จักความหมายของ ครู และวิชาชีพ  กันแล้ว ต่อไปก็มาดูว่าคำสองคำนี้มีความสัมพันธ์กันคือครู เป็นบุคลากรทางวิชาชีพชั้นสูงก็คือ ต้องใช้ความรู้ความสามารถที่ได้ศึกษามาเฉพาะด้านอาศัยความรู้และความชำนาญและได้ศึกษาตามหลักสูตรในสถาบันสถานศึกษาและใช้เวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๕ ปี เป็น Profession มีจรรยาบรรณ วิชาชีพ มีสถาบันวิชาชีพ รองรับ คือ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ( คุรุสภา ) จึงถือได้ว่าครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง

อาชีพที่เป็น “วิชาชีพ” นั้นกำหนดให้มีองค์กรรองรับ และมีการกำหนดมาตรฐานของความประพฤติของผู้อยู่ในวงการวิชาชีพซึ่งเรียกว่า “จรรยาบรรณ“ ส่วนลักษณะ “วิชาชีพ ”  ที่สำคัญคือ เป็นอาชีพที่มีศาสตร์ชั้นสูงรองรับ มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาวิชาชีพมีการจัดการสอนศาสตร์ดังกล่าวในระดับ อุดมศึกษาทั้งการสอนด้วยทฤษฏีและการปฏิบัติจนผู้เรียนเกิดความชำนาญ และมีประสบการณ์ในศาสตร์นั้น นอกจากนี้จะต้องมีองค์กรหรือสมาคมวิชาชีพ ตลอดจนมี “จรรยาบรรณในวิชาชีพ” เพื่อให้สมาชิกในวิชาชีพดำเนินชีวิตตามหลักมาตรฐานดังกล่าวหลักที่กำหนดใน จรรยาบรรณวิชาชีพทั่วไป คือ แนวความประพฤติปฏิบัติที่มีต่อวิชาชีพต่อผู้เรียน ต่อตนเอง และต่อสังคม                                                                                                                                                                                        ผู้ที่อยู่ในวงวิชาชีพจะต้องยึดถือจรรยาบรรณ ในการดำรงวิชาชีพให้เป็นที่ยอมรับ คือ                                                          1. ศรัทธาต่อวิชาชีพ ผู้ที่อยู่ในวงการวิชาชีพครู ต้องมีความรักและศรัทธาต่อวิชาชีพครู เห็นว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ ในฐานะที่เป็นอาชีพที่สร้างคนให้มีความรู้ความสามารถ และเป็นคนที่พึงประสงค์ของสังคม ผู้อยู่ในวิชาชีพจะต้องมั่นใจ ในกาประกอบวิชาชีพนี้ด้วยความรัก และชื่นชมในความสำคัญของวิชาชีพ

 

2. ธำรงและปกป้องวิชาชีพ สมาชิกของสังคมวิชาชีพต้องมีจิตสำนึกในการธำรง ปกป้อง และรักษาเกียรติภูมิของวิชา ไม่ให้ใครมาดูหมิ่นดูแคลน หรือเหยียบย่ำ ทำให้สถานะของวิชาชีพต้องตกต่ำ หรือ มัวหมองการธำรงปกป้องต้องกระทำทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาหรือ ต้องมีการแก้ไขข่าวหรือประท้วงหากมีข่าวคราวอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อ วิชาชีพ                                                                                                                                                     3. พัฒนาองค์ความรู้ในวิชาชีพ หน้าที่ของสมาชิกในวงการวิชาชีพคือ การที่ต้องรับผิดชอบในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย สร้างความรู้และเผยแพร่ความรู้ เพื่อทำให้วิทยาการในศาสตร์สาขาวิชาชีพครูก้าวหน้าทันสังคมทันเหตุการณ์ ก่อประโยชน์ต่อประชาชนในสังคม ทำให้คนเก่ง และฉลาดขึ้น โดยวิธีการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักเรียน ใฝ่รู้ ช่างคิด ทีวิจารณญาณ มีบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ มากขึ้น                                                                                 4. สร้างองค์กรวิชาชีพให้แข็งแกร่งสมาชิกในวงวิชาชีพต้อง ถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องสร้างองค์กรวิชาชีพให้คงมั่นธำรงอยู่ได้ด้วยการเป็น สื่อกลางระหว่างสมาชิก และเป็นเวทีให้คนในวงการได้แสดง ฝีมือและความสามารถทางการสร้างรูปแบบใหม่ของการเรียนการสอนตลอดจนการเผยแพร่ ผลงานทางด้านการสร้างแบบเรียนใหม่ ๆ การเสนอแนวความคิดห่าในเรื่องของการพัฒนาคน การเรียนการสอน และการประเมินผล                                                           5. ร่วมมือในกิจกรรมขององค์กรวิชาชีพ สมาชิกในสังคมวิชาชีพต้องร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในเรื่องของความคิด หรือการจัดประชุม สัมมนา แลกเปลี่ยนแนวความคิดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร หากไม่ได้รับความสนับสนุนจากสมาชิกแล้ว ทำให้องค์กรวิชาชีพขาดความสำคัญลงและไม่สามารถดำเนินภารกิจขององค์กรวิชาชีพ ต่อไปได้บทบาทของการดำรงมาตรฐานและการส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการก็ย่อม จะลดลงด้วย ถ้าไม่มีปริมาณสมาชิกที่สนับสนุนเพียงพอ

จรรยาบรรณ  คือ ประมวลพฤติกรรมที่กำหนด ลักษณะมาตรฐานการกระทำของครู อันจะทำให้วิชาชีพครูก้าวหน้าอย่างถาวร โดยที่ครูจะต้องดำเนินการเรียนการสอนโดยการยึดจรรยาบรรณต่อวิชาชีพต่อผู้ เรียน และต่อตนเอง ในการทำหน้าที่ของครูให้สมบูรณ์

วิชาชีพครูจากข้างต้นความเป็นครู ตรงกับเกณฑ์ ที่เป็นวิชาชีพชั้นสูง ดังนั้นคำว่า ครูกับวิชาชีพชั้นสูงจึงเกี่ยวข้องกันเพราะคำว่าครูกับวิชาชีพชั้นสูงไม่สามารถแยกออกจากกันได้โดยสิ้นเชิงและครูยังรวมไปถึงการมีจรรยาบรรณวิชาชีพและประกอบการศึกษาในสถานศึกษาอบรมมาแล้วไม่น้อยกว่า๕ปี หรือตามหลักสูตรรองรับ

 

หมายเลขบันทึก: 398573เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2010 19:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท