การสร้างหรือทำให้เกิด self management ที่ประสบความสำเร็จ/การคำนวณพลังงาน


การจัดการให้ผู้ป่วยเบาหวานจัดการดูแลตนเองเป็นเรื่องท้าทายเพราะเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง อยู่กันยาวนานตลอดทั้งชีวิต จะให้หมอ เมีย แม่ ลูก หรือหัวหมู่เบาหวาน มาชี้นิ้วสั่งให้ หรือสอนให้จำแล้วเอาไปทำตามก็ไม่ได้

ตัวอย่างการสร้างหรือทำให้เกิด self management ที่ประสบความสำเร็จ

“กรณีหัวหมู่เบาหวาน โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก”

การจัดการให้ผู้ป่วยเบาหวานจัดการดูแลตนเองเป็นเรื่องท้าทายเพราะเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง  อยู่กันยาวนานตลอดทั้งชีวิต  จะให้หมอ เมีย แม่ ลูก หรือหัวหมู่เบาหวาน มาชี้นิ้วสั่งให้   หรือสอนให้จำแล้วเอาไปทำตามก็ไม่ได้   การจัดการตนเองเป็นเรื่องที่ยาวนานตลอดชีวิตของคนเป็นเบาหวาน  เรามีบทบาทและหน้าที่ในการเอื้ออำนวยให้ผู้ป่วยเบาหวานเป็น “ผู้จัดการตนเอง” ที่มีประสิทธิภาพ สิ่งที่ต้องมีมาก่อนที่จะจัดการตนเองได้คือ ผู้ป่วยต้องมีความรู้และทักษะที่เพียงพอ 

  • ผู้ป่วยเบาหวานต้องมีความรู้ว่าต้องทำอะไร  อย่างไร เมื่อใด มีทักษะในการกระทำ ตลอดจนเข้าใจตนเองและเข้าใจภาวะความเจ็บป่วยของตนเป็นอย่างดี  

เรื่องเล่าพี่วิลัย เมื่อชาวนาเป็นเบาหวาน” แต่หมอหรือพยาบาลไม่ใช่ชาวนา   เป็นเรื่องยากที่จะรู้วิถีชีวิตชาวนา ว่าหน้าไหนใช่แรงเยอะ หน้าไหนเท้าจะเป็นแผล เกี่ยวข้าว ฉีดยาข้าว  จังหวะของวิถีแตกต่าง 

เช่น พี่วิลัย  พี่วิลัยเล่าว่า  พี่ทำนา 100 ไร่ ปีละ 3 ครั้ง ถ้าปลูกข้าวเหลืองประทิว ทำนาได้ปีละ 1 ครั้ง ระยะเวลาปลูกเก็บเกี่ยว 5 เดือน

พี่วิลัยอยู่บ้านกร่างที่น้ำดี  จึงทำนาได้ปีละ 3 ครั้ง

ระยะเวลาต่อรอบตั้งแต้ปลูกถึงเก็บเกี่ยวเป็นเวลา  115 วัน

พี่วิลัยบอก

  • ทำนา 100 ไร่ หน้าหว่านข้าว  จะเริ่มหว่าน ตั้งแต่ 6 โมงเช้า ถึง 6 โมงเย็น เป็นช่วงเวลาทำนาที่จะเหนื่อยมาก โหยและอยากกินน้ำหวาน  เพราะฉะนั้น จะกินนมเปรี้ยว น้ำอัดลม กระทิงแดง มาเป็นกระป๋อง ข้าวเป็นกะละมัง เพราะกลัวไม่มีแรง   พี่วิลัยบอก   “เท้าย่ำน้ำ ใส่ร้องเท้าตามที่เราบอกไม่ได้ เพราะมันหลุด  ไม่งั้นก็โดนหอยเชอรีบาดเท้า   ต้องบูต เท่านั้น ใส่ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยง ก็รู้มันจะเปื่อยเป็นเชื้อรา  แต่ก็ต้องใส่    

  • หน้าหว่านทำงานประมาณ 1 เดือน

  • หลังจากนั้นก็จะพักนอนที่บ้าน 15 วัน แล้วก็เริ่มมาฉีดยาข้าว อีก 15 วัน ถ้า เพลี้ยลงข้าวก็ต้องฉีดยาทุก 3-5 วัน

  • พี่วิลัยจัดการกับตัวเองว่าต้องทานข้าวเพิ่มเป็น 3 ทัพพีต่อมื้อ เมื่อถึงช่วงเวลาที่ฉีดยาข้าว  แต่ฤดูเก็บเกี่ยวก็ทานปกติ1-2 ทัพพีเพราะไม่ได้ออกแรงอะไร  แต่จะระวังตนเองเพราะเครียดน้ำตาลจะขึ้นเพราะกลัวคนมาขโมยข้าว   จัดการไปจัดการมาก็เริ่มรู้ว่าตนเองต้องทานอาหาร กี่ส่วนในเวลาที่เหมาะสมก็การออกแรง      

  • พอถึงฤดูเก็บเกี่ยวก็ทานปกติ1-2 ทัพพีเพราะไม่ได้ออกแรงอะไร

 

  • ผลที่เกิดทันทีของพี่วิลัย  คือ รู้ว่าต้องทำอะไร  อย่างไร เมื่อใด

  • ผลระยะปานกลาง คือ พฤติกรรมการกินเปลี่ยน ทานได้เหมาะสมตามช่วงเวลาและฤดูกาล  ไม่เกิดภาวะน้ำตาลตก มานอนร.พ  ไม่มีแผลที่เท้า ไม่เป็นเชื้อรา

  • ผลระยะยาว คือ  การควบคุมโรคดี FPG Hba1c ดี  ชีวิตดี มีความสุข รู้เท่าทันโรค ไม่วิตกกังวล สบายใจ อารมณ์ดี

 ก่อนจะไปดูบทบาทหน้าที่ที่เราสั่งให้เค้าทำตาม  เราต้องมาทบทวนดูหน้าที่เราก่อนว่า จะให้เค้าจัดการดูแลตนเองได้  แล้วเราต้องทำอะไรเราผู้ถ่ายทอดความรู้  ต้องมีความรู้ที่ถูกต้องเช่นกัน ถึงจะถ่ายทอดความรู้ไปให้ผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี    และในฐานะที่เราเป็นผู้ให้ความรู้โรคเบาหวานก็จำเป็นที่ต้องไปอบรมหาความรู้อยู่ตลอดเวลา  และเสริมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการค้นคว้าอ่านหนังสือ นำมาปฏิบัติ  เช่นกัน  และในวันที่ 14-15 ต.ค 53  งานประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน  คลิก  เป็นโอกาสดีที่เราจะได้ไปรับองค์ความรู้นั้นๆ  ซึ่งทีมของเราก็ไม่พลาดที่จะไป พัฒนาตนเองนเช่นกัน

ตัวอย่างการคำนวณพลังงานของพี่วิลัย (น้ำหนักที่ควรจะเป็น 50 กก น้ำหนักเกิน)

 

กิจกรรมเบา

ปานกลาง

หนัก

น้าหนักเกิน

20-25

30

35

น้าหนักปกติ

30

35

40

ผอม

30

40

45 - 50

 

 

 

 

 

การคำนวณพลังงานมีหลายสูตรที่เราใช้  คือสูตรของ Shilset et al  คำนวณพลังงานจากน้าหนักตัวและระดับกิจกรรมแต่จะต้องคำนวณค่าดัชนีมวลกายก่อนเพื่อดูว่านํ้าหนักอยู่ในเกณฑ์ใด โดยทั่วไปสูตรนี้ใช้สำหรับผู้ที่มีสุขภาพดี  ตำราว่าไว้อย่างนั้น ก็จะได้ 50X35= 1750 kcal ต่อวัน

แบ่งเป็นอาหารดังนี้

ตัวอย่างอาหารที่ให้พลังงาน 1800 แคลอรี ต่อวัน

มื้อ

ข้าว/แป้ง

(ส่วน)

เนื้อสัตว์

(ส่วน)

ผัก

(ส่วน)

ผลไม้

(ส่วน)

น้ำมัน

(ส่วน)

นม

(ส่วน)

เช้า

3.5

1.5

1-2

1

2

-

กลางวัน

3

1.5

1

1

2.5

-

อาหารว่าง

1

-

-

-

-

1

เย็น

3

1

1

1

2

-

ก่อนนอน

-

-

-

-

-

1

รวม

11

4

3-4

3

6.5

2

จากตัวอย่างพี่พิลัยก็นำไปปรับได้หมาะสม กับชีวิตของตนเอง และช่วงที่ใช้แรงปานกลางคือช่วงฉีดยาข้าวก็ปรับลดมาอยู่ที่ 1500 kcal  ช่วงนอนพักที่บ้านปรับมาอยู่ที่ 1000 kcal  ทำให้พี่พิลัย สบายอก สบายใจ สบายอารมณ์ กับชีวิตการทำนา 

ผู้เล่า รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์

 

หมายเลขบันทึก: 397531เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2010 23:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สูตรดีครับ กระจายออกไปให้มากๆ นะครับ จะได้เป็นประโยชน์อย่างกว้างขงวาง

ขอบพระคุณ ครูหยุย ดิใจที่มีโอกาสเจอกันในblog ค่ะ

เฮ้อ แล้วเราจะจำกัดอาหารได้แบบพี่พิลัยรึเปล่าล่ะหือ

เรื่องอาหาร เป็นเป้าหมายระยะยาว 3 ปี คงทำได้ค่ะ หัวหน้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท