จิตบำบัด..วิถีแห่งพุทธะ - ๒


เข้าใจในมุมมองตามจริง การมองเห็นหรือตระหนักในสิ่งที่เหลืออยู่ของชีวิตมากกว่าสิ่งที่หมดไป สูญเสียไป และผู้บำบัดคำนึงถึงความต้องการและการเผชิญหน้า เดินทางสู่จุดหมายสูงสุดแห่งชีวิต (Ultimate concerns) ของทุกคนด้วยตนเอง

ขอเพิ่มเติม เกี่ยวกับจิตบำบัดที่ อาจจะเป็นแนวทาง ในการเปลี่ยนแปลง พัฒนา Satir iceberg ด้านล่างๆโดยเฉพาะ ความสุขที่จะเกิดขึ้นนั้นเกิดจากการได้มาของ Ultimate concerns ในชีวิตที่ถูกทำให้เข้าใจ นั่นคือ Existential Psychotherapy ( การให้คำปรึกษาแบบอัตถิภาวนิยม ) ซึ่งเป็นแนวทางการทำจิตบำบัดที่ตั้งอยู่บนความเข้าใจเชิงปรัชญาถึง “ความหมายของการเป็นมนุษย์” ว่าอะไรสำคัญต่อ “ความมีชีวิตอยู่” โดยแนวคิดเหล่านี้เป็นผลงานจากนักปรัชญาและนักทำจิตบำบัดหลายท่านในอดีต ดังนั้นเทคนิควิธีการจึงมีความแตกต่างกันไปหลายรูปแบบ  [นอกจากนี้ผู้บำบัดที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ได้แนวคิดมาจากประสบการณ์ชีวิตและการดำรงอยู่ของตนเอง ร่วมกับความคิดเชิงปรัชญาที่มีมาอยู่ก่อนหน้านี้  ส่งผลให้ Psychotherapy วิธีนี้จึงไม่มีรูปแบบที่เฉพาะเจาะจง ขอยกตัวอย่างนักปรัชญาที่สนใจเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณจนถึงนักปรัชญายุโรปในศตวรรษนี้ ได้แก่ Soren Kierkegaard (ค.ศ.๑๘๑๓-๑๘๕๕) และ Friedrich Nietzsche (ค.ศ.๑๘๔๔-๑๙๐๐) หรือจะเป็น Martin Heidegger ( ค.ศ.๑๘๘๙-๑๙๗๖ ) ซึ่งพวกเขาได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งปรัชญาเชิงอัตถิภาวนิยม และปรัชญาการดำรงอยู่ของเขาได้ถูกนำไปใช้โดยจิตแพทย์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ ๒ ท่าน คือ Ludwig Binswanger (ค.ศ.๑๘๘๑-๑๙๖๖) และ Medard Boss (ค.ศ.๑๙๐๓-๑๙๙๐) วิธีการทำจิตบำบัดของจิตแพทย์สองท่านนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการให้คำปรึกษาแบบอัตถิภาวนิยม  จิตแพทย์ชาวยุโรปอีกท่านซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกการบำบัดวิธีนี้ได้แก่ Victor Frankl (ค.ศ.๑๙๐๕-๑๙๙๗) สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา นักจิตวิทยา Rollo May (ค.ศ.๑๙๐๙-๑๙๙๔) และจิตแพทย์ Irvin Yalom เป็นผู้เผยแพร่การบำบัดวิธีนี้อย่างกว้างขวาง โดย May เป็นผู้แปลปรัชญาด้านนี้เป็นภาษาอังกฤษและมีงานเขียนซึ่งมาจากแนวคิดของเขาเอง  ส่วน Yalom เสนอวิธีการทำจิตบำบัดแนวนี้อย่างครอบคลุม]

โดยหลักการเน้นให้ผู้รับการบำบัดคิด เข้าใจในมุมมองตามจริง การมองเห็นหรือตระหนักในสิ่งที่เหลืออยู่ของชีวิตมากกว่าสิ่งที่หมดไป สูญเสียไป  และผู้บำบัดคำนึงถึงความต้องการและการเผชิญหน้า เดินทางสู่จุดหมายสูงสุดแห่งชีวิต (Ultimate concerns) ของทุกคนด้วยตนเอง แม้กระนั้นเหรียญย่อมมีสองด้าน จุดหมายสูงสุดจึงสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

     Ultimate Concern หรือ Dimension of Life ๔ อย่าง ใน Existential Psychotherapy

Isolation :                           

      การตระหนักรู้ถึงความแปลกแยก แตกต่างของตนเอง   &  ความปรารถนาที่จะเป็นส่วนหนึ่งของโลก ปรารถนาที่จะได้รับการปกป้อง (ความสะอาดโปร่งใส หรือ วิสุทธิ)

Freedom :  

     การตระหนักรู้ในอิสระของตน  &  ความต้องการการยึดติด (อิสระ หรือ วิมุตติ)

Meaningless :

      การพยายามหาความหมายของชีวิต  & สภาวะที่ตัวเองไร้ความหมาย (ความมีตัวตน ความรู้ ความสว่าง หรือ วิชชา)

Death :

       การตระหนักรู้ถึงความตายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  &  ความปรารถนาที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป (ความไม่กลัว ความสงบ หรือ สันติ)             

อย่างไรก็ดี ถ้าลองพิจารณาถึง Ultimate Concerns แล้วจะพบว่าใกล้เคียงกับสิ่งที่มีอยู่ในพุทธศาสนา ซึ่งเป็นหลักของความสุขที่มี ๔ องค์ประกอบ ได้แก่

วิสุทธิ : ความสะอาดโปร่งใส (ดิน) สร้างได้ด้วย “เมตตา” .. การมุ่งจะทำให้ผู้อื่นมีความสุขย่อมมีจิตที่สะอาดไม่ตัดสินใคร

วิมุตติ : ความเป็นอิสระ (น้ำ) สร้างได้ด้วย “กรุณา”.. การปลดเปลื้องทุกข์ของผู้อื่นตนเองย่อมได้อิสระจากความทุกข์นั้นเช่นเดียวกัน มีอิสระในการตัดสินใจ

วิชชา : ความสว่าง (ลม) สร้างได้ด้วย “มุทิตา” .. การสรรเสริญยอมรับผู้อื่นย่อมเป็นที่เอาใจใส่ของกัลยาณมิตร และเป็นสิ่งสร้างความเชื่อมั่นศรัทธา มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจที่ดี สามารถให้ความหมายในชีวิตตน และ

สันติ : ความสงบ (ไฟ) สร้างได้ด้วย “อุเบกขา” .. การวางตนเป็นกลาง สงบจิตใจย่อมไม่ก่อทุกข์ให้ทั้งตนเองและผู้อื่น จึงไม่กลัวเกรงต่อความตาย

โดยลักษณะ ๓ ประการแรกจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีความสงบร่วมอยู่ด้วย ตามหลักของธาตุทั้ง ๔

หากสังเกตดูแล้วเรื่องของ Yearning ในจิตบำบัดแบบ Satir Model ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับ Ultimate concerns ในExistential Psychotherapy อย่างมาก ซึ่งทั้งคู่เราสามารถเข้าใจในหลักการแห่งความสุขในทางพุทธธรรมได้เช่นกัน

คำสำคัญ (Tags): #จิตบำบัด
หมายเลขบันทึก: 397511เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2010 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท