ทองพูล บัวศรี อุดมคติครูเพื่อเด็ก


 

ทองพูล บัวศรี อุดมคติครูเพื่อเด็ก

คนเราเกิดมาเพื่ออะไร

เพื่อแสวงหาความสุข

เพื่อปัดเป่าความทุกข์ยาก

 แต่แน่นอนว่า ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยปัญหาและความขัดแย้ง บอกให้เรารู้ว่าการแสวงหาอย่างแรกกำลังเพิ่มจานวนขึ้น ในขณะที่การแสวงหาอย่างหลังกลายเป็นอุดมคติที่จับต้องได้ยากมากขึ้น

ถึงแม้ในสังคมไทยที่มีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจาชาติมีคนใจบุญสุนทาถวายปัจจัยเป็นจำนวนหลักล้านบาท แต่สังคมกลับมิได้ลดความเร่าร้อนลงได้เลยเป็นไปได้หรือไม่ว่า เพราะคนไทยเข้าใจศาสนาแค่รูปแบบและความเชื่อที่ว่า เมื่อให้ก็ต้องได้รับพุทธศาสนากล่าวว่า หากต้องการชีวิตที่เป็นสุข การเดินทางสายกลางเป็นวิถีทางที่ดีที่สุดและการให้ย่อมเป็นสุขมากกว่าการเป็นผู้รับ คำกล่าวที่ว่าไม่ได้เกินจริง เพราะผู้หญิงคนหนึ่งได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ว

ครูจิ๋ว หรือชื่อเต็มๆว่า นางสาวทองพูล บัวศรี ในอดีตเป็นเด็กสาวจากครอบครัวแตกแยก ฐานะยากจนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครูจิ๋วเป็นลูกสาวคนโตของครอบครัวที่มีพี่น้อง 8 คน ครูเล่าว่าเกือบจะไม่ได้เรียนหนังสือเพราะฐานะที่ไม่เอื้อ แต่โชคดีที่ได้รับทุนการศึกษา จากมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าเพื่อเยาวชน จึงได้มีโอกาสเข้าเรียนจนกระทั่งจบปริญญาตรี จากวิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา พร้อมๆกับหารายได้โดยเป็นครูสอนพิเศษ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอีกทางหนึ่ง  ด้วยความที่ได้รับการปลูกฝังของการโอบอ้อมอารี การช่วยเหลือผู้อื่น ความเชื่อในพระพุทธศาสนา จากคุณตาคุณยายตั้งแต่เด็ก และจากการศึกษาในเรื่องของการพัฒนาชุมชนประกอบกับการได้เป็นผู้รับมามาก ทำให้ครูต้องคิดหนักเมื่อจบการศึกษาว่า จะเลือกอะไรระหว่างความต้องการของแม่ในการรับราชการกับเดินตามความฝันกับการทางานเพื่อชุมชน

“ความคิดที่จะทางานชุมชนนี่คงต้องย้อนไปตั้งแต่สมัยเด็กๆเพราะเราเป็นลูกผู้หญิงคนโตของครอบครัว คุณตาคุณยายเวลาท่านไปวัดก็มักจะเอาเด็กไปด้วย คุณแม่เล่าให้ฟังว่าประมาณขวบกว่าๆก็ไปนอนที่วัดกับคุณยาย และคุณยายจะสอนตลอดว่า ให้รู้จักอภัย ให้รักคนอื่นๆ เผื่อแผ่ ไม่ให้เอาเปรียบ แล้วเราก็เชื่อในเรื่องของกรรม วิบากกรรมมันมีจริง”

พอเรียนหนังสือเราก็เป็นเด็กรับทุนมาก่อน เราไม่มีเสื้อผ้าเขาก็ให้เรา ฉะนั้นเมื่อถึงจุดที่เราจะให้คนอื่นได้เราก็ต้องไม่เอาเปรียบสังคม   สุดท้ายครูจิ๋วจึงไ ด้ตัดสินใจเข้าเป็นครูโรงเรียนอนุบาลเอกชนอยู่ 2 เดือน พร้อมกับเลิกการสอนพิเศษ แต่กลับจะช่วยโดยการสอนฟรี ถ้าหากเด็กๆยังต้องการ ก็เนื่องจากความคิดเพื่อ สังคมที่ติดตัวเองอยู่ตลอดเวลานั่นเอง ที่บอกว่า เวลานี้เธอหมดภาระที่จะต้องใช้วิชามาหากินโดยหวังผลกำไร

แต่หลังจากนั้น 2 เดือน เมื่อมูลนิธิสร้างสรรค์เด็กประกาศรับสมัครครูอาสาในแหล่งก่อสร้าง ครูจิ๋วก็ตัดสินใจอีกครั้งที่จะมุ่งสู่ความฝัน ทำงานเพื่อสังคมอย่างเต็มตัว แล้วโอกาสก็เป็นของเธอ และถือว่าเป็นก้าวแรกของการแสดงศักยภาพที่แท้จริงของตัวเองอย่างเต็มที่

ครั้งแรกทางมูลนิธิไม่ได้บอกว่าลักษณะงานที่เราจะต้องทำเป็นอย่างไร เริ่มครั้งแรกกับการสอนเด็กในแหล่งก่อสร้าง ซึ่งครูหยุยเคยเริ่มมาแล้วแต่ไม่ได้รับความร่วมมือมากนัก ทั้งจากบริษัท พ่อแม่ของเด็ก ทำให้ไม่สามารถขยายตัว แต่เมื่อเราเข้ามา ก็คิดว่าน่าจะมีวิธีใหม่

พอเรามาจับตรงนี้ปี 2531 ก็เริ่มตั้งแต่เข้าไปคุยกับพ่อแม่เด็ก เอาเด็กมาจัดกลุ่มมาสอน ซึ่งก็ต้องคุยกับเจ้าของบริษัทด้วย ซึ่งลำบากมากเพราะแรกๆเขาไม่ค่อยเชื่อใจไม่ให้ความร่วมมือ เราก็ต้องคุยกับเจ้าของ จนที่แรกบริษัทใน “เครือมั่นคงเคหะการ” เขายอมให้เราลองเปิดศูนย์ที่พุทธมณฑลเป็นที่แรก แต่ให้เงินมา 3,000 บาท ใช้จ่ายในแต่ละเดือนโดยเราก็ต้องจัดการทุกอย่าง ทั้งค่าอาหาร อุปกรณ์ ค่ารักษาพยาบาลเด็ก

เด็กร้อยกว่าคน เราก็จัดกลุ่มเป็นเด็กโต เด็กกลาง เด็กเล็ก มีครูจิ๋ว และผู้ช่วยครูหนึ่งคน ช่วงเช้าก็ให้ผู้ช่วยครูดูแลเด็กเล็ก สอนศิลปะ ครูก็วิ่งสลับสอนเด็กโต กับเด็กกลาง สอนเด็กโตเสร็จให้เด็กโตไปตักน้าเพื่อมารดสวน รดผักหน้าศูนย์ ครูก็ไปสอนเด็กกลางให้การบ้านเสร็จก็พอดีกับเด็กโตทำงานเสร็จ

พอเที่ยงก็ให้เด็กพักทางข้าวที่เราทำไว้ตั้งแต่สี่ครึ่ง หลังจากนั้นก็เอาเด็กเล็กนอน ผู้ช่วยครูสอนเด็กกลาง เราก็สอนเด็กโต นอกจากนั้นวันหยุดเราก็ต้องลงพื้นที่ทำงานในชุมชน คุยกับพ่อแม่เด็กสอนเรื่องวิชาชีพ

พอเด็กเจ็บป่วยเราก็ส่งเขาไปรักษาแต่เราไม่สามารถดูเขา เพราะต้องสอนเราก็ทำเรื่องส่งต่อสาธารณสุข ซึ่งที่สุดมันก็เป็นระบบ และบริษัทฯก็เห็นผลงานจะให้เราทำต่อ เราก็เริ่มเงื่อนไขว่าคุณต้องเพิ่มงบเป็น 5,000 บาท ซึ่งก็ได้รับความเห็นชอบ พร้อมๆกันนั้น ครูจิ๋วก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคที่ยังยืดเยื้อจนปัจจุบันนี้ในเรื่องเอกสาร หลักฐานเพื่อให้เด็กสามารถได้เรียนต่อในโรงเรียนของรัฐ และเอกชนในระดับที่สูงขึ้น

ครั้งแรกโรงเรียนเขาไม่รับเลย เพราะนอกจากเด็กเหล่านี้จะไม่มีหลักฐานอะไรเลย ยังต้องเจอกับพฤติกรรมที่เขารับไม่ได้ เพราะเด็กนี่มาจากหลายกลุ่มปัญหาเขาจะเรียนเมื่ออยากเรียน ไม่อยากเรียนก็จะทุบโต๊ะแล้วลงไปเลื้อยไปกับพื้น ซึ่งเราก็ต้องใช้เหตุผลพูดคุย   ระยะหลังๆบางแห่งเขายอมรับโดยเรารับปากว่าให้เด็กเรียนไปก่อนแล้วเราจะหาหลักฐานย้อนหลังให้ เด็กที่หาครอบครัวไม่ได้จริงๆไม่มีหลักฐานจริงๆก็ขอให้ออกเป็นใบรับรอง เพื่อที่เด็กจะได้ศึกษาต่อได้

“บางคนเราก็ต้องให้เป็นการเพิ่มชื่อในมูลนิธิฯ เพราะหาไม่ได้จริงๆซึ่งตอนนี้ดีขึ้น แต่ยังต้องให้ครูเป็นคนประสานถ้าพ่อแม่เด็กไปนี่เขาไม่รับเลย”

ความสำเร็จจากการมุ่งมั่นของครูจิ๋ว ปัจจุบันนอกจากจะสามารถขยายศูนย์ได้มากขึ้นแล้ว ยังได้รับการยอมรับจากบริษัทและหน่วยงานราชการอื่นๆ ที่จัดตั้งขึ้นมาเอง โดยครูจิ๋วจะเป็นผู้ฝึกสอนอบรมเจ้าหน้าที่ พร้อมกับเป็นที่ปรึกษาในการวางแผน จัดกลุ่มการสอนให้กับศูนย์อื่นๆ เป็นเวลากว่า 8 ปี กับการทำงานเพื่อสังคมที่ครูรัก ครูจิ๋วที่ฝีมือไม่จิ๋วยังได้ขยายความมุ่งมั่น และวิธีการคิดเพื่อสังคมให้กับสมาชิกในครอบครัว

“เราให้พ่อแม่เปลี่ยนความคิดว่าเมื่อพ่อแม่เรามาเขาควรมีโอกาสเลี้ยงลูกคนอื่นด้วย ตอนนี้เราเอาเด็กไปอยู่ที่บ้านด้วย คือ อยากให้เขารู้ว่าเขาก็เลี้ยงลูกคนอื่นได้ เป็นการสอนทางอ้อมกับเหตุการณ์ที่เขาไม่เคยเจอ ตอนแรกเขาบอกเด็กอะไรก็ไม่รู้ ทำไมเป็นอย่างนี้” ก็บอกแม่ว่านี่ชีวิตเขา พ่อติดคุกแม่ก็ไม่มี เร่ร่อนตั้งแต่เด็กสามขวบจนนี่ 14-15 ตอน 2-3 เดือน แรกพี่น้องเขาบอกเราทำบาปกับแม่ เราอยากจะสอนว่าเขาต้องเผื่อแผ่ความรักให้คนอื่นด้วย เขาให้ความรักเรา เขาต้องให้กับชุมชนกับคนรอบๆเขา ไม่ใช่มองแค่ครอบครัวเรา แล้วมันจะไม่เกิดปัญหา ซึ่งเดี๋ยวนี้เข้าใจมากขึ้น

นี่คือชีวิตของผู้หญิงตัวเล็กๆกับวิธีคิดและความมุ่งมั่น เพื่อเด็กด้อยโอกาสที่ไม่ใช่เป็นเพียงความฝันที่จับต้องไม่ได้ การยอมรับของหน่วยงานต่างๆความก้าวหน้าในชีวิตของเด็กที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเด็กที่สังคมไม่เคยให้ค่า กลับกลายเป็นทรัพยากรชั้นดีในทุกแห่งที่เด็กเหล่านั้นเข้าไปมีส่วนร่วม

สิ่งเหล่านี้ คือน้ำทิพย์ที่หล่อเลี้ยงอุดมการณ์ของครูคนดีของเด็กๆให้ยืนหยัดที่จะก้าวต่อไป ท่ามกลางสังคมที่บอกตัวเองว่ากำลังพัฒนา แต่กลับทิ้งปัญหาให้คนอยู่หลังต้องตามแก้อย่างไม่รู้จบ

ที่สาคัญชีวิตครูจิ๋ว เป็นกรณีศึกษาได้อย่างดีว่า ความตกต่่าของอาชีพครูที่กล่าวอ้างว่าเหตุมาจากเศรษฐกิจนั้นเป็นความจริงมากน้อยเพียงไร ระหว่างเงินเดือนข้าราชการ ที่มีสวัสดิการพร้อมกับการเป็นเจ้าหน้าที เป็นครูขององค์กรพัฒนาเอกชนธรรมดาๆ แต่สามารถยืนหยัดในวิชาชีพอย่างมั่นคง

บางที่ชีวิตที่คนเมืองหลวงหลายคนกล่าวว่าว่างเปล่า

อาจมาจากการใช้ชีวิตอย่างไร้จุดหมาย และขาดการให้ก็เป็นได้

 

จากนิตยสาร PEOPLE MAGAZINE   ประจำเดือนมีนาคม  พ.ศ. 2538

หมายเลขบันทึก: 397510เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2010 22:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นบทสัมภาษณ์ ตั้งแต่ ปี 2538 แล้ว แต่เป็นสิ่งเตือนใจทุกครั้งของคนทำงาน

เพราะเวลาท้อ ครูจิ๋วจะกลับมาอ่านเสมอว่าตัวเองเคยลำบากมามาก

แค่ให้โอกาสเด็ก แล้วปรับความคิดตนเองในการให้อภัย เป็นสิ่งที่ย้ำเตือนได้เป็นอย่างดี

การทำงานบางครั้งต้องรู้จักตนเอง

และเตือนตนเองให้มาก ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่

เพื่อเด็กหรือเพื่อตนเอง

คิดให้มากๆๆ เพราะเด็กต้องการคนชี้แนะในการเดินของเด็ก

ความคิดที่ดีๆ ย่อมเกิดผลดีครับ มันคือวิถึแห่งการทำงานจะแยกออกจากกันไม่ได้ สู้ๆ นะครับ เป็นกำลังใจให้

อยากมีส่วนร่วมช่วยเหลือสังคมกันคุณครูจิ๋ว ติดต่อทางไหนได้บ้างค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท