พอสอ(ที่เรา)รอ


เงินที่น้อยสำหรับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ แต่เป็นเงินที่มากสำหรับข้าราชการชั้นผู้น้อย

 

       พ.ส.ร. ย่อมาจากเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ  เป็นบำเหน็จความชอบอีกประเภทหนึ่ง ที่พิจารณาให้กับผู้ที่ได้ทำการสู้รบ หรือต่อสู้ จนได้รับอันตรายหรือทำการสู้รบ หรือต่อสู้ได้ผลดี หรือปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตรากตรำ เหน็ดเหนื่อย และได้ผลสมความมุ่งหมายของทางราชการเป็นอย่างดี ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย บำเหน็จความชอบ ค่าทดแทน และช่วยเหลือเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือช่วยเหลือราชการ เนื่องในการป้องกันอธิปไตยและ รักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ พศ.๒๕๒๑ เรียกย่อว่า “ระเบียบ บ.ท.ช.”  เงินพิเศษดังกล่าวนี้เป็นความหวังของตำรวจชั้นผู้น้อย ทั้งตำรวจภูธรใน  ๓ จชต. ตำรวจตระเวนชายแดนกองกำกับการที่  ๔๔  ที่รอมา  ๕ ปี ก็ยังไร้วี่แวว บางที่ก็ได้รับ  ๓ ครั้งแล้ว  อย่างตำรวจภูธรจังหวัดยะลา บางที่ยังได้รับแค่  ๑  ครั้ง  อย่างตำรวจตระเวนชายแดน กก.ตชด. ๔๔ ค่ายพญาลิไท เงินส่วนนี้เป็น“เงินที่น้อยสำหรับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ แต่เป็นเงินที่มากสำหรับข้าราชการชั้นผู้น้อย

 หลักเกณฑ์และแนวทางการเสนอขอรับ พ.ส.ร. หรือเงินรางวัลสำหรับการสู้รบ

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบตามระเบียบสำนักงานนายกรัฐมนตรี

ว่าด้วยบำเหน็จความชอบ ค่าตอบแทนการช่วยเหลือ ฯ (ระเบียบ บ.ท.ช.) มี ๒ ประการ คือ กรณีตามพฤติกรรม และกรณีตามระยะเวลา

หลักเกณฑ์และคุณสมบัติกรณี ตามพฤติกรรม สรุปได้ดังนี้

คุณสมบัติ

๑. เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกำลังพลในโครงสร้างของ กอ.รมน.ภาค ๔ สน.

๒. เป็นผู้ปฎิบัติหน้าที่เนื่องในการป้องกันอธิปไตยและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ

๓. เป็นผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ย่านอันตรายใน ๓ จชต. ( จว.ย.ล. , จว.ป.น. และ จว.น.ธ. )

๔. มีสิทธิได้รับการพิจารณา พ.ส.ร. ตั้งแต่ ๑ ขั้น ถึง ๔ ขั้น ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของบุคคลแต่ละราย ตามระเบียบ บ.ท.ช. ข้อ ๑๐.๑ – ๑๐.๔

๕. ไม่เป็นผู้ประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องต่อหน้าที่

 หลักเกณฑ์และคุณสมบัติกรณี ตามระยะเวลา สรุปได้ดังนี้

 คุณสมบัติ

๑. เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกำลังพลในโครงสร้างของ กอ.รมน.ภาค ๔ สน.

๒. เป็นผู้ปฎิบัติหน้าที่เนื่องในการป้องกันอธิปไตยและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ

๓. เป็นผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ย่านอันตรายใน ๓ จชต. ( จว.ย.ล. , จว.ป.น. และ จว.น.ธ. )

๔. ปฏิบัติงานต่อเนื่องติดต่อกัน ๖ เดือนขึ้นไป

๕. ไม่เป็นผู้ประพฤติเสื่อมเสียหรือข้อบกพร่องต่อหน้าที่

เอกสารที่ใช้ในการเสนอขอ พ.ส.ร. ตามพฤติกรรม

๑. แบบคำขอ พ.ส.ร. (บ.ท.ช.๒) เป็นรายบุคคล

๒. หนังสือรับรองการปฏิบัติงาน

๓. สำเนาคำสั่งปฏิบัติหน้าที่

๔. สำเนาคำสั่งพ้นหน้าที่

๕. สำเนารายงานการสูญเสีย กพ.๔

๖. สำเนารายงานการสูญเสียทางเอกสาร กพ.๓

๗. สรุปผลการสอบสวนของคณะกรรมการของหน่วย (สาเหตุการเสียชีวิตหรือบาดเจ็บ) พร้อมพยาน ผู้รู้เห็นเหตุการณ์ อย่างน้อย ๓ นาย

๘. สรุปผลการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมแผนที่สังเขป หรือบันทึกประจำวัน (จนท.ตร. รับรองสำเนา)

๙. แบบ บ.ท.ช.๖ (หลักฐานทางการแพทย์)

๑๐. หลักฐานการป่วยเจ็บและการรักษาพยาบาล (รักษาครั้งแรกที่ใด และส่งต่อที่ใด ใช้ข้อมูลทั้งสอง รพ.) 

เอกสารที่ใช้ในการเสนอขอ  ตามระยะเวลา(กรณีขอเป็นส่วนรวม ทั้งหน่วยงาน)

๑. แบบคำขอ พ.ส.ร. (บ.ท.ช.๒)

๒. แบบบัญชีรายชื่อและคำรับรองผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการในพื้นที่ย่านอันตราย

๓. บัญชีข้อมูลการปฏิบัติหน้าที่ราชการในพื้นที่ย่านอันตราย

๔. สำเนาคำสั่งปฏิบัติหน้าที่ คำสั่งเปลี่ยนตำแหน่ง (ถ้ามี) และคำสั่งพ้นหน้าที่ (รวมระยะเวลาปฏิบัติหน้าที่ต่อเนื่องกัน ๖ เดือนขึ้นไป)

๕. แผ่นบันทึกข้อมูล (ซีดี )

แนวทางการเสนอขอ พ.ส.ร. ของ พตท. และ นขต.

๑. หน่วยในโครงสร้างของ พตท. ต้องเสนอ พตท.(ผ่าน ฝธก.พตท.) ทั้งหมด

๒. กกล.ศรีสุนทร, กกล.สันติสุข, ฉก.อโณทัย, กกล.ตำรวจ, ฉก.หมายเลข ๑ ตัว, ๒ ตัว, ฉก.เพชราวุธ,ฉก.นย.ทร. และ ฉก.ทพ. ให้เสนอ พตท.(ผ่าน ฝธก.พตท.) ได้โดยตรง

๓. นขต.บก.กกล.ศรีสุนทร, นขต.กกล.สันติสุข, นขต.ฉก.อโณทัย และ นขต.กกล.ตำรวจ

ให้เสนอ พตท. ผ่านสายการบังคับบัญชา

๔. หน่วยในโครงสร้างของ กอ.รมน.ภาค ๔ สน. เสนอขอผ่าน กองรมน.ภาค ๔ สน. โดยตรง

วิธีการเสนอขอและการลงนาม

. ให้รวมบัญชีรายชื่อของข้าราชการสังกัดกระทรวงคมนาคมเป็นบัญชีเดียวกัน ( ๖๕ ราย )

๒. ผู้ว่าราชการจังหวัดลงนามใน แบบคำขอเงินเพิ่มเติมสำหรับการสู้รบ ( พ.ส.ร.) หรือเงินรางวัล สำหรับการสู้รบ ( แบบ บ.ท.ช.๒ ) ฉบับที่ส่งให้ กอ.รมน.ภาค ๔ สน.

๔. ผู้ว่าราชการจังหวัดลงนามใน หน้าสุดท้าย ของบัญชีรายชื่อและคำรับรองผู้ปฏิบัติราชการฯ (๖๕ ราย) ฉบับที่ ส่งให้ กองรมน.ภาค ๔ สน.

๕. หัวหน้าส่วนราชการ ลงนามในหน้าสุดท้ายของบัญชีข้อมูล

คำสำคัญ (Tags): #ตชด.#พ.ส.ร.
หมายเลขบันทึก: 397325เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2010 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ตามมาเชียร์พี่หมอหายไปนานมากๆๆ

สวัสดีครับอาจารย์ขจิต

      ขอบคุณอาจารย์ที่ยังระลึกนึกถึงกันอยู่ พอดีช่วงนี้งานทางการไปอบรมเยาวชนไม่ค่อยมี ทางผู้บังคับบัญชาเลยจัดชุดมาประจำอยู่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ของทาง ฉก.ตชด.44 ซึ่งได้เริ่มบุกเบิกมาได้ 3 เดือนกว่ามาแล้ว ระยะนี้ไม่ค่อยได้ย่างกรายไปห้องศูนย์เทคโนฯ เลย มันรู้สึกเบื่อขึ้นมาอย่างไรไม่รู้ ตอนนี้ทำหน้าที่เลี้ยงวัว เลี้ยงเป็ดไปเรื่อยๆดีกว่า เดี๋ยวในบันทึกต่อไปจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจของ ฉก.ตชด.44 มาให้อ่านกันครับ.

      ขอบคุณอีกครั้งครับอาจารย์

สวัสดีค่ะ

เคยได้ยินมานาน และเข้าใจชื่อเต็มของ "พ.ส.ร."  แต่รายละเอียดต่าง ๆ เพิ่งทราบวันนี้ค่ะ  เพราะคุณพ่อได้รับเงินนี้เป็นค่าตอบแทนด้วยค่ะ

สวัสดีครับครูคิม

     ขอบคุณที่มาเยี่ยม ครับ.

สวัสดีครับครูยายคิม

        เกษียณราชการไปแล้วคงไม่เหงาหว้าเหว่ เหมือนข้าราชการตำรวจบางนายที่ต้องเหงาเป็นโรคซึมเศร้า ไม่มีบริวารแวดล้อมเหมือนเมื่อยังรับราชการอยู่.

สวัสดีค่ะคุณหมอน้อย ส่งกำลังใจเช่นเคยค่ะ เมื่อสองอาทิตย์ก่อนนั่งรถไฟ แต่ไปถึงแค่ยะลา สถานการณ์สงบดีค่ะ ... ส่งกำลังใจด้วยจิตคารวะ ค่ะ

สวัสดีครับคุณpoo

         ขอบคุณที่มาเยี่ยมครับ ยะลาเป็นเมืองที่น่าอยู่ครับถ้าไม่มีเหตุการณ์ แต่น่าเสียดายที่คนไทย(พุทธ)เริ่มอพยพหนีจากยะลาไปหาที่อยู่ใหม่ อย่าง กทม.และหาดใหญ่กันหลายครอบครัวแล้ว.

ดีมากครับที่ยังไม่ลืมความหลัง ปัญหาของผู้อื่นไม่ใช่ปัญหาของตัวเรา เพราะฉะนั้นอย่าไปคิดให้เขา พยามสงบนิ่งวันละ 5- 10 นาทีเพื่อตรึกตรองตัวเราเองนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท