สอบผอ.รร


แนวข้อสอบผู้อำนวยการโรงเรียน

1. การย้ายผู้บริหารมี 3 กรณี คือ ....

1. การย้ายกรณีปกติ (ย้ายเพื่ออยู่ร่วมกับคู่สมรส, ย้ายเพื่อดูแลบิดามารดา, ย้ายกลับภูมิลำเนา)

2. การย้ายกรณีพิเศษ (ย้ายเนื่องจากเจ็บป่วยร้ายแรง, ย้ายเนื่องจากถูกคุกคามทางชีวิต, ย้ายเพื่อดูแลบิดา มารดา คู่สมรสเนื่องจากเจ็บป่วยร้ายแรง)

3. การย้ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ย้ายเพื่อแก้ปัญหาการบริหารจัดการในหน่วยงานการศึกษา, ย้ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

2. การย้ายไปดำรงตำแหน่งว่างหมายถึง การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งว่างซึ่งมีอัตราเงินเดือน

3. การย้ายสับเปลี่ยนหมายถึง การย้ายสับเปลี่ยนระหว่างบุคคลกับบุคคล

4. การย้ายโดยตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนหมายถึง การตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนตามตัวบุคคลจากหน่วยงานการศึกษาเดิมไปกำหนดในหน่วยงานการศึกษาอื่น

5. การย้ายกรณีปกติ ผอ. และ รอง ผอ. จะต้องดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า12 เดือน

6. ผอ. และ รอง ผอ. อยู่ระหว่างการลาศึกษาต่อเต็มเวลาไม่สามารถย้ายกรณีปกติได้

7. กรณีย้ายปกติ ผู้ขอย้ายจะต้องมีอายุราชการเหลือไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน นับถึง 30 กันยายน ของปีที่ครบเกษียณอายุราชการ

8. หากหน่วยงานที่จะรับย้ายมีกรอบอัตรากำลังเกิน ย้ายไปไม่ได้

9. การย้ายกรณีปกติ ยื่นได้ปีละ 2 ครั้ง

10. ช่วงย้ายครั้งที่ 1 ช่วงวันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ และครั้งที่ 2 ช่วงวันที่ 1-15 สิงหาคม

11. คำร้องขอย้ายที่ยื่นในครั้งที่ 1 ให้พิจารณาย้ายได้ถึง 31 กรกฎาคม ของปีเดียวกัน

12. คำร้องขอย้ายที่ยื่นในครั้งที่ 2 ให้พิจารณาย้ายได้ถึง 31 มกราคม ของปีถัดไป

13. กรณีย้ายไปอยู่หน่วยงานการศึกษาต่างเขตพื้นที่ หาก อ.ก.ค.ศ. อนุมัติ สำนักงานเขตพื้นที่จะต้องนำคำร้องเสนอเขตพื้นที่ ที่ขอย้ายไป ภายในช่วงที่ 1 คือ 1-15 ก.พ. ให้เสนอภายใน15 มี.ค. ของปีเดียวกัน หากเป็นช่วงที่ 2 คือ 1-15 สิงหา ให้เสนอคำร้องภายใน 15 ก.ย. สรุปคือ หาก อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่อนุมัติ เขตที่ยื่นขอย้ายต้องส่งคำขอไปยังเขตที่จะขอย้ายไปภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปนั่นเอง

14. คณะกรรมการกลั่นกรองการย้าย เพื่อพิจารณาคำร้องขอย้ายผู้บริหารสถานศึกษากำหนด         อ.ก.ค.ศ เขตพื้นที่การศึกษา

15. คณะกรรมการกลั่นกรองการย้าย เพื่อพิจารณาคำร้องขอย้ายผู้บริหารสถานศึกษาประกอบด้วย

1. ผอ. เขต เป็นประธาน

2. รอง ผอ. เขต ผู้รับผิดชอบงานบริหารบุคคล เป็นรองประธาน

3. ตัวแทน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ จำนวน 3 คน (ที่คิดว่าไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการย้าย)

4. ผู้แทนผู้บริหาร 2 คน จากประถม หรือขยายโอกาส 1 คน จากมัธยมใหญ่อีก 1 คน

5. ผู้แทนกรรมการสถานศึกษา 2 คน จากประถม หรือขยายโอกาส 1 คน จากมัธยมใหญ่อีก 1 คน

6. หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคลในเขต 1 คน เป็นเลขานุการ

16. คณะกรรมการกลั่นกรองการย้าย เพื่อพิจารณาคำร้องขอย้ายผู้บริหารสถานศึกษามี 9 คน

17. เลขานุการคณะกรรมการกลั่นกรองการย้าย เพื่อพิจารณาคำร้องขอย้ายผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาคือ หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคลในเขตนั้น

18. ตัวแทนผู้บริหารและตัวแทนกรรมการสถานศึกษา ในคณะกรรมการกลั่นกลองเพื่อพิจารณาการย้ายผู้บริหารเป็นตัวแทนใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ไม่ได้

19. ขนาดโรงเรียนตามหลักเกณฑ์การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แบ่งขนาดสถานศึกษาเป็น 4 ขนาด จำแนกตามจำนวนนักเรียน ได้แก่

- ขนาดเล็ก จำนวนนักเรียน ตั้งแต่ 499 ลงมา

- ขนาดกลาง จำนวนนักเรียนตั้งแต่ 500-1499 คน

- ขนาดใหญ่ จำนวนนักเรียนตั้งแต่ 1500-2499 คน

- ขนาดใหญ่พิเศษ จำนวนนักเรียน 2500 คนขึ้นไป

20. ผู้บริหารโรงเรียนที่สอนช่วงชั้นที่ 1-2 หรือ 1-3 ไม่สามารถย้ายไปโรงเรียนที่สอนช่วงชั้น 3-4

21. หากมีผู้ขอย้ายหลายคนให้พิจารณาองค์ประกอบดังนี้ ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ คุณวุฒิ หรือวิชาเอก ผลการปฏิบัติงาน การรักษาวินัย หรือจรรยาบรรณ และความอาวุโสตามหลักราชการ

22. ผอ. ร.ร. ขนาดเล็ก สามารถย้ายเข้าโรงเรียนขนาดกลางได้ และต้องเป็นช่วงชั้นเดียวกัน และเป็นขนาดใกล้เคียงกันไม่เกิน 1 ขนาด

23. สถานศึกษาที่มีลักษณะเฉพาะ หรือมีวัตถุประสงค์พิเศษ คือ โรงเรียนในโครงการพระราชดำริ โรงเรียนที่จัดการศึกษาเน้นด้านวิทยาศาสตร์ โรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับนักเรียนด้อยโอกาส หรือโรงเรียนที่จัดการศึกษาสงเคราะห์

24. การย้ายผู้บริหารโรงเรียนลักษณะพิเศษ หรือมีวัตถุประสงค์พิเศษ ไม่สามารถย้ายข้ามประเภทได้)

25. กรณีแต่งตั้งผู้บริหารวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ดำเนินการดังนี้ ให้ สพฐ เสนอ กคศ. พิจารณา

26. การย้ายเพื่อดูแลบิดา มารดา หรือคู่สมรสที่เจ็บป่วยร้ายแรงจะต้องมีคุณสมบัติ ต้องเป็นบุตรคนเดียว หรือบุตรซึ่งเหลืออยู่คนเดียว หรือเป็นคู่สมรสตามกฎหมาย

27. ผู้ประสงค์ขอย้ายกรณีพิเศษข้อ 1 เจ็บป่วยร้ายแรง สามารถยื่นคำร้องได้ตลอดปี

28. เลขาธิการ ก.ค.ศ. ปัจจุบันชื่อ นายประเสริฐ งามพันธ์

29. ลาป่วยต้องมีใบรับรองแพทย์คือ 30 วันทำการขึ้นไป (ลาไม่ถึง 30 วันทำการ ผู้อนุญาตเห็นสมควร จะสั่งให้มีใบรับรองแพทย์ประกอบใบลาก็ได้)

30. ลาคลอดบุตร สามารถลาได้ครั้งหนึ่ง 90 วัน โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์

31. ข้าราชการที่ยังไม่สมรส สามารถลาคลอดได้

32. การลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรถือเป็นการลาประเภท เป็นการลากิจ(ซึ่งลาได้ไม่เกิน 150 วันทำการ และไม่ได้รับเงินเดือน)

33. ลากิจส่วนตัวลาได้ไม่เกิน 45 วันทำการ

34. ในระหว่างลากิจส่วนตัวหากมีราชการจำเป็นเกิดขึ้น ผู้บังคับบัญชาจะเรียกตัวมาปฏิบัติราชการ ก็ได้ (ยกเว้นกรณีลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร)

35. การลานับวันลา นับเฉพาะวันทำการ

36. กรณีลากิจส่วนตัว หากมีเหตุจำเป็นไม่สามารถยื่นใบลาล่วงหน้า จะสามารถลาได้ (หากได้รับอนุญาต โดยสามารถยื่นใบลาได้ในวันแรกที่มาทำการ)

37. ข้าราชการครู ไม่มีสิทธิลาพักผ่อน(เพราะข้าราชการครูมีปิดเทอมอยู่แล้ว)

38. ลาพักผ่อน ผู้บังคับบัญชาสามารถเรียกตัวมาปฏิบัติราชการได้

39. การนับวันลานับตามปีงบประมาณ

40. ผู้ที่ลาอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัจจ์ ต้องไม่เคยอุปสมบท หรือไปประกอบพิธีฮัจจ์มาก่อน และต้องมีอายุราชการไม่น้อยกว่า 1 ปี

41. ผู้ที่ลาอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัจจ์สามารถลาได้ 120 วัน

42. หลักเกณฑ์การลาอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัจจ์ คือ

1. ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชา ยื่นใบลาเสนอก่อนอนุญาต 60 วัน หากกรณีมีเหตุพิเศษ ไม่ อาจเสนอใบลาก่อน 60 วัน ให้ชี้แจงเหตุผลประกอบการลา

2. หากได้รับอนุญาตให้ลาได้ จะต้องอุปสมบทภายใน 10 วัน นับแต่วันลาหรือเดินทางไป ประกอบพิธีฮัจจ์

3. จะต้องกลับมารายงานตัวภายใน 5 วัน นับแต่ลาสิกขาบทหรือวันเดินทางกลับถึงประเทศไทย

43. ผู้ลาอุปสมบทจะต้องกลับมารายงานตัวหลังลาสิกขาบทแล้วภายใน 5 วัน

44. หากได้รับอนุญาตให้ลาอุปสมบท จะต้องอุปสมบทภายใน 10 วัน

45. การเข้ารับการตรวจเลือกหมายถึง การเข้ารับการตรวจเลือกเพื่อรับราชการเป็นทหารประจำการ

46. เข้ารับการเตรียมพลหมายถึง เข้ารับการระดมพล เข้ารับการตรวจสอบพล เข้ารับการฝึกวิชาทหาร หรือเข้ารับการตรวจความพรั่งพร้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร

47. การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ลาได้ตามเวลาของภารกิจที่กำหนดไว้ในหมายเรียก

48. เมื่อพ้นจากการตรวจเลือก/เตรียมพล ต้องมารายงานตัวภายใน 7 วัน ขยายได้อีก แต่รวมแล้วไม่เกิน 15 วัน

49. ผู้ได้รับหมายเรียกจะต้องรายงานผู้บังคับบัญชาก่อนเข้ารับการตรวจเลือกภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่วันได้รับหมาย เรียก สำหรับเข้ารับการเตรียมพล ให้รายงานผู้บังคับบัญชาภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่วันรับหมายเรียก

50. ผู้ที่จะลาไปทำงานในองค์การระหว่างประเทศ ต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

51. ลาติดตามคู่สมรส หมายความว่าลาติดตามสามีหรือภรรยา ซึ่งไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ไม่รวมไปศึกษาต่อ อบรม ดูงาน

52. ลาติดตามคู่สมรสลาได้ไม่เกิน 2 ปี ลาต่อได้อีกไม่เกิน 2 ปี รวมแล้วไม่เกิน 4 ปี หากเกิน 4 ปี ให้ลาออก

53. ลาบ่อย คือผู้ปฏิบัติงานในสถานศึกษาลาเกิน 6 ครั้ง สำนักงาน ลาเกิน 8 ครั้ง

54. มาทำงานสายเนืองๆ คือผู้ปฏิบัติงานสถานศึกษาต้องสาย เกิน 8 ครั้ง สำนักงาน เกิน 9 ครั้ง

คำสำคัญ (Tags): #แนวข้อสอบผอ.รร.
หมายเลขบันทึก: 397117เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2010 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กำลังเตรียมตัวสอบผู้บริหาร อยากได้ความรู้บ้าง

ได้ความรู้ชัดเจนขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับอ่านเองแล้วมาสรุปอีกครั้งกับข้อมูลของท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท