การสร้างองค์ความรู้ด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน


การสร้างองค์ความรู้ด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน

การสร้างองค์ความรู้ด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน

  ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism)  แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น    หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ  ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน  ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน  เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ  ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย  เช่น  การประเมินตนเอง  การประเมินโดยครูและเพื่อน  การสังเกต  การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน

ที่มาhttp://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm

 ทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) แนวคิดคือ ผู้เรียนสร้างความรู้ขึ้นด้วยตนเอง โดยจะต้องลงมือสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา เช่น การสร้างสิ่งจำลอง การสร้างสิ่งที่จับต้องสัมผัสได้ ทำให้ผู้อื่นมองเห็นได้ จะมีผลทำให้ผู้เรียนต้องใช้ความคิด มีความกระตือรือร้น มีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อเกิดการสร้างสรรค์ความคิด โดยมีหลักการคือ
- การเชื่อมโยงสิ่งที่รู้แล้วกับสิ่งที่กำลังเรียน
- การให้โอกาสผู้เรียนเป็นผู้ริเริ่มทำโครงการที่ตนเองสนใจ
- เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิด นำเสนอผลการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของตนเอง
- ให้เวลาทำโครงการอย่างต่อเนื่อง
Link : http://www.nectec.or.th/courseware/cai/0044.html

  จากการที่ได้ศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้ในการที่จะนำหลักการ ทฤษฎีที่สามารถจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยตนเอง
โดยเฉพาะการสร้างการ์ตูนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ปัจจุบันมีอยู่มากมายที่นักเรียนสามารถเรียนรู้สำหรับสร้างสรรค์ชิ้นงานได้ตามจินตนาการของนักเรียนเองจากที่เคยได้ศึกษาเรื่องการ์ตูนจะเห็นว่าการ์ตูนสามารถที่จะส่งเสริมความรู้ ความคิด จินตนาการของคนเราทุกเพศ ทุกวัย ให้ทั้งความสนุกสนาน องค์ความรู้รวบยอด ความอยากเรียนรู้อยากค้นหาติดตาม

   ปัจจุบันได้สอนให้นักเรียนสร้างตัวการ์ตูนตามจิตนาการของนักเรียน โดยใช้โปรแกรมนาโมฟรีโมชั่นของsipa ที่ได้รับจากการไปอบรมมาเห็นได้ว่านักเรียนสามารถที่จะคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์  และสามารถนำตัวการ์ตูนที่สร้างสรรค์มาสร้างเป็นบทเรียนการ์ตูนได้ตามที่นักเรียนได้ออกแบบไว้ จากการดำเนินการตรงนี้ทำให้มีความคิดอยากจะนำการจัดการเรียนการสอนเข้าสู่การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นสำหรับตัวเองซึ่งเป็นผู้สอน และศึกษาค้นคว้าวิธีการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ โดยการทำการวิจัยในชั้นเรียน

ลิ้งเว็บ
ผลงานนักเรียนจากการจัดการเรียนการสอน
http://kruarisara.wordpress.com/2010/08/20/%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99button%e0%b8%a1-61%e0%b8%9e/
ผู้ใดมีความรู้ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านนี้เชิญแสดงความคิดเห็นและแนะนำด้วยค่ะ

ลิ้งที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้ศึกษาเพิ่มเติม

http://www.pochanukul.com/?p=156

ทฤษฎีการเรียนรู้

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89

http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm

คำสำคัญ (Tags): #อริศรา สะสม
หมายเลขบันทึก: 396220เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2010 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท