การศึกษาดูงานผู้สูงอายุโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า 17 กันยายน 2553


ชมรมที่เข็มแข็งควรมีการดูแลสมาชิกในชมรมกันเอง

สรุปผลการศึกษาดูงานผู้สูงอายุโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า 17 กันยายน 2553

                การให้บริการงานสูงอายุโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า มีการดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ งานให้บริการในโรงพยาบาล และงานชมรมผู้สูงอายุ สำหรับหัวข้อที่ข้าพเจ้าจะขอนำมาสรุปเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้คืองานชมรมสูงอายุ ของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

                ชมรมผู้สูงอายุเริ่มจัดตั้งขึ้นจากผู้สูงอายุที่เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาล และเมื่อมีจำนวน มากขึ้นจึงมีการชักชวนให้มีกิจกรรมต่างๆตามมาและเรียกกลุ่มนี้ว่า อาสาสมัครโรงพยาบาล  มีกิจกรรมในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์คือ จัดตั้งเพื่อเป็นการแก้ปัญหาของสูงอายุกันเอง  เพื่อสนองความต้องการของสมาชิก การดำเนินงานในชมรมต้องอิสระไม่เป็นเครื่องมือของใคร และมีหน่วยงานสนับสนุน   ชมรมต้องพึ่งตนเองได้ช่วยเหลือสังคมได้ เช่นจัดหารายได้สมทบทุนซื้อเครื่องมือให้โรงพยาบาล ช่วยเด็กนักเรียน และผู้ป่วยได้

               ปัจจัยที่ทำให้ชมรมเข็มแข็งคือ ความรู้ความสามารถของประธานชมรม ต้องเก่ง และมีศักยภาพ มิใช่ได้มาโดยการ พวกมาก เลือกกันขึ้นมา   กรรมการเข็มแข็ง   สมาชิกมีกฎระเบียบในการอยู่ร่วมกัน และต้องมีการประสานงานเครือข่ายสุขภาพได้ เช่น  สปสช    สสจ   อบต   เป็นต้น ชมรมจัดกิจกรรมให้สมาชิก เช่นกิจกรรมสนับสนุนให้สมาชิกดูแลกันเอง    (ไม่พึ่ง อาสาสมัครสาธารณสุข   หรือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข) จัดหาอุปกรณ์ช่วยเหลือสมาชิกที่ช่วยตนเองไม่ได้ โดยมีอุปกรณ์ให้ยืมได้ สามารถให้คำปรึกษากับสมาชิกชมรมได้ และส่งต่อผู้ที่พบปัญหา จัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุสม่ำเสมอ   มีการรณรงค์ให้สมาชิกมีการดูแลกันเองโดยให้รางวัลถ้าใครทำได้มากและดี เช่น การไปเยี่ยมผู้สูงอายุที่บ้าน  การแข่งขันการออกกำลังกาย เป็นต้น

เป็นอย่างไรบ้างได้อ่านแล้วลองเปรียบเทียบดู ว่าชมรมที่อยู่ในพื้นที่ของเราเป็นอย่างไร สามารถพัฒนาเป็นรูปแบบอย่างเขาได้ไหม   ถ้าได้ก็คงดี   แต่ถ้าไม่ได้เราจะทำชมรมของเราให้ดีในบริบทเราได้อย่างไร 

               สำหรับพื้นที่ ตำบลหางน้ำสาคร ชมรมที่จดทะเบียนการเป็นชมรมล่าสุด คือชมผู้สูงอายุหมู่ 4 ตำบลหางน้ำสาคร อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท จัดตั้งขึ้นมี กิจกรรมการช่วยเหลือสมาชิก เช่น เสียชีวิต มีการไปสวดอภิธรรม ช่วยสงเคราะห์ศพที่เสียชีวิต มีการประชุมทุกเดือน  การดูแลด้านสุขภาพ มุ่งเน้นอาสาสมัครสาธารณสุข ดูแลสมาชิก  และคณะกรรมการดำเนินงานในชมรม ยังขาดประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม ซึ่งในอนาคตต้องจัดเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับชมรมในการช่วยเหลือ  ผู้สูงอายุและต้องให้ชมรมตระหนักในการดูแลกันเองจึงจะยั่งยืนต่อไป

                                                                                       ชอุ้ม กลิ่นษร
                                                                                 พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
หมายเลขบันทึก: 396034เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2010 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 19:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีค่ะ .....จัดเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับชมรมในการช่วยเหลือ  ผู้สูงอายุและต้องให้ชมรมตระหนักในการดูแลกันเอง/By Jan 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท