การศึกษางานวิจัย 5 บท


แผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการวิชาสังคม ฯ ป.5

                     วิฑูรย์   บุญสุภาพ. (2550). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง

                                   หน้าที่ชาวพุทธ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

                                   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.

 

                                   การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นการศึกษาเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้

                      แบบบูรณาการ เรื่องหน้าที่ของชาวพุทธ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา

                      และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  2) ศึกษาผลการเรียนรู้ โดยการจัดกิจกรรม

                      การเรียนรู้ ด้วยการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการ เรื่องหน้าที่ของชาวพุทธ   

                      กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 

                      3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแผนการจัด

                      การเรียนรู้ แบบบูรณาการ เรื่องหน้าที่ของชาวพุทธ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา 

                      ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา

                      ปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดดาวเรือง)  สังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี

                      ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2550 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือ

                      ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง หน้าที่

                      ชาวพุทธ  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจของ         

                      นักเรียน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละและค่าเฉลี่ย

                                   ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า

1)      แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ กลุ่มสาระการ       

                      เรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ

                      87.20/86.50

                                    2)   ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องหน้าที่

                      ชาวพุทธ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.71 ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.00

3)      ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยแผนการจัดการ

                      เรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องหน้าที่ชาวพุทธ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา

                      และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยูในระดับมาก

 

 

 

 

 

บทที่  1

บทนำ

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ   จะช่วยให้ทั้งครูและนักเรียนเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนเข้ากับชีวิตจริงได้  และในทางกลับกันก็จะสามารถเชื่อมโยงเรื่องของชีวิตจริงภายนอกห้องเรียนเข้ากับสิ่งที่เรียนได้  ห้องเรียนจึงเปรียบเสมือนหน้าต่างของโลก  การเรียนเรื่องใด ๆ กับวิชาใด ๆ แบบแยกกันเป็นส่วน ๆ  หรือในลักษณะที่มีความสัมพันธ์กันน้อยมากจะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป  แต่จะเปลี่ยนมาเป็นการมุ่งเน้นการเรียนรู้ให้เกิดความรู้  ความเข้าใจ  การแก้ปัญหาและการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ  ผู้เรียนจะมีพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยความกระตือรือร้น  มีประสิทธิภาพ  และสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้มาก่อนกับสิ่งที่กำลังเรียนรู้ใหม่อีกด้วย  (กรมวิชาการ.  2540 : 2)  นอกจากนี้แล้วการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการยังมีประโยชน์ในการขจัดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาต่าง ๆ  ในหลักสูตรวิธีบูรณาการจะนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจว่า  การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์และวิธีการต่าง ๆ  อันหลากหลายและปฏิสัมพันธ์ในกระบวนการเรียนรู้นั้น ๆ  ทั้งนี้เนื้อหาต่าง ๆ  ที่มีในหลักสูตรซึ่งอาจจะได้แก่ความรู้เกี่ยวกับตนเอง  ครอบครัว  สังคมและโลกรอบตัว  ในขณะที่มิติในทางสังคมแห่งการเรียนรู้จะได้แก่บทบาทครู   และนักเรียนหรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน   (กรมวิชาการ.     2540 : 7)

นโยบายการจัดการศึกษาของโรงเรียนด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนส่วนมากโรงเรียนจะเน้นผลสัมฤทธิ์ทางด้านพุทธิพิสัยมากกว่าจิตพิสัยและทักษะพิสัย  ครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรไม่รู้จักประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนการสอน  ครูผู้สอนอาจจะยังไม่เข้าใจในวิธีสอนแบบต่าง ๆ  อย่างเพียงพอ  ครูยังยึดกับการสอนแบบเดิม  คือการสอนแบบบรรยายไม่สามารถพัฒนาผู้เรียน  ค่านิยมอันพึงประสงค์ได้  และปฏิบัติตนตามหน้าที่ของชาวพุทธได้ถูกต้อง  โดยเฉพาะครูยังไม่เข้าใจวิธีการสอนแบบบูรณาการ  การสอนพระพุทธศาสนาจะให้ได้ผลสำเร็จ  ต้องสอนตามวิธีการสอนแบบบูรณาการ  ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับชีวิตจริง  ได้ฝึกทักษะต่าง ๆ  อย่างหลากหลาย  ฝึกกระบวนการคิด  ได้เรียนรู้ทักษะกระบวนการและเนื้อหาสาระไปพร้อม ๆ กันสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริง  เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย  เพราะการเรียนรู้วิชาหนึ่งอาจช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจในวิชาอื่น ๆ  ได้อีก  (กรมวิชาการ.  2545 : 6)

ผู้ศึกษาค้นคว้าในฐานะผู้ปฏิบัติงานสายผู้สอน  มีความสนใจที่จะศึกษาปัญหาและค้นคว้าหาแนวทางแก้ไขปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาระพระพุทธศาสนา  จึงได้ทำการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการขึ้น   เพื่อการพัฒนาปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ นักเรียนมีเจตคติต่อสาระพระพุทธศาสนา  และจะเป็นการปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม  ให้เกิดขึ้นกับเด็ก  ส่งผลถึงสังคม  ประเทศชาติในภายหน้า  ให้เกิดความสงบสุขร่มเย็นต่อไป

 

ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

1.  เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  เรื่องหน้าที่ของชาวพุทธ    กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่  5  

2.  เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้  โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยการใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  เรื่องหน้าที่ของชาวพุทธ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 

 ชั้นประถมศึกษาปีที่  5

3.  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ด้วยการใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง หน้าที่ของชาวพุทธ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  ชั้นประถมศึกษาปีที่  5

 

ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า

1.  ได้แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  เรื่องหน้าที่ของชาวพุทธ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ชั้นประถมศึกษาปีที่  5

2.  เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรมในการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ

3.  ได้ทราบความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  เรื่อง  หน้าที่ของชาวพุทธ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ชั้นประถมศึกษาปีที่  5

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

ประชากรกลุ่มตัวอย่าง

1.  ประชากร   ได้แก่   นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  โรงเรียนเทศบาล  5  (วัดดาวเรือง)  สังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี   จังหวัดสระบุรี   ภาคเรียนที่  1   ปีการศึกษา  2550   จำนวน  2  ห้องเรียน

2.  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5/2  โรงเรียนเทศบาล  5  (วัดดาวเรือง)  สังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี  จังหวัดสระบุรี  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2550  ซึ่งได้มาจากสุ่มอย่างง่าย( Simple Random Sampling )  จำนวน 1  ห้อง  มีนักเรียน 20 คน  ซึ่งได้มาจากสุ่มอย่างง่าย

นิยามศัพท์เฉพาะ

1.  บูรณาการ  หมายถึง  การนำเอาศาสตร์หรือสาระสาขาวิชาต่าง ๆ  ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกัน

2.  แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  หมายถึง  การเตรียมการสอนที่นำเอาเนื้อหาสาระพระพุทธศาสนา  โดยจัดการเรียนรู้ในลักษณะการบูรณาการระหว่างวิชา  ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงหรือรวมศาสตร์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา   กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะภายใต้หัวข้อเรื่องเดียวกัน  โดยจัดรูปแบบของการบูรณาการ  แบบสอดแทรกโดยครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  สอดแทรกเนื้อหากลุ่มสาระต่าง ๆ   ที่มีเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกันเข้ามาจัดกิจกรรมการเรียนรู้และสามารถประเมินผล  โดยใช้กิจกรรมเดียวกัน  โดยครูคนเดียวเป็นผู้ประเมิน

3.  ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ   หมายถึง   คะแนนเฉลี่ยที่นักเรียนสามารถทำแบบฝึกท้ายแผน  และทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แล้วผ่านการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80

80  ตัวแรก  หมายถึง  ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทุกคนที่ได้จากการทดสอบย่อยท้ายแผนและการสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน  ซึ่งจะต้องได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ  80  ขึ้นไป

80  ตัวหลัง  หมายถึง  ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งหมด  ซึ่งจะต้องได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ  80  ขึ้นไป

4.  ดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness  Index) (E.I.)  หมายถึง  ตัวเลขที่แสดงถึงความก้าวหน้าในการเรียนของผู้เรียน  โดยการเทียบคะแนนที่เพิ่มขึ้นจากคะแนนการทดสอบก่อนเรียน   กับคะแนน ที่ได้จากการทดสอบหลังเรียน  และคะแนนเต็มหรือคะแนนสูงสุดกับคะแนนที่ได้จากการทดสอบ  ก่อนเรียน

5.  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  หมายถึง  แบบทดสอบชนิดเลือกตอบ  4  ตัวเลือก  จำนวน  40  ข้อ   เรื่องหน้าที่ของชาวพุทธ   กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม    ชั้นประถมศึกษาปีที่  5   ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น

6.  ความพึงพอใจ  หมายถึง  เจตคติหรือความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้   ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  เรื่องหน้าที่ของชาวพุทธ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  วัดได้ด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น  จำนวน  10  ข้อ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่  2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้   ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ศึกษาเอกสารและกำหนดขอบเขตของการวิจัยเสนอผลการค้นคว้าจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

1.   หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544

2.  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  และกิจกรรมการเรียน

การสอนพระพุทธศาสนา  พุทธศักราช  2544

3.   สาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา  ระดับช่วงชั้นที่  2  (ชั้นประถมศึกษาปีที่  4 – 6)

4.   เอกสารที่เกี่ยวกับการเขียนแผนการสอน(แผนการจัดการเรียนรู้)

5.   แผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ

6.   การหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้

7.   ดัชนีประสิทธิผล

8.   ความพึงพอใจ

9.   งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

9.1  งานวิจัยในประเทศ

9.2  งานวิจัยต่างประเทศ

 

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544

กรมวิชาการ   (2546 : 4)   กำหนดหลักการของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน   เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นไปตามนโยบายการจัดการศึกษาของประเทศไว้ดังนี้

1.  เป็นการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ  มุ่งเน้นความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล

2.  เป็นการศึกษาเพื่อปวงชน    ที่ประชาชนทุกคนจะได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน

3.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

4.  เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ  เวลา  และการจัดการเรียนรู้

5.  เป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ  ครอบคลุมทุกเป้าหมาย  สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้และประสบการณ์

 

 

 

จุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  เป็นคนดีมีปัญญา  มีความสุขและมีความเป็นไทย  มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ  จึงกำหนดจุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานการเรียนรู้  ให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังต่อไปนี้

1.  เห็นคุณค่าของตนเอง  มีวินัยในตนเอง  ปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ  มีคุณธรรม  จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์

2.  มีความคิดสร้างสรรค์  ใฝ่รู้  ใฝ่เรียน  รักการอ่าน  รักการเขียนและรักการค้นคว้า

3.  มีความรู้อันเป็นสากลรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง  และความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการมีทักษะและศักยภาพในการจัดการการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี  ปรับวิธีการคิดวิธีการทำงานได้เหมาะสมกับสถานการณ์

4.  มีทักษะและกระบวนการ  โดยเฉพาะทางคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ทักษะการคิด  การสร้างปัญญาและทักษะในการดำเนินชีวิต

5.  รักการออกกำลังกาย  ดูแลตนเองให้มีสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี

6.  มีประสิทธิภาพในการผลิตและการบริโภค  มีค่านิยมเป็นผู้ผลิตมากกว่าเป็นผู้บริโภค

7.  เข้าใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทย  ภูมิใจในความเป็นไทย  เป็นพลเมืองดียึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองระบอบประชาธิปไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

8.  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย  ศิลปะ  วัฒนธรรม  ประเพณี  กีฬา  ภูมิปัญญาไทย  ทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม

9.  รักประเทศชาติและท้องถิ่น  มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามให้สังคม

โครงสร้างหลักสูตร

เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามหลักการ  จุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดให้สถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องมีแนวปฏิบัติในการจัดหลักสูตรสถานศึกษา  จึงกำหนดโครงสร้างของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ดังนี้  (กรมวิชาการ.  2546 : 5)

ระดับช่วงชั้น

กำหนดหลักสูตรเป็น  4  ช่วงชั้น  ตามระดับพัฒนาการของผู้เรียน  ดังนี้

ช่วงชั้นที่  1  ชั้นประถมศึกษาปีที่  1 – 3

ช่วงชั้นที่  2  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4 – 6

ช่วงชั้นที่  3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 – 3

ช่วงชั้นที่  4  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 – 6

สาระการเรียนรู้

กำหนดสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรประกอบด้วยองค์ความรู้ทักษะ  หรือกระบวนการเรียนรู้   และคุณลักษณะหรือค่านิยม  คุณธรรม  จริยธรรมของผู้เรียนเป็น  8  กลุ่ม  ดังนี้

1.  ภาษาไทย

2.  คณิตศาสตร์

3.  วิทยาศาสตร์

4.  สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม

5.  สุขศึกษาและพลศึกษา

6.  ศิลปะ

7.  การงานอาชีพและเทคโนโลยี

8.  ภาษาต่างประเทศ

 

เอกสารที่เกี่ยวกับการเขียนแผนการสอน  (แผนการจัดการเรียนรู้)

1.   ความหมายของแผนการสอน  (แผนการจัดการเรียนรู้)

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  (2536 : 133)  ให้ความหมายของแผนการสอน  (แผนการจัดการเรียนรู้)  หมายถึง  การวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเป็นแนวดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละครั้ง  โดยกำหนดสาระสำคัญ  จุดประสงค์  เนื้อหา  กิจกรรมการเรียนการสอน  สื่อ  ตลอดจนการวัดผลและประเมินผล

กรมวิชาการ  (2539 : 149)  ให้ความหมายของแผนการเรียนการสอน  หมายถึง  เอกสารที่ได้เตรียมการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไว้อย่างละเอียดและชัดเจน  ซึ่งครูหรือผู้อื่นสามารถนำเอกสารแผนการสอน  (แผนการจัดการเรียนรู้)  นี้ไปใช้สอนในห้องเรียนได้เลย

2.   ความสำคัญของแผนการสอน  (แผนการจัดการเรียนรู้)

ทวีศักดิ์  ไชยมาโย  (2534 : 4 - 5)  ให้ความสำคัญของแผนการสอนไว้  ดังนี้

1.  ช่วยให้ครูได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ในเรื่องหลักสูตรแนวการสอน  การจัดทำจัดหาสื่อประกอบการสอน  ตลอดจนวิธีการวัดและประเมินผลอย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุม

2.  ช่วยให้เกิดการวางแผนวิธีสอน  วิธีเรียนที่มีความหมายยิ่งขึ้น   เพราะการทำแผนการสอน(แผนการจัดการเรียนรู้)  เป็นการผสมผสานเนื้อหาสาระ  และจุดประสงค์การเรียน  จากหลักสูตรกับหลักจิตวิทยาการศึกษาหรือวัตกรรมการเรียนใหม่ ๆ  ตลอดจนปัจจัยอำนวยความสะดวกของโรงเรียนและสภาพปัญญา  ความสนใจ  ความต้องการของนักเรียน  ผู้ปกครองและทรัพยากรในท้องถิ่น  โดยใช้วิธีการเชิงระบบ  เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3.  ช่วยให้ครูมีคู่มือที่ทำด้วยตนเองไว้ล่วงหน้า  เพื่อให้เกิดความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ  ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร  ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ครบถ้วน  สอดคล้องกับระยะเวลาและจำนวนคาบที่มีอยู่จริงในแต่ละภาคเรียน  นั่นคือ  สอนได้ครบถ้วนและทันเวลาช่วยให้ครูมีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น

4.  ทำให้การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้  ช่วยให้ครูสามารถวินิจฉัยจุดอ่อนของนักเรียนที่จะได้รับการแก้ไข  และทราบจุดเด่นที่ควรได้รับการเสริมสร้างต่อไป  นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูเห็นภาพการทำงานของตนเองให้เด่นชัดขึ้น

5.  ครูผู้สอนสามารถใช้เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง  เที่ยงตรง  เพื่อเสนอแนะแก่บุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   ได้แก่   กรมวิชาการ   ศึกษานิเทศก์และผู้บริหาร  เพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

6.  ช่วยให้ผู้บริหารหรือผู้เกี่ยวข้องสามารถทราบขั้นตอน  กระบวนการต่าง ๆ  ในการสอนของครู  เพื่อการนิเทศติดตาม  และประเมินผลการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7.  ผู้สอนติดธุระจำเป็น  ไม่สามารถสอนด้วยตนเองได้  แผนการสอน  (แผนการจัดการเรียนรู้)  จะใช้เป็นคู่มือผู้มาสอนแทนได้อย่างดี

8.  เป็นการพัฒนาวิชาชีพครู  ที่แสดงว่างานสอนต้องได้รับการฝึกฝน  มีความเชี่ยวชาญ  โดยเฉพาะมีเครื่องมือและเอกสารที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพ

9.  เป็นผลงานทางวิชาการอย่างหนึ่ง  ที่แสดงให้เห็นถึงความชำนาญพิเศษ  หรือความเชี่ยวชาญของผู้จัดทำแผนการสอน  (แผนการจัดการเรียนรู้)  ซึ่งสามารถนำไปพัฒนางานในหน้าที่และเสนอเลื่อนระดับให้สูงขึ้นได้

3.   แผนการสอน  (แผนการจัดการเรียนรู้)  ที่ดี

กรมวิชาการ  (2535 : 56)  แผนการสอน  (แผนการจัดการเรียนรู้)  ที่ต้องมีรายละเอียดชัดเจนในกิจกรรมของครูของนักเรียน  ว่าทำอะไร  อภิปรายในประเด็นใด  ตั้งคำถามว่าอย่างไร   แนวคำตอบถูกต้องหรือไม่  ข้อสรุปมีลักษณะอย่างไร  ใช้สื่ออะไร  การเขียนแผนการสอนอาจปรับปรุงได้หลากหลาย  มีทั้งแบบใช้ตารางคล้ายการบันทึกการสอนหรือแบบบรรยาย  โดยไม่ใช้ตารางก็ได้   สิ่งที่ควรกล่าวให้ชัดเจนในแผนการสอน  (แผนการจัดการเรียนรู้)  ได้แก่

1.  ชื่อเรื่อง

2.  จำนวนคาบ

3.  สาระสำคัญ

4.  จุดประสงค์การเรียนรู้

5.  กิจกรรมการเรียนการสอน

6.  สื่อการเรียนการสอน

7.  การวัดผลประเมินผล

ผู้ศึกษาค้นคว้าสรุปแผนการสอนที่ดีจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมมากที่สุดมีกิจกรรมที่หลากหลาย  ครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทางและกระตุ้นให้กิจกรรมการเรียนรู้นั้นบรรลุตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้

 

 

4.   ประโยชน์ของแผนการเรียนรู้

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  (2536 : 134)  กล่าวถึงประโยชน์ของแผนการจัดการเรียนรู้  ว่าถ้าครูได้จัดทำแผนการเรียนรู้  และใช้แผนการเรียนรู้   ที่จัดทำขึ้นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน   นำข้อบกพร่องมาปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น  เพื่อนำไปใช้สอนในคราวต่อไป  แผนการเรียนรู้  ดังกล่าวจะเกิดประโยชน์  ดังนี้

1.  ครูรู้วัตถุประสงค์การสอน

2.  ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยความมั่นใจ

3.  ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน

4.  ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพตรงตามเจตนาหลักสูตร

5.  ถ้าครูประจำชั้นไม่ได้สอน   ผู้ที่สอนแทนสามารถสอนแทนได้ตามจุดประสงค์ที่กำหนด

 

แผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ

1.   ความหมายของบูรณาการ  (Intergration)

การบูรณาการ  หมายถึง  การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงศาสตร์  หรือเนื้อหาสาขาวิชาต่าง ๆ  ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกัน  เพื่อให้เกิดความรู้ที่มีความหมายมีความหลากหลาย  และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน

2.   ความเป็นมาของการสอนแบบบูรณาการ

วิมลรัตน์  สุนทรโรจน์  (2545 : 223-232)  ได้กล่าวถึงความเป็นมาของการสอนแบบบูรณาการว่า  หลักสูตรประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของไทยเราที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้  ก็ได้กล่าวถึงเรื่องบูรณาการไว้อย่างชัดเจน  ในแนวทางการดำเนินงานสำหรับการจัดการศึกษาตามหลักสูตร  และถ้าจะนึกย้อนทบทวนกันอย่างจริง ๆ จัง ๆ  แล้วก็จะพบว่าการจัดการศึกษาของไทยแท้แต่โบราณก็ถือเอาผู้เรียนเป็นใหญ่  เป็นศูนย์กลางมาแต่เดิม  ครูจะจัดการศึกษาให้ศิษย์ก็ต้องคำนึงถึงพื้นฐานทางพฤติกรรม  และอุปนิสัยของศิษย์แต่ละคน  ซึ่งไม่เหมือนกันเป็นที่ตั้งรวมทั้งเนื้อหาของวิชาที่สอนก็จะอนุโลมให้ดำเนินไปตามวิถีชีวิต  และสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญด้วยเหตุนี้  การบูรณาการจึงไม่น่าจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับวงการศึกษาไทยและครูไทยแต่อย่างใด  เพียงแต่ว่าเราจะให้ความสำคัญและความเอาใจใส่แก่กรณีนี้เป็นพิเศษเพียงใดหรือไม่เท่านั้นเอง

3.   ทำไมต้องบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอน

สุวิทย์  มูลคำ  และคณะ  (2546 : 184)  ได้กล่าวถึงเหตุผลที่ต้องบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอน  มีดังนี้

1.  เรื่องราวต่าง ๆ  ที่เป็นวิถีชีวิตประจำวันของผู้เรียนต่างสอดคล้องสัมพันธ์กัน  ไม่ได้แยกส่วนออกจากกันเป็นเรื่อง ๆ  แบบรายวิชาเรียน

2.  ข้อค้นพบทั้งทางทฤษฎีการเรียนรู้และผลวิจัยทางการศึกษาต่างยืนยันตรงกันว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นและเรียนรู้อย่างมีความหมายเมื่อมีการบูรณาการเข้ากับชีวิต

3.  ปัจจุบันเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน  หรือยุคฟ้าบ่อาจกั้น หรือยุคโลกาภิวัตน์  (Globalization)  สรรพศาสตร์ทั้งหลายที่มีมากมายในโลกได้รับการจัดระบบที่ดี  เชื่อมโยงกับเรื่องราวที่ค้นพบใหม่  ทุกคนมีสิทธิเท่า ๆ กันในการแสวงหา  ง่ายขึ้นสะดวกขึ้น  พึ่งพิงผู้สอนน้อยลง   ผู้สอนจึงจำเป็นที่จะต้องเลือกเฉพาะสาระที่สำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตที่ผู้เรียนต้องการโดยใช้เวลา เท่าเดิม

4.  ไม่มียาอายุวัฒนะฉันใด   ก็ยังไม่มีหลักสูตรวิชาใดเพียงวิชาเดียวที่สำเร็จรูป   และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงได้

5.  การเชื่อมโยงเนื้อหาวิชาต่าง ๆ  ที่ใกล้เคียงหรือเกี่ยวข้องกันจะช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาและระยะเวลาเรียน  ลดภาระงานผู้สอน  ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมายมากขึ้น  เรียกว่ามีแต่ได้กับได้  (Win - Win)

6.  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแต่ละคนได้ใช้ความรู้   ความคิด   ความสามารถและทักษะที่หลากหลายในการเข้าร่วมกิจกรรม

4.   ประเภทของการบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอน

วิมลรัตน์  สุนทรโรจน์  (2545 : 233-234)  ได้กล่าวถึงประเภทของการบูรณาการไว้ดังนี้

1.  แบบสหวิทยาการ  (Interdisciplinary)  ได้แก่  การสร้างหัวเรื่อง  (Theme)  ขึ้นมาแล้วนำความรู้จากวิชาต่าง ๆ  มาโยงสัมพันธ์กับหัวเรื่องนั้น  ซึ่งบางครั้งเราก็อาจจะเรียกวิธีบูรณาการแบบนี้ได้ว่าสหวิทยาการแบบมีหัวข้อ  (Themetic  Interdisciplinary  Studies)  หรือการบูรณาการที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลัก  (Application – First  Approach)

2.  แบบพหุวิทยาการ  (Multidisciplinary)  ได้แก่  การนำเรื่องที่ต้องการจะจัดให้เกิดบูรณาการไปสอดแทรก  (Infusion)  ไว้ในวิชาต่าง ๆ  ซึ่งบางครั้งเราก็อาจจะเรียกวิธีบูรณาการแบบนี้ว่าการบูรณาการที่เน้นเนื้อหารายวิชาเป็นหลัก  (Discipline – First  Approach)

ไม่ว่าจะเป็นการบูรณาการหลักสูตรแบบใดก็ตาม  ในการจัดการเรียนการสอนต้องคำนึงถึงหลักการที่สำคัญ  5  ประการ  ประกอบด้วยเสมอ  ได้แก่

1.  การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง  ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนอย่างกระตือรือร้น

2.  การส่งเสริมให้นักเรียนได้ร่วมทำงานกลุ่มด้วยตนเอง  โดยส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่หลากหลายในการเรียนการสอน  และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้ลงมือทำด้วยตนเอง

3.  จัดประสบการณ์ตรงให้แก่ผู้เรียน  โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมเข้าใจง่าย  ตรงกับความเป็นจริง  สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างได้ผล   และส่งเสริมให้มีโอกาสได้ปฏิบัติจริง  จนเกิดทักษะและความสามารถที่ติดเป็นนิสัย

4.  จัดบรรยากาศในชั้นเรียน  ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกกล้าคิด  กล้าทำ  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสแสดงออก   ซึ่งความรู้สึกนึกคิดของตนต่อสาธารณชน   หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียน    เพื่อสร้างความมั่นใจให้เกิดกับผู้เรียน

5.  เน้นการปลูกฝังจิตสำนึก  ค่านิยมและจริยธรรมที่ถูกต้องดีงาม  ให้ผู้เรียนสามารถจำแนกแยกแยะความถูกต้องดีงาม  และความเหมาะสมได้  สามารถขจัดความขัดแย้งได้ด้วยเหตุผลมีความกล้าหาญทางจริยธรรม  และแก้ปัญหาด้วยปัญญาและสามัคคี

5.   ลักษณะของการสอนแบบบูรณาการ      การบูรณาการมีลักษณะโดยรวมดังนี้

1.  เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้  ปัจจุบันการเรียนการสอนด้วยวิธีเดิม  เช่น  การบอกเล่า  การบรรยายและการท่องจำ  อาจไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้    ผู้เรียนควรเป็นผู้สำรวจความสนใจของตนเอง   ว่าในองค์ความรู้หลากหลายนั้น  อะไรคือสิ่งที่ตนเองสนใจอย่างแท้จริง  ตนควรจะแสวงหาความรู้เพื่อตอบสนองความสนใจเหล่านั้นได้อย่างไร  เพียงใดและด้วยกระบวนการเช่นไร  ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนลักษณะนี้  ย่อมขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล

2.  เป็นการบูรณาการระหว่างพัฒนาการทางความรู้  และพัฒนาการทางจิตใจ  คือ  การให้ความสำคัญแก่จิตพิสัย  คือ  จิตคติ  ค่านิยม  ความสนใจและสุนทรียภาพ  แก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ด้วยไม่ใช่เน้นแต่เพียงองค์ความรู้  หรือพุทธิพิสัยแต่เพียงอย่างเดียว

3.  เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำเ

หมายเลขบันทึก: 395983เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2010 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มีไม่ครบ5บทหรอคะ

มี 2 บทหรือค่ะ มีค่าใช้จ่ายหรือไม่

จะรบกวนขอบทที่3-5 จะต้องทำอย่างไรดีค่ะ มีค่าใช้จ่ายหรือไม่ค่ะเพราะหัวหน้าฝ่ายเรียกเก็บแต่ยังไม่มีงานส่งเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท