สกว.กับแนวทางการขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินชุมชน ตอนที่ 1


โดย ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย วันที่ 2 กรกฎาคม 2549

  <p>เมื่อเช้ามานั่งฟังอยู่เพิ่งจะถึงบางอ้อเมื่อกี้นี้เองว่าทิศทางของขบวนการองค์กรการเงินชุมชนเป็นอย่างนี้นะเอง ดิฉันขอเลือกใช้ตัวเดียวคือเรื่องของการออม เสถียรภาพสัดส่วนการชี้วัด ตัวชี้วัด ก็คือ การออม ถามว่าลงมาที่ครัวเรือนเงินออมบอกอะไรเราได้บ้าง เงินออมเป็นตัวที่บอกหลักประกันความมั่นคง แถมบอกพฤติกรรมความพอเพียง ความประหยัด ความรู้จักการใช้จ่ายอย่างพอเหมาะพอสมเหตุสมผล คือ มันเข้าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นมาที่ระดับชุมชน การมีเงินออมสามารถนำไปสู่สิ่งที่เราเห็นในเรื่องสวัสดิการชุมชน ถ้าถามว่าแผน 10 นี้เขาควรจะเล็งในเรื่องของตัวชี้วัดความสุข ดิฉันสนับสนุนอย่างยิ่งนะคะว่าให้เอาเรื่องเงินออมนี้เป็นตัวหลัก ถามว่าทำไมพูดถึงเรื่องเงินออม เพราะเวทีที่เราคุยกันอยู่นี้เมื่อเช้าเขาพูดเรื่องระบบสวัสดิการ พื้นฐานของเรื่องสวัสดิการมาจากเงินออมชัด ๆ แต่ถามว่ามาจากเงินก้อนหนึ่งก้อนเดียวกันสมมุติว่าก้อนหนึ่งนี้เป็นเงินออม เส้นทางวิ่งของมันไปได้สองเส้น เส้นทาง 1 ไปด้วยความเสี่ยง การทำเรื่อง สวัสดิการ คือ การลดความเสี่ยงของชาวบ้านได้ชัดเจน ไม่แปลกใจว่าทำไมการทำกลุ่มออมทรัพย์ชนิดที่ให้ สวัสดิการได้เติบโตในขณะที่กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตนี้มันเป็นไปไม่ได้เพราะสายนั้นมันเป็นสายที่มีความเสี่ยงมันอาจไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงและเป็นเส้นเดินที่ชาวบ้านอาจเดินได้อยากหน่อย คือ พูดง่าย ๆ ว่าต้องเอาเงินที่มีอยู่ไปลงทุนทำการผลิตเขาต้องก้าวฝ่าด่านอะไรมาก ๆ จะนำไปลงทุนทำอะไร ทำอะไรดีที่ว่านั้นนะมีตลาดหรือเปล่าทำเป็นหรือเปล่ายิ่งถ้าไปแข่งกับ OTOP นี้จะขึ้นอย่างไร เส้นนี้มันจะขึ้นความเสี่ยงเยอะแต่ถ้าเส้นที่ความเสี่ยงที่มีอยู่แล้ว พอถึงปีหนึ่งมันต้องมีค่าเจ็บป่วย ค่าศึกษาของลูกที่ไปโรงเรียน หรือว่าเกิดฉุกเฉินคือลดความเสี่ยงในจุดนี้ได้ การทำสวัสดิการในเรื่องนี้คือยิ่งทำมันยิ่งโตเพราะว่ามันไปสอดคล้องกับยุทธศาสตร์อันหนึ่ง คือ ยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาความยากจน ด้านที่ไปด้วยกันมากที่สุด คือ ยุทธศาสตร์ด้านการลดรายจ่าย ลดความเสี่ยงได้ ซึ่งตรงนี้ทำให้เรามองเห็นทิศทาง หรือให้วิ่งไปชิดซ้าย ชิดขวา เดี๋ยวเราจะมองไม่ออกว่าเงินออมนี้เราถูกใช้ไปในทิศทางไหนกันแน่ ทิศทางที่ลดความเสี่ยง หรือไปในทิศทางที่มีความเสี่ยง การไปในทิศทางที่มีความเสี่ยงใช่ว่าเราจะไม่ให้ไปแต่เราจะต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือและต้องมีตัวช่วยเยอะ แต่ไปในที่ที่ลดความเสี่ยงตัวช่วยไม่เยอะแต่ชาวบ้านเขาสามารถทำกันเองได้ ไปในทิศที่มีความเสี่ยงรัฐต้องเข้ามาช่วยเยอะมาก ไม่เช่นนั้นแล้วชาวบ้านจะไปโดดๆ นี้ไปได้อยากมาก ดิฉันขอเปรียบเทียบเป็นอย่างนี้ละกันนะคะว่า แหล่งที่มาของเงินที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่ที่มีอยู่มี 2 แหล่ง คือ แหล่งหนึ่งเป็นเงินออมจากข้างในเอามาใช้เพื่อจัดการจากความเสี่ยงนั้นแหละโดยรูปแบบทำสาระพัดแบบกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเครดิตยูเนี่ยน ธนาคารหมู่บ้านแล้วแต่จะเรียกชื่อว่าอะไรแต่ว่าสาระสำคัญอยู่ที่เรื่องเดียวกัน ทำเน้นที่จุดเดียวกันของคุณธรรมการมีวินัย การมีคุณธรรม มีการให้ มีการเกื้อกูลกัน ปรัชญา ในทิศทางเดียวกันเราจะเรียกชื่อมันว่าอะไรก็ตามในช่วงตั้งแต่ครูชบจัดตั้งตรงนั้นเป็นจุดเปิดของการมองเรื่องระบบการใช้เงิน ใช้เพื่อสวัสดิการเป็นเรื่องเป็นราวและต้องขอแสดงความชื่นชมกับครูชบที่ทำเรื่องนี้นะคะ ท้อบ้างอะไรบ้างแต่ก็ไม่เลิก ยังคงบากบั่น ตัวมันเอง คือ รูปแบบของสวัสดิการอย่างเป็นระบบ กลุ่มออมทรัพย์เดิมมันทำแค่ระดับขั้นของการออมเงินเข้ามา ขั้นการใช้อย่างเป็นระบบมันกำลังถูกพัฒนาขึ้น ต้นแบบหลาย ๆ ที่ยังถูกพัฒนากันอยู่และมันเริ่มมากขึ้นมากกว่าหนึ่งที่ คือ เริ่มมีที่ลำปาง ตราด และอีกหลายๆที่ เป้าหมายของการทำอันนี้ คือได้สวัสดิการแต่ที่ได้มากกว่านั้น คือ การได้กระบวนการ ทุนทางสังคมด้วย การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การเข้าถึงหลักประกันทางสังคม เป็นเรื่องของการให้ยิ่งให้มัน คือเพื่อนกันเห็นหน้าตากัน อันนี้เป็นทุนทางสังคมซึ่งตั้งอยากมาก ที่เสียไปแล้วเอาคืนอยากมาก ตรงนี้เป็นพื้นฐานและทิศทางของเงินที่ออมมามันมาช่องนี้เราก็เดินไป เงินอีกส่วนหนึ่งที่มาก็คือเงินสนับสนุนจากรัฐ ก้อนนี้มาจากหลายโครงการ เช่น กขคจ. กองทุนหมู่บ้าน ใหม่สุด คือ เอส เอ็ม แอล เงินที่มาจากรัฐมา 2 แบบ แบบที่ไปให้โอกาสทางการเงินการกระจายโอกาสทางการเงินทุน เพื่อเอาไปกู้ทำการผลิต เงินแบบกองทุนหมู่บ้าน แบบ เอส เอ็ม แอล จะไปในสายนี้แหละ แต่เงินจากรัฐก็มีอีกเหมือนกันนะคะที่เข้ามาให้เรื่องสวัสดิการ เช่น แบบเรื่อง 30 บาท หรือแบบของประกันสังคม เพราะฉนั้นแบบนี้รัฐเองก็มี 2 แบบ แบบสวัสดิการ กับแบบลงทุนแบบให้โอกาสทางการลงทุนเพื่อการผลิต เส้นทางเดินต่อจากนี้พัฒนาการของมันซึ่งเมื่อเช้าฟังผู้ใหญ่เทพพิทักษ์ พูดแล้วรู้สึกชื่นชมมากเลยนะคะเพราะมันทำให้เห็นชัดเลยว่าความพยายามที่จะพัฒนาสถาบันการเงินเพื่อสวัสดิการชุมชนนี้นะคะ เดิมนั้นก็ไม่มีข้อวิจารณ์ฟังดูก็ลองดูก็รู้สึกงั้น ๆ แหละไม่มีข้อโต้แย้งอะไร เห็นผู้ใหญ่เขาพูดว่าทิศทางมันเริ่มสะท้อนว่ามันผิดเนี่ยะนะคะ พยายามวิเคราะห์กรอบที่ว่าเอ๊ะตกลงที่มาของเงินมาจากไหนกันแน่ถ้าเอามาทำสถาบันการเงินชุมชน พูดง่าย ๆ คือ ธนาคารของประชาชน แปลว่ากำลังล้วงเอาเงินออมของประชาชนมาทำด้านการลงทุนจากเดิมที่ออมเป็นครัวเรือนใช้ไปในการเพื่อแบ่งเบาภาระใช่ใหมคะยามติดขัดเงินไม่พอใช้หรืออย่างไรเนี่ยะคะเงินออมก้อนนี้จะถูกผันมาในสิ่งที่เขาเรียกว่าธนาคาร Concept ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกร ธนาคารกรุงเทพ พวกนี้คือเอาเงินออมนะคะเงินออมครัวเรือนไปใช้ในการจัดการกลุ่มเรื่องของการลงทุน การวิเคราะห์ การอะไรพวกนี้แหละแล้วเอาไปปล่อยกู้ให้การลงทุน เป็นการเอาเงินออมไปใช้ทำเรื่องการลงทุนเพื่อการผลิตแต่ในขบวนของภาคชนบทเงินออมเราก็ออมนะเข้ากลุ่ม กลไก แต่เราเอาไปใช้เพื่อลดความเสี่ยงเพื่อจัดสวัสดิการเพื่อแก้ปัญหาของเราเองเราไม่ได้ใช้เพื่อการลงทุนมากนัก เงินลงทุนมาจากก้อนอื่นมาจากการที่เราไปกู้จากธนาคารต่าง ๆ กู้จาก ธกส. จากธนาคารอื่น ๆ แต่ตอนนี้ทิศทางการเอาเงินจากหลาย ๆแหล่งมาทำเป็นสถาบันการเงิน สิ่งที่พึงระมัดระวังอย่างยิ่งในเชิงทิศทางเชิงนโยบายก็คือ สถาบันที่ว่ากำลังจะไปงัดเอาเงินออมชาวบ้านออกมาทำเรื่องการลงทุน ถามว่ากลไกที่เอามาทำเรื่องนี้มีขีดความสามารถแบบที่ธนาคารเขามาทำหรือเปล่าในการวิเคราะห์การลงทุนและในการที่จะทำให้การช่วยเหลือเกื้อกูลให้ชาวบ้านเขาประกอบการได้ เพราะแม้กระทั่ง ธกส. เขาวิเคราะห์การลงทุนไว้เสร็จ NPL เพียบเลยเพราะว่าไม่มีกระบวนการตามช่วยชาวบ้าน กระบวนการตามไปช่วยไม่มีเพราะไปไม่ถึงก็ให้ได้เฉพาะโอกาสทางการเงิน แต่อย่างที่บอกแล้วว่าการทำเรื่องการลงทุนการผลิตชาวบ้านต้องการตัวช่วยเยอะมาก โดยเฉพาะเรื่องของการเรียนรู้กับการทำธุรกิจ การวิเคราะห์ตลาดการดูเรื่องรูปแบบผลิตภัณฑ์ โอ้ยสารพัดชนิดที่เขาต้องการขนาดธนาคารพาณิชย์ยังต้องยัง NPL ถามว่าทำไมต้อง NPL ข้อมูลมันตั้งหลายปีแล้วต่อไปอาจจะน้อยกว่านี้ก็ได้ประมาณ 6% ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ทั้งนั้นแหละ NPL หมายความว่ากู้ไปแล้วไม่เกิดผลงอกเงยคนกู้เอาไปใช้คืนไม่ได้แต่ว่าที่อยู่ในกลุ่มชาวบ้านกู้ไปแล้วเอามาคืนได้เพราะอะไรเพราะรูปแบบการที่เขาเอาไปใช้มันไม่ได้ใช้ในการลงทุนนะซิมันใช้ลดความเสี่ยงเขาถึงมีเงินกลับมาคืนได้ค่อนข้างมากเพราะฉะนั้นในเชิงนโยบายนี้ สิ่งที่พึงระมัดระวังคือเรื่องของสถาบันการเงินชุมชนนี้ วันก่อนไปเห็นที่นครปฐมเขาก็เปิดเปิดภายใต้โครงการที่ดิฉันสนับสนุนนี้แหละดูทีแรกก็รู้สึกเฉย ๆ แต่พอจัดเวทีที่โครงการเขาจัดก็เริ่มเห็นความชัดเจนว่าเอ๊ะมันไปงัดเอาเงินออมของชาวบ้าน มันเป็นเงินรอนแรมของเขาถ้ามันสูญในกระบวนการทำแล้วไม่เกิดงอกเงยจะเกิดอะไรขึ้นกับเงินก้อนนี้ ถ้ามองอีกตัวหนึ่งที่อยากจะสนับสนุนให้เกิดคือว่าเงินที่รัฐบาลอุดหนุนเข้ามาในด้านของการทำสวัสดิการ เข้ามาแล้วกลับทางกันแทนที่จะไปตั้งสถาบันการเงินชุมชน เป็นนิติบุคคลอะไรพวกนี้ดิฉันว่าเราน่าจะทำกองทุนสวัสดิการชุมชนอะไรพวกนี้ให้เป็นนิติบุคคลมากกว่าหมายความว่าอยากจะจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดสวัสดิการคนชรา สวัสดิการเพื่ออะไรนี้แหละนะให้ส่งมาที่กองทุนสวัสดิการได้เพราะว่าถ้าไม่มีนิติสภาพนี้เขาส่งลงมาไม่ได้เพราะไม่รู้ว่าจะส่งลงมาให้ใคร เมื่อไม่มีใครเซ็นต์รับในนามของกองทุน เพราะฉะนั้นต้องมีนิติสภาพและการต้องมีอันนี้นี่นะคะ การที่สร้างตัวชี้วัด มีผลด้วยนะคะว่าผลจากการที่การสร้างสวัสดิการให้แก่เด็ก คนชรา เอากี่คน จำนวนเท่าไหร่ และจะยิ่งดีด้วยซ้ำช่วยกันพัฒนาระบบข้อมูลของชุมชนไปไว้ในกองทุนนี้น่าจะเป็นกลไกบริหารสวัสดิภาพและสวัสดิการของชุมชน คือจะรู้ว่าใครมีปัญหาแค่ไหน ดูอัตราการเจ็บป่วยต้องไปใช้การรักษาพยาบาลกันแค่ไหนและถ้าเราเริ่มจากอันนี้ได้ไม่ว่าจะทำด้านประกันสังคม ประกันคนชราอะไรก็ตาม การศึกษา ทำให้มันลามไปสู่เรื่องของการประกันสุขภาพ ไปสู่ข้อมูลใหญ่ ๆ เราจะได้รูปแบบของการพัฒนาลดความเสี่ยง ยืนยันได้เลยว่าตอนที่เราทำโครงการแก้ปัญหาความยากจนสิ่งที่เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นได้เร็วที่สุดคือกิจกรรมที่เป็นด้านของการลดรายจ่ายลดความเสี่ยง ด้านนี้ไปได้เร็วไปได้เองโดยธรรมชาติ ชาวบ้านไม่ต้องคิดให้ยุ่งอยากเพราะความจำเป็นขั้นพื้นฐานก็ต้องลดกิจกรรมนี้อยู่แล้วบนพื้นฐานของการที่ชาวบ้านต้องการจะทำอยู่แล้วไม่ต้องไปหนุนเสริมเท่าไหร่มันก็วิ่งได้ เราก็เห็น ๆ กันอยู่ระบบงานนี้บางที่เราสามารถจัดการกันได้</p>

คำสำคัญ (Tags): #ทรงพระเจริญ
หมายเลขบันทึก: 39570เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2006 08:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
       ต้องขอบคุณหนู km ทั้งสองที่ช่วยบันทึกความเห็น ของดร.สีลาภรณ์อย่างละเอียด เป็นประโยชน์สำหรับคนทำงานที่ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรการเงินโดยตรง หน่วงงานแบบพอชและคนทำงานตระหนักถึงทิศทางการพัฒนาองค์กรดารเงินเพื่อสวัสดิการฃุมฃนซึ่งมีตัวอย่างรูปธรรมที่เด่น  ในหลายพื้นที่ เสียดายที่ไม่สามารถอยู่ร่วมฟังด้วยตัวเองในวันสุดท้ายของการสัมมนาเพราะที่ภาระกิจเร่งด่วน วันนี้กะว่าจะปรี้นกลับไปด้วยแต่มาใช้บริการท่ห้องสมุดประชาชนไม่สะดวกรบกวนหนูkmปริ้นฝากมาด้วยก็จะขอบคุณมาก

ยินดีคะ เดี๋ยวจะฝากไปให้นะคะ..เวทีของวัน 2 ก.ค.จะปริ้นให้ทั้งหมดเลยนะคะ

พี่พัชหายไปจากบล้อคนานเลยนะคะ

ปูแดงไคโตซาน ปลดหนี้ เพิ่มผลผลิต สร้างรายได้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.poodang59.poodangthailand.com หรือสอบถามที่คุณก้อย 087-9975529

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท