การเลี้ยงหอยหวาน


เทคนิคการเลี้ยงหอยหวานให้ได้ผล

เทคนิคการเลี้ยงหอยหวานให้ได้ผล

 

          หอยหวาน หรือที่บางท้องที่เรียกว่า หอยตุ๊กแก ที่พบมาในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ บาบิโลเนีย อารีโอลาต้า และบาบิโลเนีย สไปราต้าชนิดแรกเป็นชนิดที่มีผู้นิยมบริโภคมากกว่า

 

          หอยหวานเป็นสัตว์น้ำที่มีราคาค่อนข้างแพง ตามท้องตลาดทั่วไปจะมีราคาถึงกิโลกรัมละ ๓๕๐ บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของหอย ขนาดที่นิยมบริโภคจะมีขนาด ๓..๐ ซ.. ซึ่งหอยชนิดนี้เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ในประเทศไทยหอยหวานมักจับมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเกือบทั้งหมด โดยพบแพร่กระจายอยู่หลายจังหวัด ทั้งฝั่งอ่าวไทยและชายฝั่งทะเลอันดามัน ที่ว่ามีการจับกันมากก็ที่ ระยอง จันทบุรี เพชรบุรี ระนอง ปัตตานี และนครศรีธรรมราช แต่ปริมาณก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการและปริมาณก็เริ่มลดน้อยลง

 

          ดังนั้น กรมประมงจึงได้พยายามศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อให้สามารถเพาะพันธุ์ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ ซึ่งก็สามารถเพาะพันธุ์หอยหวานชนิดบาบิโลเนียอารีโอลาต้า ได้เป็นผลสำเร็จ ลูกพันธุ์ที่ได้นำไปปล่อยลงสู่ทะเล จ.ระยอง และอีกส่วนหนึ่งนำไปทดลองเลี้ยงให้มีขนาดที่ตลาดต้องการต่อไป ปัจจุบันสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งทะเล จ.ชลบุรี สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำที่เกาะสีชัง จ.ชลบุรี และที่ศูนย์พัฒนาประมงทะเลที่ ต.บ้านเพ จ.ระยอง รวมทั้งภาคเอกชนบางรายพยายามเพาะขยายพันธุ์เพื่อให้มีมากขึ้น และลดต้นทุนการผลิต สำหรับสถานที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงหอยหวานนั้น เป็นเงื่อนไขเบื้องต้นของความสำเร็จในการดำเนินการ โดยมีข้อพิจารณาดังต่อไปนี้

 

          .พื้นที่ที่เหมาะสมควรอยู่ติดทะเลหรือเป็นเกาะที่อยู่ห่างจากทะเลไม่มากนัก สามารถนำน้ำทะเลมาใช้ได้สะดวกและเพียงพอ ต้นทุนน้ำจะได้ไม่แพงนัก ไม่ควรอยู่ใกล้ปากแม่น้ำหรือลำคลองขนาดใหญ่ที่มีน้ำจืดไหลลงมาจำนวนมากในฤดูฝน เพราะอาจเกิดปัญหาความเค็มของน้ำลดลงรวดเร็ว ซึ่งจะมีผลต่อการตายของหอย

 

          .น้ำทะเลที่จะใช้เลี้ยงหอยหวานควรมีความเค็มอยู่ในช่วง ๒๘๓๕ พีพีที หากน้ำมีความเค็มต่ำกว่า ๒๘ พีพีทีหอยจะเติบโตช้าลง และหากความเค็มลดลงต่ำกว่า ๒๐ พีพีที หอยบางส่วนจะเริ่มตาย

 

          .สถานที่ใช้เลี้ยงควรตั้งอยู่ใกล้ภัตตาคาร โรงแรม และร้านอาหารประเภทต่างๆ หากอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวยิ่งดี เพราะจะได้นำผลผลิตส่งจำหน่ายได้สะดวกขึ้น

 

          .แหล่งเลี้ยงไม่ควรตั้งอยู่ใกล้โรงงานหรือแหล่งมลพิษต่างๆ ที่อาจจะให้น้ำทะเลสกปรก หรืออาจมีเชื้อโรคหรือสารพิษปนเปื้อน อาจทำให้หอยที่เลี้ยงตายได้

 

          .แหล่งเลี้ยงควรอยู่ใกล้แหล่งอาหารที่จะให้หอยหวาน เช่น เนื้อปลา เนื้อหอย แมลงภู่ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนอาหารมีราคาถูกไม่เสียค่าขนส่งแพง มีอาหารให้หอยกินอย่างเพียงพอสม่ำเสมอ

 

          บ่อหรือภาชนะที่ใช้เลี้ยงหอยหวานมีหลายรูปแบบ เป็นเหลี่ยมหรือรูปร่างกลมก็ได้แต่ต้องมีระบบที่จะทำให้ถ่ายเทน้ำได้สะดวกอาจเป็นบ่อคอนกรีต บ่อผ่าใบ หรือถังไฟเบอร์กลาสที่มีรูปร่างทรงกลม มีท่อน้ำล้นและทางน้ำเข้าออก มีระบบให้อากาศในปริมาณที่เพียงพอ พื้นที่บ่อหรือก้นถังควรจัดให้มีทรายรองพื้น เริ่มจากการใช้ทรายละเอียด หากลูกหอยยังมีขนาดเล็ก ปริมาณทรายที่ใช้ไม่ต้องมากนักให้ทรายมีความหนาพอท่วมตัวหอยก็พอแล้ว ในกรณีที่ผู้เลี้ยงไม่ต้องการใช้ทรายรองพื้นก้นบ่อหรือภาชนะที่ใช้เลี้ยงก็ทำได้ แต่ผู้เลี้ยงจะต้องหมั่นเช็ดถูพื้นก้นบ่อให้สม่ำเสมอ เพื่อกำจัดเมือกและสิ่งสกปรกจากมูลหอย รวมทั้งอาหารหอยที่เหลือตกค้าง และควรหมั่นตรวจวัดค่าออกซิเจน ค่าแอมโมเนีย ไนไตรท์ และไนเตรทเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ

 

          บ่อหรือภาชนะที่ใช้เลี้ยงไม่ควรใหญ่มากนัก ควรเป็นขนาดที่สะดวกในการดูแลรักษาความสะอาด ซึ่งบ่อมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ เมตร ก็น่าจะใช้ได้ แต่ต้องมีพื้นผิวที่ราบเรียบไม่ขรุขระ ซึ่งอาจเป็นสะสมของเชื้อโรคต่างๆ ได้และควรทำการพรางแสงเพื่อไม่ให้แสงสว่างส่องตัวหอยมากนัก เพราะนอกจะเป็นการรบกวนหอยแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นแพรง์ตอนและสาหร่ายที่อยู่ในบ่อให้เกิดสังเคราะห์แสง เกิดสาหร่ายสีเขียวจำนวนมากเกาะอยู่ที่ก้นบ่อและผนังบ่อ ซึ่งเป็นเหตุให้น้ำเสียและเปลือกหอยก็จะมีสาหร่ายและสิ่งปนเปื้อนเกาะติด ทำให้ดูสกปรก ไม่สะอาดและเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคได้

 

          น้ำที่ใช้เลี้ยงจะต้องเป็นน้ำที่สะอาด ไม่มีตะกอนแขวนลอย หากมีอยู่มากน้ำจะขุ่น ตะกอนขนาดเล็กเหล่านี้ไปเกาะที่เหงือกภายในตัวหอยทำให้หอยตายได้ และน้ำที่ใช้เลี้ยงก็ควรมีความเค็มในรอบปีที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ขนาดความลึกของน้ำในบ่อหรือภาชนะที่ใช้เลี้ยงควรลึกประมาณ ๔๐ ซ.. ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของหอยรวมทั้งปัจจัยอื่นๆ ด้วย

 

          สำหรับขนาดของลูกหอยหวานที่เหมาะสมจะนำไปเลี้ยงนั้น อย่างน้อยควรมีความยาวเลือก ๐.๕ ซ..ขึ้นไป ซึ่งจะมีอัตรารอดตายสูงอัตราการปล่อยลูกหอยความยาวเปลือก ๑-.๕ ซ.. ควรประมาณ ๓๐๐ - ๕๐๐ ตัวต่อพื้นที่ก้นบ่อ ๑ ตารางเมตร

 

          โดยธรรมชาติหอยหวานที่คืบคลานบนพื้นทะเลจะชอบกินอาหารประเภทเนื้อเป็นหลัก หากนำมาเลี้ยงในบ่อก็ควรให้เนื้อปลา เนื้อหอยแมลงภู่ เนื้อหอยกะพง รวมทั้งอาหารเมล็ดกุ้งทะเลและอาหารผสมอื่น ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการจัดซื้อและราคาของอาหารชนิดนั้นๆ ปัจจุบันพบว่าการใช้เนื้อหอยแมลงภู่เลี้ยงหอยหวานจะมีอัตราการเติบโตดีกว่าเลี้ยงด้วยเนื้อปลาปริมาณการให้อาหาร ถ้าเป็นเนื้อปลาควรให้ ๒๑๐% ของน้ำหนักหอยที่เลี้ยงทั้งหมด ถ้าเป็นเนื้อหอยแมลงภู่ก็ให้ ๕๓๐% ของน้ำหนักหอย และต้องให้อย่างสม่ำเสมอไม่ให้เหลือมากเกินไป และเก็บส่วนที่เหลือออกจากบ่อให้หมด

 

          การเลี้ยงหอยหวานในระดับที่มีความหนาแน่น จะมีเศษอาหารและมูลหอยซึ่งเป็นสารอินทรีย์จำนวนหนึ่ง เมื่อระบายลงทะเลก็จะเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จึงไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทะเล อย่างไรก็ตาม ผู้เลี้ยงต้องทำความสะอาดบ่อเลี้ยง ๓ วันครั้ง หรือสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ทั้งรี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของน้ำที่เลี้ยง และสภาพของทรายรองก้นบ่อมีสีดำหรือสกปรกมาเพียงใด

 

          กรณีที่พบว่าน้ำมีปริมาณออกซิเจนต่ำมากและมีปริมาณแอมโมเนีย ไนไทรด์และไนเทรด์ค่อนข้างสูง ต้องปรับเปลี่ยนน้ำในบ่อใหม่ หรือปรับระบบน้ำให้มีการถ่ายเทมากขึ้น นอกจากนี้ควรตรวจสอบประจำวันเกี่ยวกับระบบน้ำ ระบบการให้อากาศและสภาพการเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำหากพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงกะทันหันจะต้องเร่งแก้ไขทันที โดยเฉพาะฤดูฝนที่จะทำให้น้ำทะเลบริเวณชายฝั่งมีความเค็มลดลง

 

          การตรวจสอบการเติบโตของหอยในบ่อควรทำอย่างน้อยเดือนละครั้ง เก็บข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์ หาปัญหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขเพื่อให้การเลี้ยงพัฒนาและประสบผลสำเร็จมากขึ้น

 

          ด้านต้นทุนการเลี้ยงหอยหวานจะใช้มากในช่วงเริ่มต้น คือบ่อหรือภาชนะที่ใช้เลี้ยง ถ้าหากมีอายุการใช้งานมากกว่า ๕ ปีก็จะคุ้มทุน นอกนั้นก็มีค่าลูกพันธุ์หอย หากขนาดความยาวเปลือก ๐.๕ ซ.. ก็ไม่แพงมากนัก แต่ถ้าขนาด ๑ ซ.. อาจมากกว่าตัวละ ๑ บาท เมื่อนำลูกหอยมาเลี้ยง ๕-๖ เดือน จะมีการอัตราการรอดตายประมาณ ๙๐% หอยจะมีน้ำหนักประมาณ ๘๐๑๐๐ ตัวต่อ กิโลกรัม สามารถคัดขนาดออกจำหน่ายได้บ้างแล้ว แต่ถ้าตลาดต้องการขนาดใหญ่กว่านี้ก็เลี้ยงต่อไป จนกระทั่งมีขนาด ๔๐๕๐ ตัว ต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งราคารับซื้อเพื่อการส่งออกในขณะนั้น.

คำสำคัญ (Tags): #บทความวิชาการ
หมายเลขบันทึก: 3957เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2005 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท