การประเมินผลงานของบุคคล


ผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการสามารถใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่จากการสั่งสมประสบการณ์จากการปฎิบัติจริงมานาน ผนวกกับความคิดที่จะปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพโดยมีการอ้างอิงหลักวิชาหรือทฤษฎีมาประกอบแนวคิดดังกล่าว

     เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2549 มีการประชุมคณะกรรมการพิจารณาประเมินผลงานของบุคคล ของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจในการประเมินผลงานให้มีมาตรฐานตรงกันเพราะขณะนี้มีคณะกรรมการหลายชุด

     สาเหตุการประชุมครั้งนี้เนื่องจากว่า  ขณะนี้มีปัญหาเรื่องความเข้าใจการทำผลงานตามระบบใหม่ที่ สำนักงานก.พ. กำหนดมาให้ซึ่งมีความแตกต่างจากเดิมทั้งด้านเนื้อหา และรูปแบบการประเมิน เมื่อมีผู้เสนอผลงานเพื่อเข้ารับการประเมินตามระบบใหม่เข้ามา  ทำให้เกิดความสับสนเพราะเป็นเรื่องใหม่ ไม่เคยปฏิบัติมาก่อน หากผู้ทำผลงานได้รับการชี้แจงคงจะเข้าใจได้ไม่ยาก  หากเป็นผู้ปฎิบัติงานตามภารกิจของตนเองจริงจะเกิดประโยชน์ต่อการทำงานมากทีเดียว

     ผลงานที่นำเสนอมี 2 ส่วนคือ

       1.ผลงานที่เป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา  ส่วนนี้กรรมการเห็นว่าต้องเป็นผลงานที่ตนเองปฎิบัติจริงตามพันธกิจและบทบาทหน้าที่ที่กำหนดไว้ ย้อนหลัง 3 ปีและอาจมีผู้อื่นร่วมดำเนินการได้แต่ผู้เสนอต้องทำเป็นส่วนใหญ่  ส่วนที่กล่าวกันมากคือการอ้างทฤษฎีให้นำมาเท่าที่เกี่ยวข้องกับผลงานเท่านั้น ตรงนี้ขอย้ำเพราะบางท่านอ้างมากจนเกินความจำเป็น   เรื่องประโยชน์ต้องเขียนให้ชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้นในเรื่องคุณภาพผลงานเป็นไปตามคู่มือตามความยากง่ายตามระดับซี

      2.ข้อเสนอแนวคิด/วิธีการเพื่อพัฒนางานหรือปรับปรุงงาน  ต้องเป็นข้อเสนอที่แสดงว่าตนเองมีวิสัยทัศน์ที่จะปรับปรุงงานอะไร อย่างไร และจะต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้ภายในระยะเวลา 1 ปีหลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งแล้ว ข้อเสนอนี้ต้องเป็นข้อเสนอให้ตนเองทำ ไม่ใช่ข้อเสนอให้ผู้อื่นหรือองค์กรอื่นเป็นผู้ทำ และต้องสอดคล้องกับบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่กำหนดไว้

      ทั้งสองเรื่องกรรมการให้คะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งเป็น

        -คุณภาพของการรายงานผลงานและข้อเสนอแนวคิด 50 คะแนน

       -ประโยชน์ของการรายงานผลและข้อเสนอแนวคิด       40 คะแนน

       -พื้นฐานและประสบการณ์ของบุคคล                            10  คะแนน

     เราจะเห็นได้ว่าวิธีการประเมินใหม่นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการสามารถใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่จากการสั่งสมประสบการณ์จากการปฎิบัติจริงมานาน    ผนวกกับความคิดที่จะปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพโดยมีการอ้างอิงหลักวิชาหรือทฤษฎีมาประกอบแนวคิดดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่าผู้นำเสนอจะสามารถดำเนินการได้โดยไม่ยากนัก

 

หมายเลขบันทึก: 39566เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2006 08:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นวิธีการประเมินผลที่มองเชิงองค์รวมได้ดีขึ้นกว่าระบบเดิมเยอะเลยครับ

ถ้าระบบการประเมินผลดี ก็จะช่วยเป็นแนวทางหรือกรอบให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานเพื่อไปสู่ผลนั้นได้อย่างดีเช่นเดียวกันครับ

แวะมาดูครับ
เป็นวิธีการที่น่าสนใจแต่ยังมีจุดอ่อนในเรื่องการปฏิบัติจริง เนื่องจาก จนท. ในพื้นที่มีจุดอ่อนในการเขียนเอกสารวิชาการ และที่สำคัญเวทีระดับจังหวัด เป็นเวทีที่ไม่มีพี่เลี้ยง แม้จะมีฝ่ายที่รับผิดชอบงานพัฒนาบุคลากรแล้วก็ตาม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท