ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง
นาย ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง (เอ) หลักเมือง

ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา(ไทย-สหภาพพม่า)


ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในจังหวัดที่มีอาณาเขตติดกับประเทศเพื่อนบ้าน (ไทย-สหภาพพม่า)

การประชุมปฏิบัติการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในจังหวัดที่มีอาณาเขตติดกับประเทศเพื่อนบ้าน (ไทย-สหภาพพม่า)

ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมปฏิบัติการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในจังหวัดที่มีอาณาเขตติดกับประเทศเพื่อนบ้าน (ไทย-สหภาพพม่า) ที่จัดโดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงศึกษาธิการ  ระหว่างวันที่ 9-12 สิงหาคม 2553 ณ โรงแรมทินิดี  โฮเทล แอท ระนอง  อำเภอเมืองระนอง  จังหวัดระนอง มีข้อมูลที่น่าสนใจและอาจเป็นปัญหาในอนาคตของประเทศไทย

ประเด็นปัญหาที่สรุปจากการประชุมปฏิบัติการ มีดังนี้

            1.  จังหวัดต่าง ๆ และจังหวัดที่มีการจ้างแรงงานสูง จะมีการอพยพแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านคือพม่า เข้ามาอยู่และทำงานกันเป็นจำนวนมาก เช่น จังหวัดระนอง และสมุทรสาคร เป็นประเด็นของการพูดคุย (จังหวัดสมุทรสาครไม่ได้อยู่บริเวณชายแดน แต่มีแรงงานพม่าอพยพ หลบหนีเข้ามาทำงานมาก    จนตู้ ATM ต้องมีภาษาพม่าด้วย) การเข้ามาและเมื่อมีลูกหลาน จำนวนก็เพิ่มขึ้นทุกวัน การบริการด้าน  ต่าง ๆ ของประเทศไทยก็ต้องจัดให้  กับคนกลุ่มนี้ด้วย เช่น การรักษาพยาบาล และการศึกษา

            2.  การประกอบอาชีพในปัจจุบัน แรงงานพม่าที่เข้ามาทำงานที่เมืองไทยหลายปีแล้ว มีบางรายก็เปลี่ยนสถานะจากรับจ้างแรงงานก่อสร้างมาเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างเองก็มี และปัญหาที่ระนองก็คือมีแนวคิดจะให้แรงงานกลุ่มนี้มาประกอบอาชีพขับจักรยานยนต์รับจ้างได้ด้วย

            3.  ลูกหลานของแรงงานพม่าอพยพและหลบหนีเข้าเมืองในปัจจุบัน   ได้เข้าไปเรียนในโรงเรียนในเมือง (ไม่ใช่โรงเรียนตามชายแดน) และโรงเรียนบางแห่งมีลูกหลานของแรงงานพม่าอพยพและหลบหนีเข้าเมืองเป็นจำนวนมาก จนผู้ปกครองของเด็กไทยต้องขอย้ายลูกหลานออกจากโรงเรียนนั้น

          ประเด็นปัญหาและการมองอนาคต

            1.  รัฐบาลไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง  ๆ เช่น เรื่องการรักษาพยาบาลและการศึกษาแก่บุคคลกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะพบว่าแรงงานดังกล่าวไม่นิยมการคุมกำเนิด

            2.  เด็กไทยและคนไทยถูกแย่งงบประมาณการบริการพื้นฐาน เช่น    ค่าใช้จ่ายรายหัวสำหรับการพัฒนาผู้เรียน และงบประมาณด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

            3.  คนไทยรู้และพูดภาษาพม่าได้น้อยมาก แต่แรงงานพม่าอพยพและหลบหนีเข้าเมืองรู้และพูดภาษาไทยได้  

            4.  คนไทยกำลังถูกกลืนเชื้อชาติ เพราะมีแรงงานพม่าอพยพและหลบหนีเข้าเมืองแต่งงาน หรืออยู่กินกับคนไทยเพิ่มมากขึ้น

แนวทางการแก้ปัญหา

1.  ข้าราชการและผู้เกี่ยวข้องจำเป็นต้องรู้ เข้าใจและพูดภาษาพม่าได้ อาจต้องมีการเรียนการสอนภาษาพม่าในประเทศไทย เพื่อการสื่อสารและความมั่นคง

2.  ส่วนราชการฝ่ายความมั่นคงที่เกี่ยวข้องทุกส่วนต้องบูรณาการการทำงานอย่างใกล้ชิดและแก้ปัญหาเรื่องนี้ร่วมกันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เช่น การรับแรงงานพม่าเข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมายที่อาจดำเนินการแบบรัฐต่อรัฐ และมีการควบคุมอย่างเข้มงวด

3.  การทบทวนและเข้มงวดในอาชีพบางอาชีพที่อนุญาตให้แรงงานพม่าอพยพและหลบหนีเข้าเมืองทำได้

 

โดยสรุป แม้ว่าคณะของเราจะประชุมกันเกี่ยวกับปฏิบัติการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในจังหวัดที่มีอาณาเขตติดกับประเทศเพื่อนบ้าน (ไทย-สหภาพพม่า) แต่ก็ไม่สามารถมองข้ามข้อมูลบริบทที่กล่าวมาได้ แต่สำหรับด้านการศึกษาแล้วเราก็พยายามจะให้ลูกหลานของแรงงานพม่าอพยพและหลบหนีเข้าเมืองเหล่านั้นได้โอกาสทางการศึกษาบ้าง อย่างน้อยที่สุดเขาจะได้มีความสัมพันธ์อันดีต่อครูของเขา เพื่อนร่วมห้องเรียน และร่วมโรงเรียนกับเขา บางคนในวงสนทนามองเลยไปอีกว่า ไม่แน่หากลูกหลานของแรงงานพม่าอพยพและหลบหนีเข้าเมืองเหล่านี้มีโอกาสได้เป็นใหญ่เป็นโตในพม่าในอนาคต คงคิดถึงครูของเขา เพื่อนของเขา และโรงเรียนของเขาบ้าง ก็เป็นการช่วยเสริมสร้างความมั่นคงให้ประเทศไทยอีกทางหนึ่งครับ.

 

หมายเลขบันทึก: 394820เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2010 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

การให้การศึกษาด้านพื้นฐานเป็นสิ่งจำเป็นครับ ครูที่อยู่ชายแดนหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสมควรพูดภาษาเขาได้ครับ ผมพบว่าชายแดนแถบบ้านผม กาญจนบุรี ก็มีพม่ามาก แต่เราต้องจ่ายค่ารายหัวทางการศึกษาให้เขาด้วย แม้แต่นมโรงเรียนครับ...ถ้ามีหน่วยงานที่สนใจจริงๆๆน่าจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ตรงจุดนะครับ ขอบคุณครับ...

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์เลยครับ ต้องดำเนินการให้เข้มข้นกว่านี้ เพราะนี้คือ ต้นเหตุแห่งปัญหาหลาย ๆ อย่างครับ ถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ดำเนินการก็รังแต่จะเป็นปัญหาที่สะสมอยู่ตลอดไป อาจต้องมีหน่วยงานกลางที่ดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจังและแก้ไขให้รอบด้านครับ. 

ดีใจครับที่เรากับเพื่อนบ้านร่วมกันพัฒนา  และ จะดีกว่านี้ หากคนเราในประเทศ ร่วมกันพัฒนา มากกว่าปัจจุบัน

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับท่านอาจารย์ครับ

ตอนนี้กำลังศึกษาข้อมูลในการทำวิจัยเรื่องการศึกษาของแรงงานต่างด้าวอยู่คะอยากทราบข้อมูลวิจัยของคุณเพิ่มจะเอาได้จากที่ไหนคะ

เรียน คุณ jaruwan คณะของเราเป็นคณะประชุมเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์          การพัฒนาการศึกษาในจังหวัดที่มีอาณาเขตติดกับประเทศเพื่อนบ้าน          (ไทย-สหภาพพม่า) ไม่ได้ดำเนินการวิจัย ลองดูใน Web ของสภาการศึกษาฯ  สภาวิจัยแห่งชาติ และ สกว. อาจจะมีบ้างนะครับ

เรียน คุณ jaruwan คณะของเราเป็นผู้ร่วมประชุมปฏิบัติการเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในจังหวัดที่มีอาณาเขตติดกับประเทศเพื่อนบ้าน (ไทย-สหภาพพม่า) ครับ ส่วนข้อมูลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ลองดูใน Web. ของสภาการศึกษา ฯ   สภาวิจัยแห่งชาติ  และมหาวิทยาลัยมหิดล ดูน่าจะมีที่เกี่ยวข้องบ้างครับ

    

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท